ตำบลควนสุบรรณ อำเภอบ้านนาสาร
จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีทุนดังเดิมมากมาย ไม่ว่าจะเป็นทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ที่มีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีฐานทุนทางเศรษฐกิจคือเป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การปลูกผลไม้ ปลูกยางพารา มีแม่น้ำไหลผ่านตลอดปี มีน้ำตกดาดฟ้า ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยว และมีฐานทุนทางอาหารอีกมากมาย ทำให้คนในชุมชนมีวิถีชีวิตที่ต้องพึ่งพาธรรมชาติ และเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติเป็นอย่างดี ทำให้ชาวตำบลควนสุบรรณมีการรวมกลุ่มสู่การยกระดับการทำงาน เพื่อการหนุนเสริมการประกอบอาชีพที่ใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชนมาแปรรูป เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด จำนวนหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มแปรรูปปลาส้ม กลุ่มทุเรียนกวน กลุ่มกล้วยฉาบ เป็นต้น ซึ่งต่อมากลุ่มเหล่านี้ได้ร่วมกันจัดตั้ง สภาองค์กรชุมชนตำบล (พรบ. สภาองค์กรชุมชนตำบล 2551) สภาองค์กรชุมชนตำบลควนสุบรรณ เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2553 เมื่อได้ดำเนินการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบล เป็นการเรียบร้อย ได้มีการเรียกประชุมเป็นปกติตามมาตรา 21 (1-12) เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์บ้านเมือง มาจนถึงในปี 2557 พบว่า ตำบลควนสุบรรณประสบปัญหาเรื่องราคายางตกต่ำ และราคาผลผลิตทางการเกษตรอย่าง เช่น ผลไม้ มีราคาตกต่ำตามไปด้วย
จากข้อเท็จจริงและปัญหาที่เกิดขึ้น นำไปสู่การจัดทำ แผนพัฒนาตำบล 3 ปี คือ “ เศรษฐกิจดี ราคาผลผลิตดี หนี้สินลด ประชาชนมีอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ ทรัพยากรดี มีศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง (เกษตร
อินทรีย์)”
จากการดำเนินงานเรื่องการขับเคลื่อนเรื่องเศรษฐกิจและทุนชุมชนมีกลุ่มแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรที่สามารถนำมาเสริมสร้างรายได้ให้กับคนชุมชน สมาชิกในกลุ่มมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น อาทิเช่น
กลุ่มแปรรูปวิสาหกิจชุมชนแปรรูปลาส้ม ที่เป็นปลาจากคลองลำพูน ที่สามารถหามาได้ ทางกลุ่มจะเก็บรวบรวมซื้อเพื่อมาแปรรูปเป็นปลาแห้ง ปลาดุกร้า และปลาส้ม
กลุ่มแปรรูปกล้วยฉาบ ที่รวมกลุ่มรับซื้อกล้วยในชุมนมาแปรรูปเป็นกล้วยหอมฉาบ กล้วยหินฉาย ทุเรียนกวน เงาะกวน เป็นต้น ที่คนในชุมชนปลูกเพื่อบริโภค เหลือจากบริโภคแล้วขาย
กลุ่มปลูกผลไม้ เป็นการรวบรวมผลไม้ เพื่อจำหน่าย เพื่ออำนาจต่อรองเรื่องราคากับพ่อค้าคนกลาง และทางกลุ่มจะนำผลไม้ไปขายเองตามงานของหน่วยงานราชการที่มีการเปิดบูธ
นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มอื่นๆ อีกมากมาย จากการดำเนินงานดังกล่าวมีการเชื่อมโยงภาคีพัฒนาภายในตำบล เช่น อบต. ที่ให้งบประมาณสนับสนับกลุ่ม/องค์กร มาทุกปี และยังมีหน่วยงานภายนอกที่ให้ความสำคัญกับการประกอบอาชีพ การแก้ไขปัญหาของเรื่องปากท้องของพี่น้องชาวตำบลควนสุบรรณ เช่น สำนักงานเกษตรอำเภอ ,กศน ,สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ เป็นต้น
ในการดำเนินงานสภาองค์กรชุมชนได้เชื่อมโยงภาคีพัฒนาต่างๆ มาทำงานร่วมกัน ได้แก่ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนสนับสนุนงบประมาณการจัดประชุมพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน 10,000 บาท องค์การบริหารส่วนตำบลสนับสนุนงบประมาณในการสร้างสถานที่รวบรวมผลผลิตทางการเกษตรและโรงเรือนการแปรรูป 450,000 บาท กศน. สนับสนุนงบประมาณในซื้ออุปกรณ์ในการผลผลิต 20,000 บาท มสท.ให้ความรู้ในเรื่องการดำเนินงานกลุ่ม มอ. สนับสนุนเรื่องมาตรฐาน มผช. และการศึกษาดูงาน วิทยาลัยอาชีวะศึกษา สนับสนุน ออกแบบบรรจุภัณฑ์ อุตสาหกรรม ให้ความรู้ในเรื่องการออกแบบ สาธารณสุข ให้ความรู้เรื่องการขอ อย. เกษตรอำเภอ ให้ความรู้เกี่ยวกับแปรรูป
ผลจากการทำงานส่งผลให้ เกิดเวทีกลางในชุมชน (สภาองค์กรชุมชน) เพื่อคนในชุมชนได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ท้องถิ่น ท้องที่ และภาคีต่างๆ เริ่มให้ความสำคัญกับสภาองค์กรชุมชน เกิดนวัตกรรมใหม่ในชุมชน เช่น การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร และคนในชุมชนมีวิสาหกิจเป็นของตนเองมากขึ้น
ความสำเร็จที่เกิดขึ้นเพราะสภาฯ นำมาเรื่องที่เป็นความต้องการของชาวบ้านมาแก้ไขทำให้สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องปากท้องพี่น้องในยุคเศรษฐกิจตกต่ำได้ นโยบายของรัฐยังเอื้อต่อการลงทุนของชุมชน เช่น การทำวิสาหกิจชุมชน และการสนับสนุนงบ
ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลควนสุบรรณ นาย วินัย มากบุญ โทร 083-7619675