ตําบลสวนแตง อําเภอละแม จังหวัดชุมพร ในปัจจุบันนั้น เดิมอดีตนั้นเป็นเพียงหมู่บ้านอยู่ในเขตปกครองของหมู่ที่ 7 บ้านดวด และหมู่ที่ 9 บ้านยางโพรง ตําบลละแม อําเภอหลังสวน จังหวัดชุมพรซึ่งมีชื่อเนื่องมาจากมีการคมนาคมที่สะดวกที่สุดสมัยนั้นคือ ทางรถไฟ (สถานีรถไฟบ้านดวด)ปี 2513 ซึ่งขณะนั้นมี นายอิน พลาชุน เป็นกํานันตําบลละแม มีนายคง สอนสกุล เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7 และนายนา แก้วอ่อน เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 9 ต่อมาในปี 2514 ทางตําบลละแมได้ยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอําเภอละแม จึงต้องตั้งตําบลขึ้นมา 3 ตําบล คือตําบลละแม ตําบลทุ่งหลวง และตําบลสวนแตง โดยมีนายนา แก้วอ่อน เป็นกํานันคนแรกของตําบลสวนแตงหลังจากนั้นตําบลสวนแตงก็มีหมู่บ้านเกิดขึ้นอีก 8 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 ,7, 8 และ 10 แยกจากหมู่ที่ 9 เดิมส่วนหมู่ที่ 2, 3, 4, 5, 6 แยกจากหมู่ที่ 7 สาเหตุที่ได้ชื่อว่าตําบลสวนแตง ประชากรส่วนใหญ่อพยพมาจากจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุงสงขลา การประกอบอาชีพในสมัยนั้นคือ ทําไร่เลื่อนลอย และปลูกพืชลล้มลุก และแตงโม ซึ่งมีขนาดใหญ่ (ผลละ 15 – 20 ก.ก.) รสชาติ หวาน กรอบ มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป และได้ตั้งชื่อเป็นตําบลสวนแตงตั้งแต่นั้นมา ต่อมาก็ปรับเปลี่ยนปลูกพืชยืนต้น ได้แก่ มะพร้าว ยางพารา ปาล์มน้ํามัน และปลูกกันมาจนถึงปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลสวนแตง ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอละแม จังหวัดชุมพร ซึ่งเป็นตำบลใต้สุดของจังหวัดชุมพรคือมีเนื้อที่ติดต่อกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่เลขที่134 หมู่ที่ 1 ตำบลสวนแตง อำเภอละแม จังหวัดชุมพร โดยอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอละแม ไปทางทิศใต้ ประมาณ 6 กิโลเมตรมีเนื้อที่โดยประมาณ 48.23 ตารางกิโลเมตร หรือ 30,148 ไร่ครัวเรือน ทั้งสิ้น 4,366 คน แยกเป็นชาย 2,136 คน หญิง 2,230 คนและจำนวนครัวเรือนของตำบลสวนแตงครัวเรือน มีจำนวน 1,228 ครัวเรือน
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ประมาณ 90% เช่น สวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน สวนผลไม้ ทำนาและทำประมง ส่วนอีกประมาณ 10 % ประกอบกิจการธุรกิจ ครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 20,000 บาทต่อปี
สภาพปัญหาสำคัญในพื้นที่
สภาองค์กรชุมชนตำบลสวนแตงได้มีการจัดประชุมระดมความคิดเห็น รวบรวมข้อมูลสถานการณ์ปัญหาในพื้นที่ตำบล โดยจากการรวบรวมข้อมูลพบประเด็นที่สำคัญ คือ
ด้านอุตสาหกรรมชุมชน – ธุรกิจชุมชน จากการสํารวจข้อมูลในหมู่บ้านทางหมู่บ้านพบแต่การลงทุนของนายทุน ในคนอุตสาหกรรมและธุรกิจลานเทปาล์ม ปาล์มน้ำมัน รานค้า แต่ไม่มีองค์กรชุมชนเลยทําให้เกิดปัญหาไม่กระจายรายได้สู่ชุมชน ได้เฉพาะบุคคล
ด้านโรงเรือนและสิ่งก่อสร้าง ตําบลขาดโรงเรือนหลายอย่างในการเกษตรฯ แหล่งความรู้ ศูนย์ประสานงานระดับตําบล แหล่งความรู้ชุมชนฉางเก็บสินค้าทางการเกษตร ประปาหมู่บ้าน โรงงานบรรจุน้ำขวด โรงน้ำปลา ที่พักรถขาขึ้น ขาลง เพราะตําบลสวนแตงเหมาะที่จะเป็นที่พักรถครึ่งทางของขาขึ้นและขาลง
ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ตําบลสวนแตงมีถนนหลักสองสายและสายล่างมีถนนสายเขามดทท่าชนะ และสายหลังสวนสุราษฎร์ ถนนสายเขามดท่าชนะมีศูนย์บริการประชาชน แต่สายหลังสวน –สุราษฎร์ไม่มีศูนย์บริการประชาชน ตลอดถึงถนนสายหลักในหมู่บ้านไม่มีที่พักสายตรวจ
ปัญหาด้านสาธารณสุข 1. ปัญหาไข้เลือดออกระบาดเป็นประจําในตําบลสวนแตง 2. ปัญหาโรคติดต่อ3. ปัญหาคนชราพิการขาดคนดูแล
ปัญหาสิ่งแวดล้อม – และธรรมชาติ 1. แหล่งท่องเที่ยวชายทะเลหาดทะเลงาม มักจะมีเศษภาชนะและขยะรอยมาติดที่ริมฝั่งโดยเฉพาะขวดจะลอยขนมาติดที่ริมฝั่งเป็นอันตรายต่อนักท่องเที่ยว 2. ประการังถูกทําลาย และพวกหอยที่อยู่ในปะการังจะถูกเก็บและมาทําขายตลอดปะการังที่สวย ๆ จะมีคนดําน้ำเอามาประดับตามบ้าน 3. ขยะมูลฝอยไม่มีที่ทิ้ง ตําบลสวนแตงมีชุมชนหลายแห่ง หลายหมู่บ้าน แต่ไม่มีที่ทิ้งขยะขจัดโดยการเผา บ้างไปทิ้งที่ริมถนนทําให้มีมลภาวะ 4. มีถนนในหมู่บ้าน ไม่สะอาดมีตอนไม่รก และขยะตามถนนทิ้งกันเกลื่อน 5. บ่อน้ำร้อนถ้ำเขาพลู ขาดการบริหารจัดการที่เป็นรูปธรรมทั้งๆ ที่เป็นจุดขายและหน้าตาของอําเภอละแม และสามารถที่จะนําเงินเข้ามาในหมู่บ้านอําเภอ
ภาพตำบลที่คนสวนแตงอยากเห็นในอนาคต สวนแตงน่าอยู่ ควบคู่คุณธรรม มีอยู่ด้วยกัน 4 อย่างคือ การพัฒนาที่อยู่อาศัย การส่งเสริมจัดการสวัสดิการ การส่งเสริมอาชีพ การส่งเสริมอาชีพ การแก้ไขปัญหาที่ดิ
จากสภาพปัญหาสำคัญในพื้นที่ตำบลสวนแตงคือปัญหาบ้านที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะของคนยากจนที่ไม่มีความมั่นคง ปลอดภัยเพียงพอสำหรับการดำรงชีวิต ซึ่งปัญหานี้กระจายอยู่ในทุกหมู่บ้านของตำบล ทางคณะทำงานสภาองค์กรชุมชนจึงได้ร่วมประชุมหารือกันและจัดทำแผนงานโครงการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยของตำบลสวนแตงขึ้นมา โดยมีแนวทางแผนการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยดังนี้
- จัดให้มีคณะทำงานรับผิดชอบเรื่องแกไขปัญหาที่ดินที่อยู่อาศัย
- การรวมกลุ่ม (การประชุมชี้แจง ทำความเข้าใจ)
- การทำกองทุน/การออมทรัพย์ เพื่อที่ดินทำกิน/ที่อยู่อาศัย
- สำรวจข้อมูลผู้มีปัญหาที่ดินทำกิน/ที่อยู่อาศัย
- วางหลักเกณฑ์ผู้เข้าร่วมโครงการ แล้ไขปัญหาที่ดิน1ทำกิน/ที่อยู่อาศัย
- สำรวจข้อมูลที่ดิน การจัดทำแผนที่ แผนผังการใช้ที่ดินว่างเปล่าภายในหมู่บ้าน/ตำบลใกล้เคียงเพื่อนำมาจัดที่ทำกินได้
- ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหา อย่างเป็นทางการ
- การปรับวิถีการผลิต ใช้พื้นที่ทำกินเดิมให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า
- เชื่อมโยงกับเครือข่ายการแกไขปัญหาที่ดิน ที่ทำกินในพื้นที่อื่น คือเครือข่ายที่ดินจังหวัด เครือข่ายที่ดินอำเภอ
ทั้งนี้กำหนดหลักเกณฑ์เบื้องต้น คือบ้านที่จะเข้าโครงการเป้าหมาย 5 ปีจำนวน 162 หลัง ประมาณการรายได้ต่อปี คนละไม่เกิน 30,000 บาท ต่อปี/คน และส่วนใหญ่รับจ้างและทำสวนจำนวนพื้นที่เล็กน้อย โดยมีแผนแผน 3-5 ปี คือ ปี 2561 จำนวน 20 หลัง ปี 2562 จำนวน 30 หลัง ปี 2563 จำนวน 36 หลังและฟรี 1 หลังและปี 2564 จำนวน 36 หลังและฟรี 1 หลัง รวมทั้งมีข้อตกลงการคืนทุนตำบลสวนแตง คือหมุนเวียนส่งคืนใน 5 ปี ส่งทุกเดือนมีนาคม โดยมีกองทุนสวัสดิการฯสนับสนุนเป็นทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพและทำการเกษตร ปรับปรุงแปลงเกษตร ตามระเบียบของกองทุนสวัสดิการฯ รายละไม่เกิน 20,000 บาท
ภายใต้แผนการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยนี้กำหนดเป้าหมายการซ่อมแซมและสร้างบ้านไว้คือ ในปี 2561 จำนวน 20 หลัง ปี โดยมีขั้นการดำเนินงานดังนี้
- ประชุมเพื่อทำความเข้าใจระดับตำบล
- ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลผู้เดือดร้อนตามแบบฟอร์มสำรวจที่อยู่อาศัย
- รวบรวมข้อมูลผู้เดือดร้อน ประชุมคณะกรรมการตำบล เพื่อคัดเลือกและจัดลำดับความสำคัญ
- แต่งตั้งคณะกรรมการ 4 ฝ่าย ได้แก่ คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินวัสดุ, คณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง, คณะกรรมการตรวจรับงาน,คณะกรรมการติดตามและประเมินผล
- คณะกรรมการตำบลลงพื้นที่สำรวจข้อเท็จจริง พร้อมถ่ายรูปบ้าน จับพิกัด GPS จุดที่จะซ่อม ประเมินวัสดุที่ใช้
- รวบรวมข้อมูลวัสดุ-อุปกรณ์ในการก่อสร้าง
- จัดหาวัสดุ-อุปกรณ์ในการก่อสร้าง
- ติดตามผลการดำเนินงานโดยสภาองค์กรชุมชน
จากการผลการดำเนินซ่อมแซมบ้านผู้ยากไร้ในพื้นที่ สามารถดำเนินการซ่อมแซมบ้านให้มีความมั่นคง ปลอดภัยในการดำรงชีวิตของผู้ยากไร้ในตำบลได้ในระยะแรกจำนวน 20 หลัง โดยในการดำเนินงานได้มีการลงแรงช่วยเหลือกันในส่วนของแรงงาน ช่างต่างๆเนื่องจากมีงบประมาณสนับสนุนเฉพาะค่าวัสดุอุปกรณ์เท่านั้น และกำหนดการคืนทุนเป็น กองทุนหมุนเวียนเรื่องที่อยู่อาศัย โดยมีข้อกำหนดการคืนทุน ส่งคืนภายใน 5 ปี แบบไม่มีดอกเบี้ย
ทั้งนี้ทางสภาองค์กรชุมชนตำบลสวนแตงได้จัดให้มีพิธีมอบบ้านพอเพียงชนบทให้แก่ผู้ยากไร้ที่ซ่อมแซมบ้านเสร็จแล้วขึ้น เมื่อวันที่ โดยมีปลัดอาวุโสอำเภอสวนแตง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชนและประชาชนเข้าร่วมกว่า 100 คน ทั้งนี้ ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลสวนแตงได้เน้นย้ำว่าการดำเนินงานบ้านพอเพียงนี้เน้นการสร้างความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัยให้คนยากจนในตำบลเป็นหลัก โดยการสนับสนุนงบประมาณจาก สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนในระยะแรกและจะมีการคืนทุนกลับมาเป็นกองทุนที่อยู่อาศัยตำบลที่จะช่วยเหลือผู้เดือดร้อนรายต่อไปอีก
การดำเนินงานของสภาองค์กรชุมชนในการพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยเพื่อให้คนผู้ยากไร้ในตำบลได้มีที่อยู่ที่มั่นคง แข็งแรงปลอดภัย นั้น ได้รับความร่วมมือที่ดีจากองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำชุมชนทุกหมู่บ้านเป็นอย่างดีในการร่วมมือกันลงแรงซ่อมแซมบ้านกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้ง พอช. ที่สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน ในขณะเดียวกันคณะทำงานสภาองค์กรชุมชนได้จัดทำข้อเสนอการพัฒนาตำบลเสนอต่อองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อให้บรรจุในแผน 4 ปี (ปี 2561 – 2564)
ซึ่งส่งผลให้ทางองค์การบริหารส่วนตำบล นำเข้าบรรจุในแผนที่สำคัญได้แก่ (1) การสนับสนุนเวทีประชาคมเพื่อพัฒนาแผนตำบลจำนวน 5,000 บาท เพื่อสนับสนุนการระดมความคิดเห็นต่อแผนพัฒนาตำบล (2) สนับสนุนการพัฒนากองทุนสวัสดิการ จำนวน 50,000 บาทเพื่อส่งเสริมความเข้าใจการขัดสวัสดิการชุมชน
สิ่งที่ค้นพบจากการดำเนินงาน 1)ประชาชนในตำบล หน่วยงาน ภาครัฐมีความเข้าใจเชื่อมั่นต่อสภาองค์กรชุมชนมากขึ้น 2) มีความร่วมมือกันในดีในชุมชนทั้งภาคส่วนชุมชนโดยสภาองค์กรชุมชน ท้องถิ่น ท้องที่และสมาชิก โดยเฉพาะการลงแรงช่วยเหลือซ่อมแซมบ้านผู้เดือดร้อน
อุปสรรคในการดำเนินงาน 1) งบประมาณมีจำกัดทำให้ไม่เพียงพอกับความต้องการของประชาชนผู้เดือดร้อน 2)พื้นที่ตำบลกว้างทำให้ประสานงานได้ยาก
แผนงานในระยะต่อไป 1) ขยายการช่วยเหลือซ่อมแซมบ้านผู้เดือดร้อนผ่านกองทุนที่อยู่อาศัยตำบล 2)จัดทำข้อเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาช่วยเหลือต่อเนื่อง
ติดต่อประสานงาน
นางสาวสรัญพรน์ เหมาะช่วย 72 หมู่ 1 ต.สวนแตง อ.ละแม จ.ชุมพร 86170
โทรศัพท์ 093-6379966