“ไผผู้เฮียนฮ่ำฮู้ วิชาปราชญ์ทางใด ก็ให้มีใจ จด เผิ่งวิชาที่ตนฮู้ แปลว่า เรียนรู้ให้เชี่ยวชาญเป็นวิชาเลี้ยงตัว” นี้คือคำกล่าวของพี่น้องสภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านฝาง หนึ่งของคำต่อสู้บนพื้นฐานของชุมชนที่ถึงว่าเป็นชุมชนที่มีการต่อสู้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นชุมชนที่ถือว่ามีความอุดมสมบรูณ์ทางกายภาพทางสิ่งแวดล้อมและความรักใค่ของพี่น้องในชุมชนที่หายากมากขึ้นในปัจจุบันนี้
นาย สวรรค์ กาสิงห์ ประธานสภาองค์ชุมชนตำบลบ้านฝาง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญตามภารกิจของ พรบ. 2551 จึงร่วมกลุ่มพี่น้องที่ทำเรื่องข้าวมา ในนาม ”กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธ์ข้าวอินทรีย์” เพราะในตำบลบ้านฝาง ได้มีการนำเข้าผลิตผลทางการเกษตรกรรม ด้านเมล็ดพันธ์ข้าวเช่น พันธ์ข้าว หอมมะลิ 105 , พันธ์ข้าว กข. 6 เป็นจำนวนมาก ส่งผลไห้เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตที่สูงเกิดผลกำไรที่น้อย บางรายเกิดการขาดทุนในการประกอบอาชีพด้านการเกษตรกรรม และมีหนี้สินด้านการเกษตรกรรมเพิ่มสูงขึ้นจากปัญหานี้ และการทำนาเป็นอาชีพหลักของเกษตรในตำบลปัจจุบัน ปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวข้องการทำนา เช่น เมล็ดพันธุ์ข้าว ปุ๋ยเคมี สารเคมีและอื่น ๆ เป็นสาเหตุทำให้เกิดต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เช่นเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีราคาแพงแล้วยังไม่ได้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่บริสุทธิ์แต่ยังพบเมล็ดพันธุ์ที่ปนมาด้วย
เมื่อเกษตรกรนำข้าวเปลือกไปขายปรากฏว่าจะมีข้าวปนจำนวนมาก ทำให้เกษตรกรประสบปัญหาถูกพ่อค้าคนกลางหักสิ่งเจอปนอยู่เป็นประจำทุกปี ทางสภาองค์กรชุมชนตำบลดงสิงห์ ได้นำประเด็นนี้มาจัดทำโครงการเพื่อลดต้นทุนการผลิตให้แก่ประชาชนจำนวน กลุ่มเป้าหมาย 1,100 ครอบครัว มีประชากรทั้งหมด 6,063 คน และเป็นศูนย์กลางผลิตเมล็ดพันธ์ข้าวจำหน่ายภายในตำบลและส่งออกสู่ตลาดภายนอก ทำให้กลุ่มเกษตรต่างๆ มีความรู้ในการผลิตข้าวให้ได้คุณภาพดีและผลผลิตสูง เริ่มตั้งแต่ 1.พื้นที่ปลูก 2.เมล็ดพันธ์ที่ใช้ปลูก 3.ช่างเวลาปลูก 4.วิธีการปลูก 5.การเตรียมดิน 6.การใส่ปุ๋ย 7.ศัตรูข้าวและการป้องกันกำจัด 8.การเก็บเกี่ยว 9.การเกี่ยวนวดและการขนย้าย 10.การจดบันทึก ทำให้ก่อเกิดองค์ความรู้เหล่านี้ได้ถ่ายทอดลงไปสู่ผู้นำในชุมชน ตามแผนขั้นตอน และกระบวนการดังนี้
1) ให้ความรู้คณะกรรมการและสมาชิก และเครือข่ายภายในตำบลบ้านฝาง
2) พัฒนาผลิตการเกษตรกรรมด้านเมล็ดพันธ์และการบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งออก
3) ขยายช่องทางการตลาดโดยการสร้างภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์ผ่านสื่อต่างๆ
4) สรุปวิธีการดำเนินงานการพัฒนาเมล็ดพันธ์และคัดสรรเมล็ดพันธ์ที่ดีสู่ตลาดโลก
5) ถอดบทเรียนเพื่อเชื่อมโยงกิจกรรมระดับหมู่บ้าน/ ตำบล/อำเภอ/จังหวัด
ขบวนการดังกล่าวได้รับความร่วมมือ จากภาคีของสภาองค์ชุมชนจังหวัด กรมการข้าวจังหวัด เกษตรตำบลบ้านฝาง องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านฝาง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ที่ทำให้เกษตรสามารถ ลดต้นทุนในการผลิต มีรายได้เพิ่ม จากการผลิตข้าวตามขบวนการผลิตทำให้สมาชิกมีความมั่นใจต่อรายได้ในครัวเรือนที่มั่นคง จากการผลิตส่งขาย เมล็ดพันธ์ข้าวที่ได้มาตรฐาน ให้กรมการข้าวของจังหวัด และจำหน่ายแก่เครือข่ายเกษตรด้วยกัน ที่มีสมาชิกกว่า 1,100 ครัวเรือน ไม่เฉพาะกลุ่มกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธ์ข้าวอินทรีย์ กลุ่มหลายๆกลุ่มในตำบลบ้านฝาง ก็โดดเด่นไม่ต่างกัน เพื่อให้มองเป้าหมายร่วมกันทั้งจังหวัด “สู่เมืองเกษตรพามี อยู่ดี มีแฮง”
นางโสภารัตน์ จันทร์ศรีชา ประธานกลุ่มจักสาน ได้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร การทำงานร่วมกับสภาองค์กรชุมขน ทำให้หน่วยงานทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมชุมชนในตำบล ได้ทำกิจกรรมมากขึ้น ได้แลกเปลี่ยนกับเครือข่ายตำบลอื่น ๆ เชื่อมโยงความสัมพันธ์อันดีในระดับหมู่บ้าน และระดับตำบล จนเกิดกระบวนการเรียนรู้การใช้ทรัพยากรในชุมชนเพื่อสร้างรายได้ นอกจากรายได้หลักของราษฎรคือการทำนา ซึ่งบางปีสภาพอาการไม่เอื้ออำนวยต่อการทำการเกษตร จึงทำให้เกษตรกรต้องขาดทุนในการลงทุนในการทำการเกษตร และสภาพสังคมในปัจจุบันมีรายจ่ายเกิดขึ้นมากมาย ค่าอุปโภค บริโภค ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าครองชีพที่ใช้ประจำครัวเรือน ร่วมทั้งภาษีสังคม จนเกิดการ รายได้ ไม่พอกับรายจ่าย ด้วยเหตุนี้ ทางสภาองค์กรชุมชนจึงได้มีการประชุมปรึกษาหารือกันในตำบลบ้านฝาง ได้มองเห็นปัญหาของคนในชุมชนจึงได้เกิดกลุ่ม จักสานกระติบข้าวจากต้นกก ขึ้นในตำบลบ้านฝาง โดยการเสนอให้ใช้วัสดุที่มีอยู่ในชุมชน จนเกิดกระบวนการกลุ่ม กระบวนการเรียนรู้เป็นขั้นตอนดังนี้ 1.วัตถุดิบอยู่ในชุมขน 2.สามารถกำหนดราคาเองได้ 3. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 4.สิ้นค้าจำหน่ายได้แน่นอน 5.มีพ่อค้ามารับถึงที่ 5.สามารถทำหรือผลิตได้กับคนทุกกลุ่ม ทุกรุ่น 6.สามารถต่อยอดและเพิ่มศักยภาพในผลผลิตได้ 7.มีครูผู้สอนให้ความรู้ รู้แบบของผลิตภัณฑ์ 8.ทำให้เกิดเครือข่ายเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการจัดตั้งกลุ่มครั้งแรก มีประธาน และ คณะกรรมการร่วมอีก 15 คน มีสมาชิกแรกเข้า 50 ราย 5 หมู่บ้าน คณะกรรมการมีการร่วมประชุ่มเพื่อหาแนวทางในการดำเนินงานร่วมกับสภาองค์กรชุมชนเป็นผู้แนะนำในการจัดทำแผน และระเบียบข้อบังคับของกลุ่ม คือ
1.มีค่าธรรมเนียมแรกเข้า 100 บาท
2.มีการระดมหุ้น คนละ 10 หุ้น 100 บาท
- ทำฌาปณกิจในกลุ่ม ทุกๆ คนโดยคิดเป็นศพละ 20 บาท
4.จะต้องเป็นสมาชิกสวัสดิการชุมชนเท่านั้น
- กรรมการมีวาระ4 ปีต้องไม่เกิน2 วาระ
- มีการประชุมคณะกรรมปีละ2 ครั้ง หรือ (ตามภารกิจของ)
- มีการประชุมสมาชิกกลุ่มปีละ 1 ครั้ง (ตามระเบียบข้อบังคับ)
- มีการกำหนดราคาสิ้นค้า โดยมติของกลุ่ม และ อื่นๆ ตามแต่คณะกรรมการจะเห็นสมควรในการประชุมแต่ละครั้ง
คณะกรรมการมีการติดต่อประสานงานต่อทางสำนักงาน พัฒนาชุมชนอำเภอจนได้รับงบประมาณสนับสนุนกลุ่ม เพื่อมาบริหารจำนวน 10,000 บาทสามารถนำสิ้นค้าเข้าไปแสดงในงาน otop หลายๆแห่ จนเป็นที่ประจักแก่สายตา มีการประสานงานกับ ก.ศ.น.ให้เข้าไปสอนการออกแบบสิ้นค้าในรูปแบบต่างๆทำให้สมาชิกเกิดทักษะและความชำนาญขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน กลุ่มจักสานกระติบข้าวจากต้นกก ตำบล บ้านฝาง สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ และไม่พอต่อการจำหน่าย เกิดรายได้แก่สมาชิกโดยเฉลี่ยต่อเดือนๆละ 3,000 บาทขึ้นไป และจะมีการรับสมัครผู้เข้าร่วมกลุ่มอีกอยู่เป็นประจำ จึงทำให้การบริหารจัดการกลุ่มมีความเข้มแข็งตลอดมา จนถึงปัจจุบัน