ตำบลนาแว มีหลักฐานซึ่งปรากฎตามสมุหเทศบาลเป็นส่วนหนึ่งของหัวเมืองหลักคือกะเปียดขึ้นกับอำเภอลำพูน (นาสาร) จังหวัดสุราษฎร์ธานี ต่อมาได้มีการยกฐานะหัวเมืองส่วนนี้เป็นอำเภอฉวาง กะเปียดจึงเป็นตำบลหนึ่งด้วย ต่อมาตำบลนาแว ได้แยกมาจากตำบลกะเปียดออกมาเป็นตำบลนาแว ส่วนคำว่า “นาแว” มาจากคำว่า “นาแวง” ซึ่งแปลว่านาที่มีเนื้อที่ยาวต่อมาเพี้ยนเป็นนาแวตั้งอยู่เลขที่ 185 หมู่ที่ 2 ตำบลนาแว อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 72 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 45,000 ไร่ 12 หมู่บ้านประชากร 2,394 ครัวเรือน ประชากร 7,424 ราย เป็นเพศชาย 3,640 คน เพศหญิง 3,784 คน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ อาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำสวน ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ รับจ้าง ค้าขายและรับราชการเล็กน้อย โดยที่พื้นที่ตำบลนาแว มีทุนพื้นที่ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ศักยภาพในทุกมิติ ประกอบด้วย 1) ภูมิปัญญาท้องที่ในตำบล มีความรู้ด้านช่าง เช่นช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า ช่างก่อสร้าง ช่างเหล็ก ความรู้ด้านจักสาน หมอยาโบราณ สมุนไพร ทำปุ๋ย เพาะเห็ด เลี้ยงไก่ และศิลปินพื้นบ้าน 2) มีงานประเพณี คล้ายๆกับทุกพื้นที่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช คืองานสารทเดือนสิบ สงกรานต์ ลอยกระทง 3) มีกลุ่มองค์กรตามสายอาชีพประมาณ 40 กลุ่ม รวมกลุ่มตามศักยภาพและทรัพยากร 4) แหล่งเรียนรู้ เช่นกองทุนสวัสดิการชุมชน การจัดการสถาบันการเงินชุมชน เมื่อเห็นถึงต้นทุนงานพัฒนา จึงนำเข้าสู่การวิเคราะห์พื้นที่เชิงประวัติศาสตร์การทำงานทั้งระบบ และการก่อตัวกระบวนการนโยบายสาธารณะ พบว่า
ในปี 2543 นายเจริญ อวยศิลป์ ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสถาบันการเงินชุมชน ได้จัดเงินให้ยืมจำนวน ๓,๐๐๐ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านละ 1 ล้าน นำเงินค่าตอบแทนสมทบเพื่อจัดกองทุนสวัสดิการ ส่งผลให้ปี 2552 ได้เงินจากค่าสมัครสมาชิกโดยตรง รายละ 50 บาท สมทบกับกองทุน 365 บาทต่อปี (วันละบาท)
นโยบายของรัฐ สมทบกองทุนสวัสดิการ ตามจำนวนสมาชิก ในปีแรก 439คน เพิ่มขึ้นเป็น 826 คน และยังได้รับสมทบส่วนหนึ่งจาก อบต.นาแว สภาองค์กรชุมชนมีแผนงานต่างๆ ในการเพิ่มศักยภาพโดยการสนับสนุนด้านต่างๆจากองค์กรอื่น ด้านการพัฒนาอาชีพและรายได้
พื้นที่มีภาคีที่สำคัญ ประกอบด้วย สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนสนับสนุน โปรแกรมสำเร็จรูป และการให้ความรู้ในเรื่องระบบการจัดเก็บเอกสาร การเงินและบัญชีม. ราชภัฏนครศรีธรรมราช อบรมเจ้าหนที่และคณะกรรมการ ธ.เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสนับสนุนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
การกำหนดทางเลือกเชิงนโยบายสาธารณะ
เนื่องจากการชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร และชาวบ้านทั่วไป ไม่มีสวัสดิการใดๆเหมือนกับอาชีพข้าราชการ ที่จะช่วยเหลือดูแลความเป็นอยู่ของครอบครัวและและตนเอง เช่นเรื่องการศึกษาของบุตร ค่ารักษาพยาบาล ค่าจัดงานศพ เกิด แก่ เจ็บ ตาย อุบัติเหตุ กระดูกหัก งูกัดกิจกรรมแห่เทียนพรรษา จัดงานวันเด็ก ค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็น จึงทำให้เกิดการรวมกลุ่มเพื่อจัดการเรื่องค่าใช้จ่ายการช่วยเหลือกันเองในชุมชนซึ่งการจัดการสวัสดิการชุมชนโดยคนในชุมชน เป็นทางเลือกที่สามารถแก้ปัญหาของคนในชุมชนได้ การมีส่วนร่วมในการขยายสมาชิกเพิ่มเช่นกลุ่มกองทุนหมูบ้าน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กลุ่มสตรีพัฒนาตำบลนาแว คณะทำงานชุดแรกคือกลุ่มที่ริเริ่มดำเนินการ และต่อมามีการประชุมเพื่อจัดหาคณะกรรมการที่เป็นตัวแทนของแต่ละหมู่บ้าน
การตัดสินใจเชิงนโยบายสาธารณะ กองทุนสวัสดิการชุมชน เป็นนโยบายสาธารณะ เพื่อเป็นการบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนได้เข้าถึงสวัสดิการอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมดูแลและให้บริการอย่างรวดเร็ว ทั่วถึง ครบถ้วน ครอบคลุมในด้านต่างๆ ประกอบด้วย
- การดูแลชุมชนที่ไม่ได้รับสวัสดิการของรัฐ
- ประชาชนทุกกลุ่ม เช่น เด็กเล็ก วัยเรียน ครอบครัว ผู้สูงอายุ การตาย
- การพัฒนาอาชีพให้กับกลุ่มผู้ต้อยโอกาส
- ส่งเสริมประเพณี วัฒนธรรม และ ภูมิปัญญาท้องถิ่น
- กองทุนสนับสนุนในการป้องกันผู้ที่มีสภาวะเสี่ยงต่อยาเสพติด การพนัน
- ร่วมสร้างความมั่นคง ลดความเลื่อมล้ำในสังคม
- การยกระดับของคนในชุมชน ตำบล
- หนุนเสริมผ่านกลไกต่างๆที่มีอยู่ในชุมชน
เมื่อกำหนดธงร่วม จึงนำสู่การแปลงนโยบายสาธารณะไปสู่ การปฏิบัติ
สภาองค์กรชุมชนเป็นกลางในการปรึกษาหารือจัดทำแผนเสนอไปยังองค์การบริหารส่วนตำบลนาแว เพื่อบรรจุเข้าแผนพัฒนาและบรรจุไว้ในข้อบัญญัติตำบล ให้ประชาชนในตำบลนาแวได้มีสวัสดิการโดยถ้วนหน้า จึงได้ดำเนินการสนับสนุนงบประมาณให้กองทุนสวัสดิการชุมชน และผลักดันให้เป็นนโยบายสาธารณะ โดยมีคณะกรรมการที่มาจากแกนนำชุมชน ท้องที่ ท้องถิ่น และหน่วยงานภาคราชการที่เกี่ยวข้อง
โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนตำบลนาแว ได้รับการบรรจุในแผนพัฒนาท้องถิ่น 4 ปี (ปี 2561 – 2564) ได้แก่ (1) สมทบกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลนาแว จำนวน 30,000 บาท เพื่อให้สมาชิกมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น (2) โครงการฝึกอบรมอาชีพให้กับประชาชนในตำบลนาแว จำนวน 80,000 บาท เพื่อส่งเสริมความรู้ ทักษะด้านอาชีพให้กับประชาชน (3) โครงการฝึกอบรมให้ความรู้ด้านอาชีพการเกษตรและการแปรรูปการเกษตร จำนวน 10,000 บาท เพื่อให้ความรู้ทักษะในการทำการเกษตรที่ยั่งยืน
นโยบายกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลนาแว
- ช่วยเหลือสมาชิกในกรณี ป่วย นอนโรงพยาบาล คนพิการ ผู้สูงอายุ ทุนการศึกษา เสียชีวิต คลอดบุตร ผู้ด้อยโอกาส
- แสดงความห่วงใยในกลุ่มสมาชิกด้วยกัน
- ให้เกิดสวัสดิการสมาชิกกลุ่มองค์กรในตำบลนาแว
- พัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลนาแว และได้เรียนรู้ผลดีของการรวมกลุ่มองค์กรในตำบล
- พัฒนาระบบสวัสดิการตำบลนาแว และได้เรียนรู้ผลของการรวมกลุ่มองค์กรในตำบล
- แสดงถึงความเข้มแข็งกลุ่มองค์กรในตำบลนาแว
- เป็นหลักประกันของคณะกรรมการ/สมาชิกต่อไป
การติดตามประเมินผลและการทบทวนนโยบาย
สภาองค์กรชุมชน มีการติดตามประเมินผลโดยการจัดเวทีประชาคมหมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนเสนอปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหา เมื่อทราบปัญหาที่เกิดขึ้น ได้มีการรวบรวมปัญหาเสนอต่อสภาองค์กรชุมชนตำบลนาแว นำปัญหาที่ได้จากการรวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขข้อระเบียบกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลนาแว เพื่อประโยชน์และสิทธิของสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลนาแว หลังจากนั้นเก็บรวบรวมข้อเสนอ เสนอต่อองค์การบริหารส่วนตำบล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาและพัฒนาต่อไป
โดยที่ กุญแจความสำเร็จของการทำงาน คือ: มีแกนนำที่มีจิตสาธารณะ มีผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น ที่มีความรู้ประสบการณ์ มีเป้าหมายของการพัฒนาที่เกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนโดยใช้สภาองค์กรชุมชุมตำบลนาแวเป็นเครื่องมือในการพัฒนาพื้นที่ตำบล
ข้อที่พึงสังเกต หรือพึงระวังในทำงานคือ การยอมรับให้เกียตริกันเคารพในบทบาทหน้าที่สร้างความไว้ใจเชื่อใจกัน มีความมุ่งมั่น กลุ่มนักการเมืองที่หวังผลประโยชน์ การไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบของกองทุน อยากจะบอกอะไรให้พื้นที่อื่นทราบปัญหาและความต้องการของชุมชน จะถูกคลี่คลายได้ด้วยความร่วมมือของคนในชุมชนเอง ซึ่งบทเรียนที่ได้รับ และสิ่งที่ได้เรียนรู้ สังคมที่แอบแฝงด้วยผลประโยชน์ทำให้เกิดความโลภ นำไปสู่การบริหารงานสาธารณะไม่ประสบความสำเร็จ
นายเจริญ อวยศิลป์ ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลนาแว
โทร.087-8895055