ในชุมชนเทศบาลตำบลบึงโขงหลง ยังมีประชากรอีกหลายร้อยคน ที่เข้าไม่ถึงสวัสดิการภาครัฐในปัจจุบัน ซึ่งคนส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร แรงงานนอกระบบ และผู้สูงอายุ ด้วยเหตุนี้จึงเกิดการรวมกลุ่มกันเพื่อจัดให้มีสวัสดิการชุมชนเกิดขึ้นในชุมชน และได้ใช้ชื่อว่า “กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลบึงโขงหลง” จากการสนับสนุนการจัดตั้งโดย พอช. จากการรวมกลุ่มเพื่อจัดสวัสดิการในชุมชนโดยชุมชนทำให้เกิดการมีส่วนร่วม ในการอกแบบสวัสดิการร่วมกันหลากหลายด้าน กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลบึงโขงหลงเป็นชุมชนที่มีการจัดสวัสดิการในชุมชนตั้งแต่เกิด จนกระทั่งตาย เพราะเหตุผลอันเนื่องมาจากชุมชนไม่สามารถเข้าถึงบริการของรัฐได้อย่างทั่วถึง ไม่มีกำลังซื้อประกันชีวิตจากบริษัทประกันชีวิตต่างๆ และไม่ได้มีอาชีพที่จะได้รับสวัสดิการจากหน่วยงานต่างๆ และถึงจะมีเงินกองทุนสวัสดิการชุมนเป็นจำนวนไม่มาก แต่ก็ยังดีที่ชุมชนมีสวัสดิการชุมชนที่ทุกเพศทุกวัยสามารถเข้าถึงได้
นอกจากสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชน จะได้รับผลประโยชน์ในเรื่องเกิด แก่ เจ็บ ตาย แล้วนั้น กองทุนสวัสดิการชุมชนเองยังมีการจัดสวัสดิการชุมชนในหลายๆด้าน เช่น ด้านอาชีพ มีการขุดบ่อน้ำเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพให้กับเกษตรกรทีไม่มีที่ทำกิน ที่ศูนย์พัฒนาอาชีพบ้านหนองสิม สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการฝึกอาชีพให้กับโรงเรียนผู้สูงวัยรัตภานครศึกษา ด้านที่อยู่อาศัย มีการสนับสนุนงบประมาณในการซ่อม/สร้างบ้าน โครงการบ้านพอเพียงชนบท ร่วมจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขอใช้พ้นที่ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตบ้านหนองสิม เพื่อให้ชาวบ้านที่ไม่มีที่ทำกินต้องการทำกินให้เข้าประกอบอาชีพ
และนอกจากนี้ยังมีอีกหลายหน่วยงานที่คอยให้ความช่วยเหลือเป็นประจำเช่น เทศบาลตำบลบึงโขงหลง มอบเงินสมทบปีละ 100,000 บาท/ปี
และนอกจากนี้เพื่อให้การจัดสวัสดิการมีความหลากหลายกองทุนสวัสดิการเทศบาลตำบลบึงโขงหลง จึงได้มีการเขียนโครงการเพื่อของบประมาณในการดำเนินกิจกรมเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน โครงการอดเปรี้ยวไว้กินหวาน และของบประมาณดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาวะผู้อายุเพื่อใช้บริหารจัดการในโรงเรียนผู้สูงวัยรัตภานครศึกษา
เมื่อกล่าวย้อนคืนกลับไปถึงการแรกตั้งคณะทำงานในพื้นที่ ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะชาวบ้านขาดความเข้าใจ และกลัวว่าจะโดนหลอก เราจึงต้องมีกระบวนการเรียนรู้ภายในกลุ่ม เพราะการจัดสวัสดิการต้องเกิดจากความต้องการและปัญหาของหรือตำบลของตนเอง และต้องเป็นกองทุนที่มีปริทธิภาพะชุมชนที่ต้องการแก้ไขและปัญหาของชุมชน เชื่อถือได้ จับต้องได้ ชุมชนต้องทำตัวเป็นตัวย่าง
นอกจากนี้กองทุนสวัสดิการชุมชนยังมีที่ปรึกษาที่ให้การสนับสนุนในด้านการดำเนินงานด้วย ทั้งเทศบาล พมจ.บึงกาฬ และการทำงานยังเป็นการทำงานแบบมีภาคีร่วม ไม่ว่าจะเป็นสภาองค์กรชุมชนเทศบาลตำบลบึงโขงหลง เทศบาลตำบลบึงโขงหลง สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งมีแผนงานร่วมกัน เพื่อให้งานในพื้นที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ถึงตอนนี้กองทุนสวัสดิการชุมชนมีสมาชิก 1,943 คน มีเงินกองทุนหมุนเวียนรวม 3 ล้าน บาท และด้วยระบบการบริหารจัดการที่โปร่งใส มีกรรมการที่เป็นชาวบ้าน ตลอดจนหน่วยงานต่างๆ ให้ความร่วมมือจึงทำให้กองทุนมีความเข้มแข็ง มีสมาชิกครอบคลุมทั้ง 12 ชุมชน และดำเนินการมาแล้วเป็นระยะเวลา 8 ปี กับอีก 1 เดือน(ก่อตั้งเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2554) และนอกจากนี้กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลบึงโขงหลง ยังมีการบริหารจัดการกองทุนแบบยึดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งส่งเสริมให้สมาชิกเข้าใจถึงการ “ให้อย่างมีคุณค่า รับอย่างมีศักดิ์ศรี” การมีเหตุมีผล ซึ่งส่งผลให้ชุมชนมีสวัสดิการชุมชนที่เป็นภูมิคุ้มกันที่ดีโดยคำนึงถึงความรู้ คุณธรรม และความหลากหลายของชุมชนด้วย เกิดเป็นชุมชนพึ่งตนเองได้ ไม่รอเพียงการช่วยเหลือจากภาครัฐอย่างเดียว เกิดสังคมดี ประชาชนมีความเชื่อ มีความสุข
ซึ่งจะปฏิเสธไม่ได้ว่า ระบบสวัสดิการโดยชุมชนเป็นฐานรากความเข้มแข็งในชุมชน เป็นนวัตกรรมในกระบวนการองค์การระดับชุมชนที่ช่วยสร้างหลักประกันชีวิตที่ชุมชนเข้าถึงได้ ออกแบบเองได้ ทำให้คนชุมชนมีความรัก ความสามัคคี การดูแลกันและกันของคนในชุมชนอย่างมีความสุขถึงทุกวันนี้