“บางพระ” มาจากการที่ประชาชนในพื้นที่เป็นผู้มีคุณธรรมและศีลธรรม ชาวบ้านเลยเรียกกันว่า บ้านบางพระ และชาวบ้านได้ขยายบุกเบิกที่ดินทำกินขึ้นทางเหนือน้ำ เพราะสมัยนั้นการคมนาคมใช้ทางน้ำและได้ขยายการปกครองออกมาเป็น “ตำบลบางพระเหนือ” อาณาเขตติดต่อทิศเหนือติดต่อกับ ตำบลบางพระใต้ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง ทิศใต้ติดต่อกับตำบลหาดส้มแป้น อำเภอเมือง จังหวัดระนอง ทิศตะวันออกติดต่อกับตำบลละอุ่นเหนือ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลบางนอน ตำบลทรายแดง อำเภอเมือง จังหวัดระนอง มีเนื้อที่ประมาณ 88.271 ไร่ หรือประมาณ 183.92 ตารางกิโลเมตร 1,397 ครัวเรือน
ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่มีสภาพเป็นป่าเขา มีพื้นที่ราบลุ่มบางส่วน มีลำคลองระวิไหลผ่านตำบล บางพระเหนือ ลงสู่คลองละอุ่น เขตตำบลบางพระเหนือส่วนใหญ่มีอาชีพหลัก 2 ประการ คือ 1. อาชีพการเกษตร ที่สำคัญ คืออาชีพทำสวน ยางพารา มังคุด กาแฟ อาชีพทำสวน ลองกอง ปาล์มน้ำมัน ทุเรียนอาชีพทำสวน เงาะ และ2.อาชีพรับจ้างทั่วไป
วิเคราะห์ศักยภาพชุมชน
สภาองค์กรชุมชนตำบลบางพระเหนือจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2552 ภายใต้ พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551 โดยมีนายหัสชัย แต่งอักษร เป็นประธาน มีกลุ่มร่วมจดแจ้งจำนวน 30 กลุ่ม มีสมาชิกสภาฯ 25 คน ซึ่งหลังจากได้จัดตั้งแล้วสภาองค์กรชุมชนได้จัดประชุมเพื่อวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่และจัดทำเป็นแผนพัฒนาตำบล โดยจากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า
จากสภาพปัญหาข้างต้นทางสภาองค์กรชุมชนตำบลได้จัดเวทีในการวิเคราะห์และพัฒนาเป็นแผนพัฒนาตำบลจัดการตนเอง โดยมีตัวแทนผู้นำชุมชน ท้องถิ่น ท้องที่และ พอช. เข้าร่วมแลกเปลี่ยนด้วย ทั้งนี้ นายอำนาจชัย สุวรรณราช เจ้าหน้าที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนได้เข้าร่วมให้ข้อคิดเห็นแนวทางการพัฒนาแผนตำบลแบบมีส่วนร่วม ซึ่งสาระสำคัญของการพัฒนาแผนตำบลคือ 1) แผนตำบลต้องเกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมของภาคส่วนในตำบลไม่ว่าจะเป็นองค์กรชุมชน ส่วนท้องถิ่น ส่วนท้องที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีสภาองค์กรชุมชนเป็นกลไกสำคัญในการเชื่อมโยงประสานงาน 2) แผนตำบลควรจะมีข้อมูลดังนี้ ข้อมูลทั่วไป (ข้อมูล ประวัติ ที่ตั้ง ฯลฯ) ข้อมูลทุนชุมชน (ภาพผังตำบล/ข้อมูล กลุ่มองค์กรชุมชน/ทรัพยากรธรรมชาติ/ภูมิปัญญาท้องถิ่น ฯลฯ ข้อมูลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (จุดแข็ง จุดอ่อน…) วิสัยทัศน์ แผนพัฒนาตำบล 3 ด้าน (ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม วัฒนธรรม ด้านทรัพยากร) และคณะทำงานขับเคลื่อนแผนตำบล 3) ขั้นตอนการวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่แผนตำบลที่สำคัญคือ ขั้นแรก การวิเคราะห์ศักยภาพของตนเอง (ชุมชน) เป็นการวิเคราะห์ฐานทุนของชุมชนว่ามีอะไรบ้าง อย่างไร สถานะภาพเป้นอย่างไร ซึ่งมีฐานทุนด้านทรัพยากรธรรมชาติ ฐานการเงินชุมชน ฐานด้านบุคคล และฐานด้านองค์ความรูภูมิปัญญาต่างๆ ทั้งนี้การวิเคราะห์ตนเองเพื่อให้เกิดความตระหนักว่าว่า เรา(ชุมชน)เป็นใคร ขั้นทีสอง การวิเคราะห์เพื่อกำหนดทิศทางของชุมชน เป็นการนำเอาผลจากการวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชนที่มีอยู่นำไปสู่การกำหนดเป้าหมายสำคัญของชุมชนเองว่าจะเดินไปสู่เป้าหมายคืออะไร นั่นคือการร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ของชุมชนในระยะ 3-5 ปีข้างหน้า และขั้นตอนสาม การวิเคราะห์แผนการดำเนินงานเพื่อไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ เป็นการระดมแผนแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยเป็นการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สำคัญของชุมชน เพื่อตอบโจทย์คำถามว่า แล้วชุมชนจะเดินไปสู่เป้าหมายได้อย่างไร ทั้งนี้ในแต่ละขั้นจะมีความแตกต่างกันตามสภาพพื้นที่และสถานการณ์แวดล้อมที่เกิดขึ้น และ 4) การนำแผนตำบลไปใช้ประโยชน์ เมื่อได้จัดทำแผนพัฒนาตำบลแล้วสามารถนำไปใช้ได้คือ การบูรณาการกับแผนส่วนท้องถิ่น การประมวลเป็นข้อเสนอในแผนพัฒนาจังหวัด ทั้งนี้ทางประธานสภาองค์กรชุมชนกล่าวเน้นย้ำว่าหลังจากนี้ทางคณะทำงานจะประมวลข้อมูลเป็นแผนพัฒนาตำบลและนำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ในขณะเดียวการประธานสภาองค์กรชุมชนได้นัดให้คณะทำงานนำข้อมูลที่ได้จากเวทีเพื่อประมวลยกร่างเป็นแผนพัฒนาตำบลต่อไป
แผนพัฒนาตำบล
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น ทางคณะทำงานสภาองค์กรชุมชนบางพระเหนือร่วมกันตัวแทนส่วนท้องถิ่น ท้องที่ร่วมกันวิเคราะห์กำหนดเป้าหมายและแผนการพัฒนาตำบลในระยะ 3 ปีดังนี้
ภาพตำบลที่อยากเห็นในอนาคต “บางพระเหนือเมืองน่าอยู่ บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง”
แนวทางการพัฒนาตำบล 1.ประชุมสภาองค์กรชุมชนจัดทำแผนพัฒนา 2.เวทีร่วมกับชุมชน ท้องที่กำนันผู้ใหญ่บ้านและอบต. 3.จัดทำแผนงานโครงการเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4. พัฒนาแกนนำ ผู้นำชุมชน
การแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย
จากสภาพปัญหาสำคัญในพื้นที่ตำบลบางพระเหนือคือปัญหาบ้านที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะของคนยากจนที่ไม่มีความมั่นคง ปลอดภัยเพียงพอสำหรับการดำรงชีวิต ซึ่งปัญหานี้ ทางคณะทำงานสภาองค์กรชุมชนจึงได้ร่วมประชุมหารือกันและจัดทำแผนงานโครงการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยขึ้นมา โดยมีแนวทางแผนการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย คือการสำรวจข้อมูลผู้มีปัญหาที่ดินทำกิน/ที่อยู่อาศัย สำรวจข้อมูลที่ดิน การจัดทำแผนที่ แผนผังการใช้ที่ดินว่างเปล่าภายในหมู่บ้าน/ตำบลใกล้เคียงเพื่อนำมาจัดที่ทำกินได้ และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหา อย่างเป็นทางการ
ภายใต้แผนการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยนี้กำหนดเป้าหมายการซ่อมแซมและสร้างบ้านไว้คือ ในปี 2561 จำนวน 20 หลัง ปี 2562 จำนวน 10 หลัง และปี 2563 จำนวน 10 หลัง โดยที่มีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้
- ประชุมเพื่อทำความเข้าใจระดับตำบล
- ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลผู้เดือดร้อนตามแบบฟอร์มสำรวจที่อยู่อาศัย
- รวบรวมข้อมูลผู้เดือดร้อน ประชุมคณะกรรมการตำบล เพื่อคัดเลือกและจัดลำดับความสำคัญ
- แต่งตั้งคณะกรรมการ 4 ฝ่าย ได้แก่ คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินวัสดุ, คณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง, คณะกรรมการตรวจรับงาน,คณะกรรมการติดตามและประเมินผล
- คณะกรรมการตำบลลงพื้นที่สำรวจข้อเท็จจริง พร้อมถ่ายรูปบ้าน จับพิกัด GPS จุดที่จะซ่อม ประเมินวัสดุที่ใช้
- รวบรวมข้อมูลวัสดุ-อุปกรณ์ในการก่อสร้าง
- จัดหาวัสดุ-อุปกรณ์ในการก่อสร้าง
- ติดตามผลการดำเนินงานโดยสภาองค์กรชุมชน
จากผลการดำเนินซ่อมแซมบ้านผู้ยากไร้ในพื้นที่ สามารถดำเนินการซ่อมแซมบ้านให้มีความมั่นคง ปลอดภัยในการดำรงชีวิตของผู้ยากไร้ในตำบลได้ในระยะแรกจำนวน 20 หลัง โดยในการดำเนินงานได้มีการลงแรงช่วยเหลือกันในส่วนของแรงงาน ช่างต่างๆเนื่องจากมีงบประมาณสนับสนุนเฉพาะค่าวัสดุอุปกรณ์เท่านั้น โดยในระยะแรกมีผู้ยากไร้ได้รับการช่วยเหลือดังนี้ หมู่ที่ 1 จำนวน 6 หลัง หมู่ที่ 2 จำนวน 4 หลัง หมู่ที่ 3 จำนวน 4 หลัง และหมู่ที่ 4 จำนวน 6 หลัง และข้อตกลงการคืนทุน เป็นเงินทุนหมุนเวียน ไม่มีดอกเบี้ย เริ่มคืนหลังจากเสร็จสิ้นโครงการ 3 เดือน และต้องคืนทุนภายใน 3 ปี
ทั้งนี้ทางสภาองค์กรชุมชนตำบลบางพระเหนือได้จัดให้มีพิธีมอบบ้านพอเพียงชนบทให้แก่ผู้ยากไร้ที่ซ่อมแซมบ้านเสร็จแล้วขึ้น เมื่อวันที่ โดยมีนายเฉลิม เพชรรัตน์ นายอำเภอละอุ่นใต้มาเป็นประธานพิธี มีผู้ช่วยผู้อำนวยการภาคใต้ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชนและประชาชนเข้าร่วมกว่า 50 คน ซึ่งการดำเนินงานบ้านพอเพียงนี้เน้นการสร้างความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัยให้คนยากจนในตำบลเป็นหลัก โดยการสนับสนุนงบประมาณจาก สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนในระยะแรกและจะมีการคืนทุนกลับมาเป็นกองทุนที่อยู่อาศัยตำบลที่จะช่วยเหลือผู้เดือดร้อนรายต่อไปอีก
การประสานความร่วมมือ
การดำเนินงานของสภาองค์กรชุมชนในการพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยเพื่อให้คนผู้ยากไร้ในตำบลได้มีที่อยู่ที่มั่นคง แข็งแรงปลอดภัย นั้น ได้รับความร่วมมือที่ดีจากองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำชุมชนในการร่วมมือกันลงแรงซ่อมแซมบ้านกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้ง พอช. ที่สนับสนุงบประมาณในการดำเนินงาน ในขณะเดียวกันคณะทำงานสภาองค์กรชุมชนได้จัดทำข้อเสนอการพัฒนาตำบลเสนอต่อองค์การบริหารส่วนตำบลบางพระเหนือ เพื่อให้บรรจุในแผน 4 ปี (ปี 2561 – 2564) ซึ่งส่งผลให้ทางองค์การบริหารส่วนตำบลบางพระเหนือ นำเข้าบรรจุในแผน 4 ปี ที่สำคัญได้แก่ (1) ส่งเสริมกองทุนสวัสดิการชุมชนจำนวน 50,000 บาท เพื่อสร้างความเข้าใจ และการจัดสวัสดิการให้แก่ครอบครัว (2) โครงการสร้างซ่อมที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยจำนวน 100,000 บาท เพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัยให้แก่ครอบครัวผู้มีรายได้น้อย
สิ่งที่ค้นพบจากการดำเนินงาน 1) มีความร่วมมือกันในดีในชุมชนทั้งภาคส่วนชุมชนโดยสภาองค์กรชุมชน ท้องถิ่น ท้องที่และสมาชิก 3) การจัดทำแผนพัฒนาตำบลทำให้สมาชิกเห็นเป้าหมายและแนวทางเดินร่วมกัน 3)เกิดความเชื่อมั่นในสภาองค์กรชุมชนจากประชาชนในตำบล หน่วยงาน ภาครัฐมากขึ้น
อุปสรรคในการดำเนินงาน 1) สมาชิกส่วนหนึ่งยังเข้าใจสภาองค์กรชุมชน 2)งบประมาณมีจำกัดทำให้ไม่เพียงพอกับความต้องการของประชาชนผู้เดือดร้อน
แผนงานในระยะต่อไป 1) ขยายการช่วยเหลือซ่อมแซมบ้านผู้เดือดร้อนผ่านกองทุนที่อยู่อาศัยตำบล 2)ทำความเข้าใจกับประชาชนในตำบลให้เข้าใจการดำเนินงานของสภาองค์กรชุมชน
ติดต่อประสานงาน
นายบุญสิทธิ์ ทรงไชย ต.บางพระเหนือ อ.เมือง จ.ระนอง
โทรศัพท์ 089-475-7380