บ้านทะเลทรัพย์เดิมชื่อว่าบ้านทะเลสาบบ้านตั้งมาเมื่อไรไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่พอสันนิษฐานได้จากอายุของต้นพืชที่ราษฏรได้ปลูก และสอบถามจากผู้เฒ่าผู้แก่ที่รู้เรื่องนี้ก็พอประมาณได้ว่า มีราษฏรเข้ามาอยู่อาศัยประมาณปีพ.ศ.2455 เนื่องจากหมู่บ้านนี้มีหนองน้ำใหญ่อยู่ 1 แห่ง ริมหนองน้ำมีภูเขาตั้งตระหง่านอยู่ทางด้านตะวันตกของขอบหนอง บัดนี้หนองน้ำนี้ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 7 ตำบลทะเลทรัพย์ อำเภอปะทิวจังหวัดชุมพร เดิมหนองน้ำนี้มีเนื้อที่กว้างขวางมากแต่ได้ถูกราษฏรบุกรุกเข้าไปทำมาหากินจนเดี๋ยวนี้เนื้อที่ของหนองมีเหลืออยู่เพียง 130 ไร่ (ตามหลักฐานของกรมประมงสำรวจเมื่อปี พ.ศ.2521) เพราะมีหนองน้ำกว้างใหญ่นี้เอง ชาวบ้านจึงเรียกหนองน้ำนี้ว่า ทะเลสาบ รอบๆ หนองน้ำมีดินดีชาวบ้านจึงจับจองที่ดินบริเวณนั้นปลูกพืชพันธุ์ และอาศัยปลายหนองน้ำนี้เป็นอาหาร เมื่อราษฏรเข้าไปอยู่อาศัยมากขึ้น จึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า หมู่บ้านทะเลสาบ
ต่อมาในปี พ.ศ.2480 ขุนศิริ เลขา นายอำเภอปะทิว ได้ไปพบเห็นหนองน้ำเข้า ท่านพอใจมากคิดจะปรับปรุงให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวของอำเภอปะทิว จึงจัดการพัฒนาหนองน้ำนี้ขึ้น โดยชักชวนราษฏรให้ถางป่ารอบๆ ขอบหนองและรื้อไม้ที่หักโค่นอยู่ในหนองออกจนหมด พื้นน้ำเมื่อถูกลมพัดเป็นระลอกคลื่นไล่ตามกันเป็นแถวดูสวยงามมาก ขุนศิริ เลขา มักจะหาเวลาว่างไปเที่ยวที่หนองน้ำนี้เป็นประจำ มีนักล่าสัตว์ติดตามท่านไปด้วยเสมอ เพราะที่หนองน้ำนี้มีสัตว์ป่านาชนิดลงไปกินน้ำในหนองน้ำนี้ เมื่อการปรับปรุงหนองน้ำนี้เสร็จเรียบร้อยเป็นที่พอใจของท่านแล้ว ขุนศิริ เลขา ได้จัดให้มีกิจกรรมฉลองหนองน้ำนี้ขึ้น ในงานมีมโนราห์ หนังตะลุง แสดง 3 วัน 3 คืน นอกจากนี้ยังจัดให้มีการแข่งขันกีฬาประเภทขบขัน เช่น ดำน้ำทน ดำน้ำเทน้ำในขวด หัวล้านชนกัน ฯลฯ อย่างไรก็ดีขุนศิริ เลขา ท่านไม่พอใจในชื่อของบ้านนี้ เพราะคำว่า ทะเลสาบ ภาษาท้องถิ่นฟังแล้วไม่เป็นมงคลนามนักคล้ายกับว่าเป็นบ้านที่ถูกสาปแช่งไว้ จะหาความเจริญไม่ได้ ควรจะเปลี่ยนเสียใหม่เพื่อให้ชื่อนั้นเป็นมงคลนาม ท่านจึงให้ชื่อบ้านนี้ใหม่ว่า บ้านทะเลทรัพย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2480 เป็นต้นมา
ก่อนพ.ศ.2482 ตำบลทะเลทรัพย์เป็นหมู่บ้านที่ 2 ของตำบลคุริง กิ่งอำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร ขึ้นตรงกับอำเภอปะทิว เขตติดต่อกับอำเภอปะทิวอยู่ที่ภูเขาช่องกรวด ในปี พ.ศ.2478 โรงเรียนบ้านทะเลทรัพย์ ติดอยู่ในเขตหมู่ที่ 2 ตำบลคุริง กิ่งอำเภอท่าแซะ โดยใช้ชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนประชาบาลตำบลคุริง 2 (บ้านทะเลสาป) ต่อมาในปี พ.ศ.2480 ทางราชการได้บกฐานะกิ่งอำเภอท่าแซะขึ้นเป็นอำเภอท่าแซะ แยกออกจากอำเภอปะทิวโดยเด็ดขาด จึงต้องกรรมการแบ่งบันเขตแดนกันใหม่เพื่อให้ถูกต้องและยุติธรรม เนื้อที่ของอำเภอปะทิวขยายออกไปถึงคลองทองหลาง หมู่บ้านทะเลทรัพย์ตั้งเป็นหมู่บ้านขึ้นอีกหมู่บ้านหนึ่ง เป็นหมู่บ้านที่ 9 ตำบลบางสน อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ในปีนั้นโรงเรียนบ้านทะเลทรัพย์ต้องเปลี่ยนชื่อโรงเรียนใหม่ เพราะเมื่อแบ่งปันเขตแดนกันใหม่แล้ว โรงเรียนบ้านทะเลทรัพย์ติดเขตอำเภอปะทิว ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 9 ตำบลบางสน จึงต้องเปลี่ยนชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนประชาบาลตำบลบางสน 5 (บ้านทะเลสาป) ต่อมาในปี พ.ศ.2500 ทางราชการเห็นว่า เนื้อที่ของตำบลบางสน ทางทิศตะวันตกได้ขยายออกไปมาก เนื่องจากได้แบ่งปันเขตกันใหม่นั้นเอง ประกอบกับราษฏรได้อพยพเข้ามาอาศัยทำมาหากินหาหนาแน่น ยากแก่หารปกครอง จึงพิจารณายกฐานะหมู่ที่ 7 บางส่วน และหมู่บ้านที่ 8, 9 ตำบลบางสน ขึ้นเป็นตำบลอีกตำบลหนึ่ง ให้ชื่อว่า ตำบลทะเลทรัพย์ แบ่งเป็นหมู่บ้านได้ 5 หมู่บ้าน อาณาเขตทางทิศตะวันออกติดต่อกับทางรถไฟ ทางทิศตะวันตกติดต่อกับคลองทองหลาง ทางทิศเหนือติดต่อกับหมู่บ้านที่ 3 ตำบลชุมโค ทางทิศใต้ติดต่อกับหมู่บ้านที่ 6 ตำบลบางสน กำนันตำบลทะเลทรัพย์คนแรกคือนายสด ปานอุดม
ตำบลทะเลทรัพย์ มีพื้นที่ 78.71 ตารางกิโลเมตรหรือ 49,193 ไร่ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอปะทิว ประมาณ 12 กิโลเมตรห่างจากจังหวัดชุมพร 36 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานคร 476 กิโลเมตรแบ่งเขตการปกครองเป็น 8 ชุมชน ดังนี้ 1.ชุมชนท่าตาเสือ (หมู่ที่ 1) 2.ชุมชนเกาะชะอม (หมู่ที่ 2) 3.ชุมชนห้วยหลุด (หมู่ที่ 3) 4.ชุมชนทะเลทรัพย์ (หมู่ที่ 4) 5.ชุมชนปากบ่อ (หมู่ที่ 5) 6.ชุมชนบ่อนก (หมู่ที่ 6) 7.ชุมชนเจริญทรัพย์ (หมู่ที่ 7) 8.ชุมชนวังทอง (หมู่ที่ 8)
วิเคราะห์ศักยภาพชุมชน
สภาองค์กรชุมชนตำบลทะเลทรัพย์จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2558 ภายใต้ พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551 โดยมีนายอนันต์ นาคสังข์ เป็นประธาน มีกลุ่มร่วมจดแจ้งจำนวน 24 กลุ่ม มีสมาชิกสภาฯ 30 คน ซึ่งหลังจากได้จัดตั้งแล้วสภาองค์กรชุมชนได้จัดประชุมเพื่อวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่และจัดทำเป็นแผนพัฒนาตำบล โดยจากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า
จุดแข็งที่สําคัญของตําบลทะเลทรัพย์ คือ ทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย ไม้ผลมีคุณภาพ คุณภาพดี ซึ่งสามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์
ได้อยู่ไม่ไกล จากที่ว่าการอําเภอปะทิวและท่าแซะ มีแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีองค์กรชุมชนที่มีความเข้มแข็งเป็นที่สนใจขององค์ กรภายนอก โดยมีจุดอ่อนที่สําคัญ คือ เกษตรกรมีการใช้สารเคมีในการเกษตรมากจนอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้ ในอนาคต เกษตรกรไม่มีการรวมกลุ่มทําให้ไม่สามารถกําหนดราคาผลผลิตได้เองตามความเหมาะสม การพัฒนาเส้นทางคมนาคมเป็นไปอย่างลําบากเนื่องจากข้อจํากัดด้านงบประมาณ และสภาพพื้นที่ แหล่งน้ำเพื่อการเกษตรยังไม่พอเพียง ประชาชนยังไม่สามารถเข้าถึงระบบสาธารณูปโภคได้ครบทุกครัวเรือน เช่น ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ และประชาชนบางส่วนไม่มีเอกสารสิทธิในที่ดินทํากิน
โอกาส คือ เป็นพื้นที่ทางผ่านเชื่อมต่อระหว่างอําเภอปะทิวและอําเภอท่าแซะ และเป็นเส้นทางสามารถพัฒนาให้เป็นเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมต่อกับแหล่งท่องเที่ยวในอําเภอปะทิวซึ่งมีอยู่มากมายกับแหล่งท่องเที่ยวในอําเภอท่าแซะ อีกทั้งตำบลทะเลทรัพย์ ยังเป็นพื้นทที่มีผลผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพมากมาย โดยเฉพาะผลไม้สด และผลไม้แปรรูปที่เป็นสินค้าหนึ่งตําบลหนงผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงในระดับภาค และยังเป็นพื้นที่ที่มีองค์ กรชุมชนหลาย ๆ องค์ กรที่มีความเข้มแข็ง เป็นที่ที่ภาครัฐและเอกชนให้ความสนใจเข้ามาศึกษาดูงาน ซึ่งเป็นโอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก และอุปสรรคที่สําคัญ คือ เรื่องระเบียบกฎหมายที่ยังไม่เอื้อต่อการพัฒนา และความรู้ ความเข้าใจความตระหนักในบทบาทอำนาจหน้าที่ของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบล
จากสภาพปัญหาข้างต้นทางสภาองค์กรชุมชนตำบลได้จัดเวทีในการวิเคราะห์และพัฒนาเป็นแผนพัฒนาตำบลจัดการตนเอง โดยมีตัวแทนผู้นำชุมชน ท้องถิ่น ท้องที่และ พอช. เข้าร่วมแลกเปลี่ยนด้วย ทั้งนี้ นายอำนาจชัย สุวรรณราช เจ้าหน้าที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนได้เข้าร่วมให้ข้อคิดเห็นแนวทางการพัฒนาแผนตำบลแบบมีส่วนร่วม ซึ่งสาระสำคัญของการพัฒนาแผนตำบลคือ 1) แผนตำบลต้องเกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมของภาคส่วนในตำบลไม่ว่าจะเป็นองค์กรชุมชน ส่วนท้องถิ่น ส่วนท้องที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีสภาองค์กรชุมชนเป็นกลไกสำคัญในการเชื่อมโยงประสานงาน 2) แผนตำบลควรจะมีข้อมูลดังนี้ ข้อมูลทั่วไป (ข้อมูล ประวัติ ที่ตั้ง ฯลฯ) ข้อมูลทุนชุมชน (ภาพผังตำบล/ข้อมูล กลุ่มองค์กรชุมชน/ทรัพยากรธรรมชาติ/ภูมิปัญญาท้องถิ่น ฯลฯ ข้อมูลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (จุดแข็ง จุดอ่อน…) วิสัยทัศน์ แผนพัฒนาตำบล 3 ด้าน (ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม วัฒนธรรม ด้านทรัพยากร) และคณะทำงานขับเคลื่อนแผนตำบล 3) ขั้นตอนการวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่แผนตำบลที่สำคัญคือ ขั้นแรก การวิเคราะห์ศักยภาพของตนเอง(ชุมชน) เป็นการวิเคราะห์ฐานทุนของชุมชนว่ามีอะไรบ้าง อย่างไร สถานะภาพเป้นอย่างไร ซึ่งมีฐานทุนด้านทรัพยากรธรรมชาติ ฐานการเงินชุมชน ฐานด้านบุคคล และฐานด้านองค์ความรูภูมิปัญญาต่างๆ ทั้งนี้การวิเคราะห์ตนเองเพื่อให้เกิดความตระหนักว่าว่า เรา(ชุมชน)เป็นใคร ขั้นทีสอง การวิเคราะห์เพื่อกำหนดทิศทางของชุมชน เป็นการนำเอาผลจากการวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชนที่มีอยู่นำไปสู่การกำหนดเป้าหมายสำคัญของชุมชนเองว่าจะเดินไปสู่เป้าหมายคืออะไร นั่นคือการร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ของชุมชนในระยะ 3-5 ปีข้างหน้า และขั้นตอนสาม การวิเคราะห์แผนการดำเนินงานเพื่อไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ เป็นการระดมแผนแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยเป็นการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สำคัญของชุมชน เพื่อตอบโจทย์คำถามว่า แล้วชุมชนจะเดินไปสู่เป้าหมายได้อย่างไร ทั้งนี้ในแต่ละขั้นจะมีความแตกต่างกันตามสภาพพื้นที่และสถานการณ์แวดล้อมที่เกิดขึ้น และ 4) การนำแผนตำบลไปใช้ประโยชน์ เมื่อได้จัดทำแผนพัฒนาตำบลแล้วสามารถนำไปใช้ได้คือ การบูรณาการกับแผนส่วนท้องถิ่น การประมวลเป็นข้อเสนอในแผนพัฒนาจังหวัด ทั้งนี้ทางประธานสภาองค์กรชุมชนกล่าวเน้นย้ำว่าหลังจากนี้ทางคณะทำงานจะประมวลข้อมูลเป็นแผนพัฒนาตำบลและนำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ในขณะเดียวการประธานสภาองค์กรชุมชนได้นัดให้คณะทำงานนำข้อมูลที่ได้จากเวทีเพื่อประมวลยกร่างเป็นแผนพัฒนาตำบลต่อไป
แผนพัฒนาตำบล
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น ทางคณะทำงานสภาองค์กรชุมชนทะเลทรัพย์ร่วมกันตัวแทนส่วนท้องถิ่น ท้องที่ร่วมกันวิเคราะห์กำหนดเป้าหมายและแผนการพัฒนาตำบลในระยะ 3 ปีดังนี้
ภาพตำบลที่อยากเห็นในอนาคต เกษตรปลอดสารพิษ ผลผลิตเกษตรมีคุณภาพ ธรรมชาติน่าอยู่
แนวทางการพัฒนาตำบล
- ประชุมสร้างความเข้าใจในประเด็นงานของตำบล
- กำหนดแนวทางที่ชัดเจน เน้นคุณภาพ
- ประสานกับส่วนท้องถิ่น
- แกนนำนั่งปรึกษาหารือเพื่อกำหนดกิจกรรมต่อไป
- เสนอแผนสนับสนุนจากหน่วยงาน
แผนงานหลักตำบลหลักๆมีอยู่ 4 ข้อ ซึ่งประกอบด้วย
1.พัฒนาแผนชุมชน/ตำบล
2.พัฒนาท่องเที่ยว
3.ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส/พัฒนาที่อยู่อาศัย
4.พัฒนาศักยภาพผู้นำ
การแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย
จากสภาพปัญหาสำคัญในพื้นที่ตำบลทะเลทรัพย์คือปัญหาบ้านที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะของคนยากจนที่ไม่มีความมั่นคง ปลอดภัยเพียงพอสำหรับการดำรงชีวิต ทางคณะทำงานสภาองค์กรชุมชนจึงได้ร่วมประชุมหารือกันและจัดทำแผนงานโครงการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยขึ้นมา โดยมีแนวทางแผนการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยดังนี้
- จัดให้มีคณะทำงานที่ดินที่อยู่อาศัย
- สำรวจข้อมูลผู้มีปัญหาที่ดินทำกิน/ที่อยู่อาศัย
- วางหลักเกณฑ์ผุ’เข้าร่วมโครงการ แล้ไขปัญหาที่ดินทำกิน/ที่อยู่อาศัย
- สำรวจข้อมูลที่ดิน การจัดทำแผนที่ แผนผังการใช้ที่ดินว่างเปล่าภายในหมู่บ้าน/ตำบลใกล้เคียงเพื่อนำมาจัดที่ทำกินได้
- ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหา อย่างเป็นทางการ
ภายใต้แผนการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยนี้กำหนดเป้าหมายการซ่อมแซมและสร้างบ้านไว้คือ ในปี 2561 จำนวน 24 หลัง ปี 2562 จำนวน 10 หลัง และปี 2563 จำนวน 10 หลัง
โดยที่มีขั้นการดำเนินงานดังนี้
- ประชุมเพื่อทำความเข้าใจระดับตำบล
- ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลผู้เดือดร้อนตามแบบฟอร์มสำรวจที่อยู่อาศัย
- รวบรวมข้อมูลผู้เดือดร้อน ประชุมคณะกรรมการตำบล เพื่อคัดเลือกและจัดลำดับความสำคัญ
- แต่งตั้งคณะกรรมการ 4 ฝ่าย ได้แก่ คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินวัสดุ, คณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง, คณะกรรมการตรวจรับงาน,คณะกรรมการติดตามและประเมินผล
- คณะกรรมการตำบลลงพื้นที่สำรวจข้อเท็จจริง พร้อมถ่ายรูปบ้าน จับพิกัด GPS จุดที่จะซ่อม ประเมินวัสดุที่ใช้
- รวบรวมข้อมูลวัสดุ-อุปกรณ์ในการก่อสร้าง
- จัดหาวัสดุ-อุปกรณ์ในการก่อสร้าง
- ติดตามผลการดำเนินงานโดยสภาองค์กรชุมชน
จากการผลการดำเนินซ่อมแซมบ้านผู้ยากไร้ในพื้นที่ สามารถดำเนินการซ่อมแซมบ้านให้มีความมั่นคง ปลอดภัยในการดำรงชีวิตของผู้ยากไร้ในตำบลได้ในระยะแรกจำนวน 24 หลัง โดยในการดำเนินงานได้มีการลงแรงช่วยเหลือกันในส่วนของแรงงาน ช่างต่างๆเนื่องจากมีงบประมาณสนับสนุนเฉพาะค่าวัสดุอุปกรณ์เท่านั้น และได้มีข้อตกลงร่วมในการคืนทุน คือเป็นเงินทุนหมุนเวียน ไม่มีดอกเบี้ย และต้องคืนทุนภายใน 6 ปี
ทั้งนี้ทางสภาองค์กรชุมชนตำบลได้จัดให้มีพิธีมอบบ้านพอเพียงชนบทให้แก่ผู้ยากไร้ที่ซ่อมแซมบ้านเสร็จแล้วขึ้น โดยมีนายคณัสชนม์ ศรีเจริญ นายอำเภอปะทิว นางสาวพรทิพย์ บำรุงชู ปลัดเทศบาลทะเลทรัพย์รักษาการนายกเทศมนตรีตำบลทะเลทรัพย์ นายศักด์ชาย พยัญตา ประธานสภาองค์กรชุมชนอำเภอปะทิว ร่วมมอบบ้านพอเพียงตาม โครงการบ้านพอเพียง ให้กับชุมชนผู้ยากไร้ ไม่มีเงินในการซ่อมแซมบ้าน โดยทำการมอบ ณ ศาลาหมู่บ้านหมู่ที่ 6 บ้านบ่อนก ต.ทะเลทรัพย์ อ.ปะทิว จ.ชุมพร โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรพัฒนาชุมชน (พอช.) นายศักดิ์ชาย พยัญตา กล่าวว่า โครงการบ้านพอเพียงนี้ ทาง พอช.ได้สนับสนุนงบประมาณผ่านสภาองค์กรชุมชนระดับตำบล ซึ่งที่นี่ก็จะเป็นสภาองค์กรชุมชนตำบลทะเลทรัพย์ และทางประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลของแต่ละตำบลจะทำการสำรวจบ้านชุมชนที่มีสภาพทรุดโทรม และไม่มีเงินซ่อมแซม และทางสภาฯ ก็จะทำการซ่อมแซมให้ โดยไม่ได้ให้เป็นเงินสดแก่ชาวบ้าน แต่จะไปดำเนินการซ่อมแซมบ้านให้ เช่น เปลี่ยนหลังคา เปลี่ยนฝาบ้าน ประตูบ้าน พื้นบ้าน ตามความเหมาะสม อาจจะใช้ไม้หรือปูน หรือกระเบื้องแล้วแต่สภาพที่มีอยู่เดิม โดยซ่อมให้ดีขึ้นและสามารถอยู่ได้แบบฝนตกน้ำไม่รั่วสามารถนอนได้อย่างปลอดภัย ทั้งนี้การมอบบ้านพอเพียงในครั้งนี้ ได้มอบให้กับพื้นที่ชุมชนตำบลทะเลทรัพย์ อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร รวมทั้งสิ้น 15 หลัง ซึ่งทางสภาองค์กรชุมชนตำบลทะเลทรัพย์ได้ซ่อมแซมให้เรียบร้อยแล้วและมาทำการมอบอย่างเป็นทางการในวันนี้ โดยใช้สถานที่ที่ ศาลาหมู่บ้านหมู่ที่ 6 บ้านบ่อนก ต.ทะเลทรัพย์ อ.ปะทิว จ.ชุมพร
การประสานความร่วมมือ
การดำเนินงานของสภาองค์กรชุมชนในการพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยเพื่อให้คนผู้ยากไร้ในตำบลได้มีที่อยู่ที่มั่นคง แข็งแรงปลอดภัย นั้น ได้รับความร่วมมือที่ดีจากองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำชุมชนทุกหมู่บ้านเป็นอย่างดีในการร่วมมือกันลงแรงซ่อมแซมบ้านกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้ง พอช. ที่สนับสนุงบประมาณในการดำเนินงาน ในขณะเดียวกันคณะทำงานสภาองค์กรชุมชนได้จัดทำข้อเสนอการพัฒนาเสนอต่อองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อให้บรรจุในแผนดำเนินงานปี 2562 ซึ่งส่งผลให้ทางองค์การบริหารส่วนตำบลทะเลทรัพย์ นำเข้าบรรจุในแผนที่สำคัญได้แก่ (1) สนับสนุนกองทุนสวัสดิการชุมชนจำนวน 20,000 บาท เพื่อสนับสนุนพัฒนาสร้างความเข้าใจ และการจัดสวัสดิการให้แก่ครอบครัว (2) ส่งเสริมการจัดทำแผนชุมชน จำนวน 30,000 บาทเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เสนอปัญหาการพัฒนาและจัดทำเป็นแผนของชุมชน
สิ่งที่ค้นพบจากการดำเนินงาน 1)เกิดความเชื่อมั่นในสภาองค์กรชุมชนจากประชาชนในตำบล หน่วยงาน ภาครัฐมากขึ้น 2) มีความร่วมมือกันในดีในชุมชนทั้งภาคส่วนชุมชนโดยสภาองค์กรชุมชน ท้องถิ่น ท้องที่และสมาชิก โดยเฉพาะการลงแรงช่วยเหลือซ่อมแซมบ้านผู้เดือดร้อน
อุปสรรคในการดำเนินงาน 1)งบประมาณมีจำกัดทำให้ไม่เพียงพอกับความต้องการของประชาชนผู้เดือดร้อน 2) ประชาชนยังไม่เข้าใจการดำเนินงานของสภาองค์กรชุมชน
แผนงานในระยะต่อไป 1) ขยายการช่วยเหลือซ่อมแซมบ้านผู้เดือดร้อนผ่านกองทุนที่อยู่อาศัยตำบล 2)จัดทำข้อเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาช่วยเหลือต่อเนื่อง
ติดต่อประสานงาน
นายอนันต์ นาคสังข์ 46/3 หมู่ที่ 8 ต.ทะเลทรัพย์ อ.ปะทิว จ.ชุมพร
โทรศัพท์ 093 951 5139