เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๑ พื้นที่ตำบลทุ่งรวงทอง อำเภอ จุน จังหวัดพะเยา พบกับปัญหาคนในชุมชนบริโภคสุราเป็นจำนวนมาก เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม นิยมดื่มสุราหลักจากเลิกงานในช่วงเย็น มีความเชื่อผิดๆว่า การดื่มสุราสามารถทำให้ผ่อนคลายลดความเหนื่อยเมื่อยล้า จากการทำงานได้ ประกอบกับคนในชุมชนมีความเชื่อถามวิถีวัฒนธรรมดั้งเดิม ที่การจัดงานประเพณีต่างๆของตำบลต้องมีสุรา หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อื่นๆ เสมอ ซึ่งมีแนวโน้มในการดื่มมากขึ้น จนเกิดปัญหา ทะเลาะวิวาทขึ้น ทั้งในภาพรวมของตำบลและครอบครัว มีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น เหตุการณ์รุนแรงเรื่อยมา จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ถึงขั้นวิกฤตพบว่าการบริโภคสุราขยายวงกว้างขึ้นมีทั้งในเด็กเยาวชน ในกลุ่มสตรี ทั้งปัญหาที่เคยเกิดขึ้นยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มไม่ทำงานเกิดปัญหาการว่างงาน ระบบสุขภาพก็ย่ำแย่ เกิดปัญหาการหย่าร้าง นำไปสู่ปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจหลายๆด้าน ผู้นำหมู่บ้านจึงมีการคิดวิเคราะห์และร่วมกันวางแผนในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงมีการจัดเวทีประชาคมหมู่บ้านขึ้น มีการวิเคราะห์ปัญหาทั้งหมดที่เกิดจากการบริโภคสุรา จึงมีการวางแผนใช้มาตรการทางสังคมตั้งกฎระเบียบในชุมชชชน โดยมีหน่วยงานสาธารณสุขจังหวัดเข้ามาสร้างความรู้ความเข้าใจ พิษภัยของการบริโภคสุรา และมีการจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อน โดยใช้กระบวนการการมีส่วนร่วม จากคนในชุมชน
และในปีถัดมา ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ – ๒๕๕๔ คนในพื้นที่ตำบลก็ประสบกับปัญหาเรื่องสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความดัน เบาหวาน โรคไต และโรคอ้วน ประชาชนขาดการเอาใส่ใจดูแล ควบคุม และป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ประชาชนมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม นิยมบริโภคอาหารขยะ ที่มีส่วนประกอบหลัก เป็น น้ำตาล น้ำมัน ไขมัน ผงชูรส และเกลือมากขึ้น แต่มีสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและสติปัญญา ในปริมาณน้อยมาก ประชาชนส่วนใหญ่รับประทานอาหารประเภทผักและผลไม้น้อยลงขาดการออกกำลังกาย มีภาวะความเครียดเรื้อรัง ไม่สามารถจัดการอารมณ์ได้ มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากขึ้น จากการรายงานของสาธารณสุข พบว่า ๖๐ % ของจำนวนประชากรในพื้นที่ เป็นโรคความดัน เบาหวาน และไขมัน จึงมีการรณรงค์การลดบริโภค หวาน มัน เค็ม มีการสร้างความเข้าใจให้พื้นที่เรื่องพิษภัยจากการบริโภคดังกล่าว มีการประชาสัมพันธ์ ทำแผ่นพับ แจกให้คนในชุมชน
จากที่กล่าวมานั้นทำให้ชุมชนต้องการลดปัญหาทางสังคมที่เกิดขึ้นจากการบริโภคสุรา เช่น ปัญหาสุขภาพ ปัญหาทะเลาะวิวาท ปัญหาอุบัติเหตุปัญหาหนี้สินจนเกิดการทะเลาะวิวาทในครอบครัวแล้วนำไปสู่การหย่าร้างในที่สุดทำให้เกิดปัญหาในครอบครัวตามมา ต้องการสร้างระบบสุขภาวะที่ดีให้เกิดขึ้นในตำบลคนในชุมชนมีอัตราการป่วยและการเสียชีวิตน้อยลง มีการใส่ใจดูแลเรื่องสุขภาพ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการพัฒนางานด้านอื่นๆในตำบลด้วย ต้องการสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในตำบลเป็นชุมชนต้นแบบให้กับพื้นที่ตำบลอื่น ซึ่งต้องสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการช่วยคิด และมีสร้างความรู้เพื่อใช้แก้ปัญหาเรื่องการจัดงานบุญประเพณีปลอดเหล้า สู่การพัฒนาให้เป็นชุมชนปลอดเหล้าอย่างยั่งยืนต่อไป สร้างคุณภาพชีวิตให้กับคนในชุมชน ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ตำบลทุ่งรวงทองเป็นตำบลปลอดเหล้า เพื่อให้ชุมชนเกิดความรู้และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง ให้อัตราการป่วยลดลง
ขั้นตอนการดำเนินงาน
– มีการสำรวจข้อมูลผู้เดือนร้อนกลุ่มเสี่ยง ข้อมูลเรื่องสุขภาพและนำข้อมูลมาวิเคราะห์ร่วมกัน
– มีการจัดตั้งคณะกรรมการการดำเนินงานครอบคลุมทุกหมู่บ้านโดยดยสร้างแรงจูงใจให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วยความสมัครใจ เริ่มจากการเลือกผู้นำชุมชน เยาวชน อสม.จิตอาสามีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบกันอย่างชัดเจน
– วันประชุมคณะกรรมการ ร่วมกับผู้นำชุมชน วิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาชี้แจง ทำความเข้าใจและร่วมกำหนดแนวทางการปฏิบัติพร้อมทั้งกำหนดนโยบาย โดยเริ่มจาก หมู่บ้านลด หวาน มันเค็มสู่งานบุญปลอดเหล้า
– จัดเวทีประชาคม กำหนดกติกาหมู่บ้าน อาทิ งดเหล้าเข้าพรรษานำไปสู่การเลิกเหล้าถาวร ไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานศพ งานบุญประเพณี ร้านค้าในหมู่บ้านขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามเวลาที่กฎหมายกำหนด รวมถึงจัดทำประกาศเกียรติคุณ เพื่อยกย่องครอบครัวปลอดเหล้า
– ประสานหน่วยงานเข้ามาสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องพิษภัยการบริโภคสุรา และการดูแลรักษาสุขภาพ มีการประชาสัมพันธ์โดยการทำแผ่นพับ แจกให้กับคนในชุมชน
– มีการติดตามผลการดำเนินงาน ประเมินทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ มีการสรุปผลการดำเนินงานทุกสิ้นปีเพื่อรายงานในที่ประชุม ทั้งหาแนวทางในการแก้ไข ร่วมกัน
– จัดทำเป็นข้อบัญญัติติดไว้ตามศาลาประชาคมของทุกหมู่บ้านเพื่อการปฏิบัติร่วมกัน
หลักการสำคัญที่ใช้ในการดำเนินงาน คือ ต้องมีการสร้างแรงจูงใจ เช่น ผู้นำประพฤติตัวเป็นต้นแบบของคนในชุมชน ทำให้ชุมชนมีความเชื่อถือ มีความเข้าใจในวิถีชุมชน มีความเชื่อมันในศักยภาพของขุมชน เป็นการสร้างแรงจูงใจให้ชุมชนประพฤติตาม จัดทำประกาศเกียรติคุณ เพื่อยกย่องครอบครัวปลอดเหล้า และครอบครัวสุขภาพดี มีการสร้างภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ทำให้เกิดพลังในการขับเคลื่อนงาน มีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตลอดระยะเวลาดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ทำให้เห็นปัญหาระหว่างการดำเนินงาน สามารถมาวางแผนในการแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที และเหมาะสม มีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องในเรื่องพิษภัยของการบริโภคสุราและการดูแลเรื่องระบบสุขภาพ มีการสร้างกฎกติกา ที่เกิดจากคนในชุมชนในการวิเคราะห์และวางแผนร่วมกันผ่านการประชาคมหมู่บ้าโดยใช้หลักการการมีส่วนร่วม และต้องมีการจัดกิจกรรมต่างๆร่วมกันทำให้มีพื้นที่สาธารณะในการแสดงออกและเปลี่ยนเรียนรู้
กลไกการจัดการ
– มีคณะกรรมการการขับเคลื่อนงานมาจาก ๑๓ หมู่บ้าน จำนวน ๓๐ คน ประกอบด้วยผู้นำชุมชน,ผู้ใหญ่บ้าน,อสม,รพสต,เทศบาล มีบทบาทในการสร้างความรู้ความเข้าใจประชาสัมพันธ์เป็นแกนนำในการขับเคลื่อน ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ในการเข้ามาให้ความรู้กับคนในพื้นที่ตำบล
– อำเภอสนับสนุนด้านนโยบายในการงดเหล้าในตำบลและเชื่อมประสานสร้างเครือข่ายในหมู่บ้าน
– สภาองค์กรชุมชนสนับสนุนในด้านการการวิเคราะห์และจัดทำแผน
– สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนสนับสนุนงบประมาณบางส่วนในการจัดทำเวทีวิเคราะห์และจัดทำแผน
– โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลส่งเสริมองค์ความรู้ สร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องของระบบสุขภาพ
– สาธารณสุขจังหวัดสนับสนุนองค์ความรู้
– อปท.สนับสนุนงานด้านนโยบาย งบประมาณในการดำเนินงาน เป็นที่ปรึกษาพร้อมทั้งร่วมผลักดันให้การขับเคลื่อนงานประสบความสำเร็จ
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ชุมชนมีการเรียนรู้ ตระหนักรู้ วางแผน พึ่งพาตนเอง พร้อมช่วยเหลือผู้อื่นผ่านกระบวนการจัดสวัสดิการชุมชน คนในชุมชนมีสุขภาวะที่ดี เป็นชุมชนต้นแบบเรื่องการงดเหล้าและมีระบบสุขภาพที่ดี ปัญหาอุบัติเหตุลด การทะเลาะวิวาทน้อยลง เกิดความรักความสามัคคีในชุมชน ประชาชนมีความรู้และมีพฤติกรรมสุขภาพการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง เกิดคนต้นแบบและหมู่บ้านต้นแบบในการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีและถูกต้อง อัตราการป่วยลดลง ลดปัญหาหนี้สิน
ทางด้านสังคมเกิดการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม นำไปสู่งานพัฒนาด้านอื่นๆในตำบล และช่วยเหลืองานสังคม สังคมมีความสงบสุข ปราศจากความขัดแย้ง สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข สังคมเกิดการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เกิดผู้นำการเปลี่ยนแปลง เกิดเครือข่ายการทำงาน ส่งผลให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมขององค์กร หรือหน่วยงานในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาชุมชน ตำบล อำเภอ จังหวัดของตนไปสู่การเป็นพื้นที่ ที่จัดงานบุญประเพณีปลอดเหล้า ทั้งนี้ องค์กร หรือหน่วยงานในท้องถิ่นควรได้มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม ตลอดจนสนับสนุนสถานที่ หรืองบประมาณบางส่วนในการดำเนินกิจกรรม และมีแผนต่อเนื่องเพื่อพัฒนา หน่วยงานภาคส่วนต่างๆให้การยอมรับ และให้ความร่วมมือในการพัฒนาด้านต่างๆ
ความสำเร็จทั้งหมดนั้น ได้เกิดมาจากหลายปัจจัย อย่างเช่น การมีผู้นำที่มีความเข้มแข็งให้ความสนใจและประพฤติตัวเป็นต้นแบบของคนในชุมชน ทำให้ชุมชนมีความเชื่อถือ มีความเข้าใจในวิถีชุมชน มีความเชื่อมันในศักยภาพของขุมชน เป็นการสร้างแรงจูงใจให้ชุมชนประพฤติตาม คณะกรรมการมีความเสียสละมีความตั้งใจจริง มีการสร้างภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ทำให้เกิดพลังในการขับเคลื่อนงาน มีการอุดหนุนงบประมาณจากเทศบาลตำบล ตามแผนงานที่เสนอ มีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตลอดระยะเวลาดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ทำให้เห็นปัญหาระหว่างการดำเนินงาน สามารถมาวางแผนในการแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที และเหมาะสม มีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องในเรื่องพิษภัยของการบริโภคสุราและการดูแลเรื่องระบบสุขภาพ มีการสร้างกฎกติกา ที่เกิดจากคนในชุมชนในการวิเคราะห์และวางแผนร่วมกันผ่านการประชาคมหมู่บ้าโดยใช้หลักการการมีส่วนร่วม มีการพัฒนาศักยภาพทีมทำงานอย่างต่อเนื่อง มีการเชื่อมโยงหน่วยงานภาคีร่วม ท้องถิ่นให้ความสำคัญ โดยได้ทำเป็นเทศบัญญัติของท้องถิ่น คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการทำประชาคมหมู่บ้าน มีรูปแบบการดำเนินงานแบบคณะกรรมการที่มาจาก ๑๓ หมู่บ้านและแบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบอย่างชัดเจน มีการผลักดันเป็นเทศบัญญัติตำบล ที่ทุกคนให้การยอมรับเพราะมาจากการร่วมคิดร่วมทำของชุมชนอย่างแท้จริง มีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
ชุมชนมีแผนที่จะทำต่อในระยะข้างหน้า ในการพัฒนาเป็นพื้นที่ ต้นแบบ พร้อมให้พื้นที่อื่นมาเรียนรู้การดำเนินงาน เชื่อมโยง บูรณาการงบประมาณกับแหล่งทุน กลุ่มองค์กร ในตำบล เชื่อมโยงหน่วยงานภาคี พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุน และทำแผนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่