เดิมตำบลระหานขึ้นอยู่กับอำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร ต่อมาเมื่ออำเภอขาณุวรลักษบุรี แยกการปกครองออกมาเป็นกิ่งอำเภอบึงสามัคคี ตำบลระหานจึงเป็นตำบลหนึ่งของกึ่งอำเภอบึงสามัคคี เทศบาลตำบลระหานมีเนื้อที่ 50.3152 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ทำการเกษตร 31,000 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศของเทศบาลตำบลระหานเป็นพื้นที่ลุ่มมีคลองส่งน้ำผ่านหลายสาย คุณภาพดิน ส่วนใหญ่ เป็นดินร่วน มีดินปนทรายบางส่วน พื้นที่เป็นที่ราบลุ่มเหมาะสำหรับทำการเกษตร เช่น ปลูกข้าว ทำสวนส้ม ฯลฯ อาชีพหลัก ทำนา, ทำสวน,ทำไร่
ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นในตำบลระหาน คือภูมิปัญญาเกี่ยวกับการทำดอกไม้จันทน์ อยู่ที่บ้านคลองเจริญสุขพัฒนา
หมู่ที่ 10 ,การทำปุ๋ยชีวภาพ อยู่ที่บ้านใหม่คลองม่วง หมู่ที่ 9 และโรงการปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด ของสหกรณ์บึงสามัคคีอยู่ที่บ้านทุ่งสนุ่นใต้ หมูที่ 3 นอกจากนั้นจะเป็นภูมิปัญญาทางด้านประเพณีและ วัฒนธรรมท้องถิ่น เช่น ประเพณีสงกรานต์ การบวชนาค ตักบาตรเทโวในวันออกพรรษา เป็นต้น
พัฒนาการความเป็นมาขององค์ความรู้
- ตำบลระหานเริ่มได้รับการสนับสนุนโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยมาตั้งแต่ปี 2560 โดยในระยะแรกพยายามใช้ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ซึ่งพบว่ามีกลุ่มเป้าหมายกว่า 50 ครอบครับในตำบลที่เข้าข่ายผู้ประสบปัญหาด้านที่อยู่อาศัยและใช้ข้อมูลบัญชีครัวเรือนประกอบการพิจารณาเพื่อคัดกรองและคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย
- ขั้นตอนสำคัญเริ่มจากการสำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายของโครงการในแต่ละหมู่บ้าน เครื่องมือสำคัญคือ การประชุมและการประชาคมหมู่บ้านและตำบลเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับสมาชิกตำบลให้เข้าใจตรงกันเกี่ยวกับการดำเนินโครงการและพยายามสร้างการมีส่วนร่วมตั้งแต่กระบวนการเริ่มกิจกรรมภายใต้โครงการ การประชุมหรือการประชาคม (อย่างเป็นประจำ) ถือเป็นกิจกรรมสำคัญของทุกหมู่บ้านที่ทุกคนคุ้นชิน หลักเกณฑ์เบื้องต้นที่จะนำมาพิจารณาคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย นอกจากสภาพบ้านเรือน คือ จะต้องเป็นผู้ที่เดือดร้อน ยากจน เป็นผู้ด้อยโอกาสในชุมชน ไม่มีญาติดูแลหรือไร้ที่พึ่งและพิจารณากับการมีส่วนร่วมต่อกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน
- สภาองค์กรชุมชนตำบลระหานได้จัดประชุมเพื่อนำเสนอและตอบข้อสักถามในแนวคิด แล้วลงพื้นที่ตรวจสอบที่พักอาศัย ทำบันทึกเพื่อนำเสนอกับขบวนองค์กรชุมชนจังหวัด เพื่อเสนอขอรับงบประมาณในการซ่อมแซม ปรับปรุงที่อยู่อาศัย ให้กับผู้เดือดร้อน และทำให้ชุมชนน่าอยู่และปลอดภัย
การจัดการองค์ความรู้โดยชุมชน
เทศบาลตำบลระหานเป็นชุมชนเมืองกึ่งชนบท จากการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนและเข้าใจรูปแบบการดำเนินงานของสภาองค์กรชุมชนแล้ว หลังมีการประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบลร่วมกับผู้นำชุมชนแล้ว ได้มีการนำเสนอแนวทางการดำเนินงาน ขั้นตอนการดำเนินงาน หลักการ เหตุผลต่างๆให้กับคณะทำงานทราบแล้วนั้น ได้รับความสนใจจากผู้นำชุมชนทุกหมู่บ้าน เพราะทุกหมู่บ้านมีปัญหาคล้ายๆกัน คือบ้านพักอาศัยเสื่อมโทรม ไม่มีความมั่นคงปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน ของผู้อาศัย จึงเกิดความร่วมมือร่วมใจกันในการดำเนินการสำรวจ และของบประมาณสนับสนุนต่อไป
กระบวนการ/ขั้นตอนการดำเนินงาน
- ประชุมสร้างความเข้าใจและคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย คือ “การประชาคมหมู่บ้าน” โดยจะทำให้คนในชุมชนได้รับรู้ข้อมูลร่วมกัน
- สภาองค์กรชุมชนตำบลร่วมกับผู้นำแต่ละหมู่บ้านดำเนินการสำรวจข้อมูลผู้เดือดร้อนด้านที่ดินและที่อยู่อาศัยแล้วนำมาจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหา
- มีการตั้งคณะทำงานที่จะเข้ามาดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านที่อยู่อาศัย
- คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องจะได้จัดทำโครงการเสนอขอรับงบประมาณจาก พอช. เป็นขั้นตอนด้านงานเอกสาร งานธุรการ เมื่อเอกสารต่างๆ ผ่านการตรวจสอบในทุกขั้นตอน จะมีการประชุมคณะกรรมการพิจารณาเพื่อจัดซื้อวัสดุซ่อมแซมบ้าน
- หลังจากได้รับการสนับสนุนงบประมาณแล้ว ก็ดำเนินการซ่อมแซมบ้านจะมีกลุ่ม“ช่างชุมชน” รับบทบาทหลักในการก่อสร้าง ปรับปรุงบ้านของกลุ่มเป้าหมาย ร่วมกับ “กลุ่มลงแรง” อื่นๆ ได้แก่ คณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำชุมชนและทหารจาก มทบ.35 ชาวบ้านในชุมชนและกลุ่มจิตอาสาในชุมชน กลุ่มผู้นำ สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล กลุ่มผู้นำชุมชนทั้งท้องที่ท้องถิ่น นอกจากจะช่วยเป็นเรี่ยวแรงสร้างบ้านยังคอนสนับสนุน อาหาร น้ำดื่ม
- มีการติดตามประเมินผลกิจกรรมจะมีการประชุมสรุปผลร่วมกันในส่วนของคณะกรรมการโครงการ
เทคนิค/ทักษะ
การสำรวจ ตรวจสอบที่อยู่อาศัย ว่าเป็นอย่างไร ความมั่นคงแข็งแรง จุดอ่อนตัวอาคาร สภาพที่อยู่อาศัย ความมั่นคง แข็งแรง ความปลอดภัย แล้วร่วมกันตัดสินใจคัดเลือก จัดระดับความสำคัญ สภาพการเสื่อมโทรม
กลไกการจัดการ(กลุ่ม/องค์กร/เครือข่าย/บทบาท)
ผลของการประชุมของกรรมการรวมกันทั้ง 10 หมู่บ้านในตำบล และคณะที่ปรึกษา เข้าร่วมรับฟัง เช่น พัฒนากรอำเภอ เจ้าหน้าที่ทหาร เทศบาล อสม. จิตอาสา โดยสภาองค์กรชุมชนเป็นผู้ประสาน
ผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลง
- คนมีแนวคิดและความสามารถเพิ่มขึ้น (ความรู้/ทัศนคติ/ทักษะ)
- ชุมชนมีความรู้ หลักการทำงานของสภาองค์กรเพิ่มขึ้น
- มีการประสานงาน เชื่อมโยงกับองค์กรอื่น ๆ มากขึ้น
- ส่วนราชการ เอกชน เยาวชน จิตอาสามีส่วนร่วม
- การเชื่อมดยงภาคีมากขึ้น (มีหลายฝ่ายร่วมคิด)
- เทศบาลมีส่วนร่วมอำนวยความสะดวกเรื่องเอกสาร แผน และสถานที่ประชุม
- องค์กรชุมชนเข้มแข็ง/มีความสามารถในการบริหารจัดการ
- ในองค์กรมีสมาชิกหลากหลาย เยาวชนได้รับการเรียนรู้
- สภาทำให้เกิดการเรียนรู้ ในด้านความคิดและเอกสารต่าง ๆ
- ทำให้เกิดทุนสมทบภายใน เช่นการบริจาคจากห้างร้าน และเอกชนต่าง ๆ
- ทำให้เกิดเครือข่ายหลากหลาย ทั้งเอกชน ท้องที่ ท้องถิ่น
- สามารถทำประโยชน์ร่วมกันได้
- คุณภาพชีวิตคนในชุมชนดีขึ้น
- ชุมชนมีที่พักอาศัย ปลอดภัย มั่นคง แข็งแรง
- ชุมชนประหยัดค่าใช้จ่ายที่หามาได้ นำไปพัฒนาครอบครัวด้านอื่น
- เป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับชุมชนในตำบล
- ปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์โครงสร้าง/นโยบาย
- หน่วยราชการ ท้องถิ่น จังหวัด ยอมรับข้อเสนอจากองค์กร
- ชุมชนแต่ละที่ องค์กรต่างๆ ยินดีที่จะร่วมเป็นคณะทำงาน
- ทำให้ได้งบประมาณหลากหลายมากขึ้น
ปัจจัยที่ส่งผลให้ประสบผลสำเร็จ
- เกิดจากความร่วมมือของคนในพื้นที่
- มีการบริหาร การจัดการหลากหลายขึ้น
- ส่วนราชการ เอกชนให้ความร่วมมือ และคำแนะนำ
- มีแผนงานที่เชื่อถือได้ เกิดขึ้นได้จริง
- ภาคีให้การสนับสนุน เช่นด้านการจัดการเอกสาร เป็นต้น
- ส่วนราชการ ( ทหาร ) ให้ความร่วมมือด้านช่าง
แนวทาง/แผนที่จะทำต่อในระยะข้างหน้า
– ในปีต่อไป มีการประชุมล่วงหน้า ร่วมคิด ร่วมวางแผน
– สำรวจ จัดเรียงลำดับข้อมูล จำนวนหลังคาเรือน เพื่อนำเสนอ
– ประสานทุกชุมชน คณะกรรมการ ให้ทำบันทึกแบบสำรวจล่วงหน้า