ตำบลบางแก้วตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอละอุ่น ห่างจากตัวอำเภอระยะทาง 13 กิโลเมตร ห่างจากตัวจังหวัดระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร โดยมีอาณาเขตทิศเหนือติดต่อกับตำบลลำเลียง อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง ทิศใต้ติดต่อกับตำบลทรายแดง อำเภอเมือง จังหวัดระนอง ทิศตะวันออกติดต่อกับตำบลเขาทะลุ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร ทิศตะวันตก ติดต่อกับแม่น้ำกระบุรีและประเทศสหภาพเมียนมาร์
ลักษณะ ภูมิประเทศ ตำบลบางแก้วมี สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสลับขับช้อน ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่หม่ที่ 1 บ้านบางแก้วน้อย หมู่ที่ 2 บ้านบางแก้วใหญ่ และหมู่ที่ 3 บ้านทุ่งตาพล และมีลักษณะ ลาดจาก ทิศตะวันออกลสู่แม่น้ำกระบุรีทางทิศตะวันตก มีที่ราบน้อย มีคลองละอุ่นอยู่ทางทิศไต้ยาวเป็น 1 ใน 3ของความยาว ด้าน ตะวันตกถึงตะวันออก และมีแม่น้ำกระบุรีล้อมโดยรอบ ทางต้านทิศตะวันตก
ตำบลมีสถานที่ท่องเที่ยวที่ ึ้นชื่อจำนวน 2 แห่งคือ พิพิธภัณฑ์สงครามโลกครั้งที่ 2 และจุดชมวิวยอดเขาฝาชีนอกจากนี้แล้ว ตำบลบางแก้วยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์อันเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกจำนวนหนึ่ง อาทิ ห้ว เขาค่างหาดโทน หลุมหลบภัย
การวิเคราะห์ศักยภาพชุมชน
สภาองค์กรชุมชนตำบลท่าแซะจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2552 ภายใต้ พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551 โดยมีนาย ไพบูลย์ ภาสะเตมีย์เป็นประธาน มีกลุ่มร่วมจดแจ้งจำนวน 10 กลุ่ม มีสมาชิกสภาฯ 27 คน ซึ่งหลังจากได้จัดตั้งแล้วสภาองค์กรชุมชนได้จัดประชุมเพื่อวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่และจัดทำเป็นแผนพัฒนาตำบล
จากสภาพปัญหาข้างต้นทางสภาองค์กรชุมชนตำบลได้จัดเวทีในการวิเคราะห์และพัฒนาเป็นแผนพัฒนาตำบลจัดการตนเอง โดยมีตัวแทนผู้นำชุมชน ท้องถิ่น ท้องที่และ พอช. เข้าร่วมแลกเปลี่ยนด้วย ทั้งนี้ นายอำนาจชัย สุวรรณราช เจ้าหน้าที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนได้เข้าร่วมให้ข้อคิดเห็นแนวทางการพัฒนาแผนตำบลแบบมีส่วนร่วม ซึ่งสาระสำคัญของการพัฒนาแผนตำบลคือ 1) แผนตำบลต้องเกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมของภาคส่วนในตำบลไม่ว่าจะเป็นองค์กรชุมชน ส่วนท้องถิ่น ส่วนท้องที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีสภาองค์กรชุมชนเป็นกลไกสำคัญในการเชื่อมโยงประสานงาน 2) แผนตำบลควรจะมีข้อมูลดังนี้ ข้อมูลทั่วไป (ข้อมูล ประวัติ ที่ตั้ง ฯลฯ) ข้อมูลทุนชุมชน (ภาพผังตำบล/ข้อมูล กลุ่มองค์กรชุมชน/ทรัพยากรธรรมชาติ/ภูมิปัญญาท้องถิ่น ฯลฯ ข้อมูลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (จุดแข็ง จุดอ่อน…) วิสัยทัศน์ แผนพัฒนาตำบล 3 ด้าน (ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม วัฒนธรรม ด้านทรัพยากร) และคณะทำงานขับเคลื่อน แผนตำบล 3) ขั้นตอนการวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่แผนตำบลที่สำคัญคือ ขั้นแรก การวิเคราะห์ศักยภาพของตนเอง(ชุมชน) เป็นการวิเคราะห์ฐานทุนของชุมชนว่ามีอะไรบ้าง อย่างไร สถานะภาพเป้นอย่างไร ซึ่งมีฐานทุนด้านทรัพยากรธรรมชาติ ฐานการเงินชุมชน ฐานด้านบุคคล และฐานด้านองค์ความรูภูมิปัญญาต่างๆ ทั้งนี้การวิเคราะห์ตนเองเพื่อให้เกิดความตระหนักว่าว่า เรา(ชุมชน)เป็นใคร ขั้นทีสอง การวิเคราะห์เพื่อกำหนดทิศทางของชุมชน เป็นการนำเอาผลจากการวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชนที่มีอยู่นำไปสู่การกำหนดเป้าหมายสำคัญของชุมชนเองว่าจะเดินไปสู่เป้าหมายคืออะไร นั่นคือการร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ของชุมชนในระยะ 3-5 ปีข้างหน้า และขั้นตอนสาม การวิเคราะห์แผนการดำเนินงานเพื่อไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ เป็นการระดมแผนแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยเป็นการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สำคัญของชุมชน เพื่อตอบโจทย์คำถามว่า แล้วชุมชนจะเดินไปสู่เป้าหมายได้อย่างไร ทั้งนี้ในแต่ละขั้นจะมีความแตกต่างกันตามสภาพพื้นที่และสถานการณ์แวดล้อมที่เกิดขึ้น และ 4) การนำแผนตำบลไปใช้ประโยชน์ เมื่อได้จัดทำแผนพัฒนาตำบลแล้วสามารถนำไปใช้ได้คือ การบูรณาการกับแผนส่วนท้องถิ่น การประมวลเป็นข้อเสนอในแผนพัฒนาจังหวัด ทั้งนี้ทางประธานสภาองค์กรชุมชนกล่าวเน้นย้ำว่าหลังจากนี้ทางคณะทำงานจะประมวลข้อมูลเป็นแผนพัฒนาตำบลและนำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ในขณะเดียวการประธานสภาองค์กรชุมชนได้นัดให้คณะทำงานนำข้อมูลที่ได้จากเวทีเพื่อประมวลยกร่างเป็นแผนพัฒนาตำบลต่อไป
แผนพัฒนาตำบล
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น ทางคณะทำงานสภาองค์กรชุมชนบางแก้วร่วมกันตัวแทนส่วนท้องถิ่น ท้องที่ร่วมกันวิเคราะห์กำหนดเป้าหมายและแผนการพัฒนาตำบลในระยะ 3 ปีดังนี้
ภาพตำบลที่อยากเห็นในอนาคต “ส่งเสริมภูมิปัญญา พัฒนาการท่องเที่ยว”
แนวทางการพัฒนาตำบล 1.จัดทำประชาคมหมู่บ้านถึงแนวทางการพัฒนาชุมชน (SWOT ชุมชน) 2.จัดเวทีประชุมองค์กร หรือหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และตัวแทนกลุ่ม 3.การบูรณาการแผนร่วมกันเพื่อนำไปสู่นโยบายของแต่ละหน่วยงาน 4.จัดทำโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณสู่การพัฒนาตามแผน
การแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย
จากสภาพปัญหาสำคัญในพื้นที่คือปัญหาบ้านที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะของคนยากจนที่ไม่มีความมั่นคง ปลอดภัยเพียงพอสำหรับการดำรงชีวิต ทางคณะทำงานสภาองค์กรชุมชนจึงได้ร่วมประชุมหารือกันและจัดทำแผนงานโครงการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยของตำบลขึ้นมา โดยมีแนวทางแผนการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยดังนี้
- จัดให้มีคณะทำงานรับผิดชอบเรื่องแกไขปัญหาที่ดินที่อยู่อาศัย
- สำรวจข้อมูลผู้มีปัญหาที่ดินทำกิน/ที่อยู่อาศัย
- วางหลักเกณฑ์ผุ’เข้าร่วมโครงการ แล้ไขปัญหาที่ดินทำกิน/ที่อยู่อาศัย
- สำรวจข้อมูลที่ดิน การจัดทำแผนที่ แผนผังการใช้ที่ดินว่างเปล่าภายในหมู่บ้าน/ตำบลใกล้เคียงเพื่อนำมาจัดที่ทำกินได้
- ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหา อย่างเป็นทางการ
ภายใต้แผนการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยนี้กำหนดเป้าหมายการซ่อมแซมและสร้างบ้านไว้คือ ในปี 2561 จำนวน 20 หลัง ปี 2562 จำนวน 10 หลัง และปี 2563 จำนวน 10 หลัง โดยที่มีขั้นการดำเนินงานดังนี้
- ประชุมเพื่อทำความเข้าใจระดับตำบล
- ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลผู้เดือดร้อนตามแบบฟอร์มสำรวจที่อยู่อาศัย
- รวบรวมข้อมูลผู้เดือดร้อน ประชุมคณะกรรมการตำบล เพื่อคัดเลือกและจัดลำดับความสำคัญ
- แต่งตั้งคณะกรรมการ 4 ฝ่าย ได้แก่ คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินวัสดุ, คณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง, คณะกรรมการตรวจรับงาน,คณะกรรมการติดตามและประเมินผล
- คณะกรรมการตำบลลงพื้นที่สำรวจข้อเท็จจริง พร้อมถ่ายรูปบ้าน จับพิกัด GPS จุดที่จะซ่อม ประเมินวัสดุที่ใช้
- รวบรวมข้อมูลวัสดุ-อุปกรณ์ในการก่อสร้าง
- จัดหาวัสดุ-อุปกรณ์ในการก่อสร้าง
- ติดตามผลการดำเนินงานโดยสภาองค์กรชุมชน
จากการผลการดำเนินซ่อมแซมบ้านผู้ยากไร้ในพื้นที่ สามารถดำเนินการซ่อมแซมบ้านให้มีความมั่นคง ปลอดภัยในการดำรงชีวิตของผู้ยากไร้ในตำบลได้ในระยะแรกจำนวน 20 หลัง โดยในการดำเนินงานได้มีการลงแรงช่วยเหลือกันในส่วนของแรงงาน ช่างต่างๆเนื่องจากมีงบประมาณสนับสนุนเฉพาะค่าวัสดุอุปกรณ์เท่านั้น ในขณะที่ได้มีข้อตกลงการคืนทุน เป็นเงินทุนหมุนเวียนและไม่มีดอกเบี้ย หลังจากเสร็จสิ้นโครงการ 3 เดือน ต้องคืนทุนภายใน 5 ปี และยกเว้นการคืนทุน 6 หลัง เนื่องจากเป็นผู้สูงอายุ ผู้พิการ
ทั้งนี้ทางสภาองค์กรชุมชนตำบลบางแก้วได้จัดให้มีพิธีมอบบ้านพอเพียงชนบทให้แก่ผู้ยากไร้ที่ซ่อมแซมบ้านเสร็จแล้วขึ้น ณ บ้านนายพงษ์ ดวงสว่าง เลขที่ 10/5 ม.5 บ้านพรุตาโรย ต.บางแก้ว อ.ละอุ่น จ.ระนอง โดยมีนาย เฉลิม เพชรรัตน์ นายอำเภอละอุ่น เป็นประธาน รอง ผอ.รมน. จังหวัดระนอง (ฝ่ายทหาร),หัวหน้าชุด ชปส.4104,หัวหน้าชุด ฉก.ร 25 จุดตรวจทุ่งตาพล, นายกสโมสรไลออนส์ระนอง,ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) สำนักงานภาคภาคใต้ ,เจ้าหน้าที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน,เจ้าของสถานประกอบการร้านตุลารวมภัณฑ์, เจ้าของสถานประกอบการร้านบรรหารค้าวัสดุ,ประธานสหกรณ์ตำบลบางแก้ว นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางแก้ว,ผู้อำนวยการสำนักงานคุมประพฤติ จังหวัดระนอง,ผู้เดือดร้อน ม.1,ม.2,ม.3 และ ม. 5 ตำบลบางแก้ว ในการนี้ได้รับการสนับสนุนสมทบ จาก กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลบางแก้ว สนับสนุนสมทบ จำนวน 10.000 บาท สโมสรไลออนส์ระนอง จำนวน 5,000 บาท และเจ้าของสถานประกอบการร้านบรรหารค้าวัสดุ จำนวน 2,500 บาท
การประสานความร่วมมือ
การดำเนินงานของสภาองค์กรชุมชนในการพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยเพื่อให้คนผู้ยากไร้ในตำบลได้มีที่อยู่ที่มั่นคง แข็งแรงปลอดภัย นั้น ได้รับความร่วมมือที่ดีจากองค์การบริหารส่วนตำบลบางแก้ว กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำชุมชนทุกหมู่บ้านเป็นอย่างดีในการร่วมมือกันลงแรงซ่อมแซมบ้านกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้ง พอช. ที่สนับสนุงบประมาณในการดำเนินงาน ในขณะเดียวกันคณะทำงานสภาองค์กรชุมชนได้จัดทำข้อเสนอการพัฒนาตำบลเสนอต่อองค์การบริหารส่วนตำบลบางแก้ว เพื่อให้บรรจุในแผน 4 ปี (ปี 2561 – 2564) ซึ่งส่งผลให้ทางองค์การบริหารส่วนตำบลบางแก้ว นำเข้าบรรจุในแผน 4 ปี ที่สำคัญได้แก่ (1) สนับสนุนการจัดทำแผนชุมชนจำนวน 50,000 บาท เพื่อสนับสนุนการจัดเวทีให้ข้อมูลปรับปรุงแผนชุมชน (2) สนับสนุนการดำเนินงานสภาองค์กรชุมชน จำนวน 20,000 บาทเพื่อส่งเสริมให้ความรู้การดำเนินงาน/ประชาธิปไตยชุมชน
สิ่งที่ค้นพบจากการดำเนินงาน 1)เกิดความเชื่อมั่นในสภาองค์กรชุมชนจากประชาชนในตำบล หน่วยงาน ภาครัฐมากขึ้น 2) มีความร่วมมือกันในดีในชุมชนทั้งภาคส่วนชุมชนโดยสภาองค์กรชุมชน ท้องถิ่น ท้องที่และสมาชิก
อุปสรรคในการดำเนินงาน 1) งบประมาณมีจำกัดทำให้ไม่เพียงพอกับความต้องการของประชาชนผู้เดือดร้อน 2)พื้นที่ตำบลกว้างทำให้ประสานงานได้ยาก
แผนงานในระยะต่อไป 1) ขยายการช่วยเหลือซ่อมแซมบ้านผู้เดือดร้อนผ่านกองทุนที่อยู่อาศัยตำบล 2) ทำความเข้าใจกับประชาชนในตำบลให้เข้าใจการดำเนินงานของสภาองค์กรชุมชน
ติดต่อประสานงาน
นายไพบูลย์ ภาสะเตมีย์ 98/3 ม.4 ต.บางแก้ว อ.ละอุ่น จ.ระนอง
โทรศัพท์ 081-7975996