ตำบลสงเปือย ในอดีตราษฎรจังหวัดศรีสะเกษและอุบลราชธานี ได้เดินทางมาหาปลาและทำมาหากินตามลำน้ำมาเรื่อย ๆ และได้มาพบกับสภาพทางภูมิประเทศที่เหมาะสมกับการตั้งถิ่นฐาน จึงได้จัดตั้งหมู่บ้าน ณ ตำบลแห่งนี้ขึ้น ปัจจุบันตำบลสงเปือย อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร แบ่งการปกครองออกเป็น 9 หมู่บ้าน จำนวน 1,684 ครัวเรือน ประชากรในตำบล 6,014 คน เนื้อที่ ประมาณ 31,085 ไร่ ภูมิประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นราบลุ่ม ทุ่งนา สภาพดินร่วนปนทราย มีบ่อร่องน้ำธรรมชาติ พื้นที่ตำบลสงเปือยเป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ คือลำชี แต่ผู้คนชุในตำบลสงเปือยกลับต้องซื้อปลาจากพ่อค้าข้างนอก ทำให้รายได้ไหลออกนอกชุมชน
นอกจากผ่านฤดูการทำนา ประชาชนในตำบลไม่มีอาชีพเสริมที่มีรายได้เป็นจริงๆจังๆ ต้องอพยพไปทำงานต่างถิ่น สามารถอยู่กับครอบครัวดูแลสมาชิกในครอบครัว จากเหตุผลดังกล่าว สภาองค์กรชุมชนตำบลสงเปือย ร่วมกับภาคส่วนอื่นในท้องถิ่นเล็งเห็นว่าตำบลขาดความมั่นคงทางอาหารน่าที่จะเร่งฟื้นฟูพัฒนา จัดการชุมชนแบบองค์รวมของชุมชนเร่งการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาความมั่นคงทางอาหารเพื่อนำสู่การพัฒนาด้านต่างๆของคนในตำบล โดยเฉพาะด้านการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและทุนชุมชน เพราะมีความสำคัญเชื่อมโยงและเกี่ยวข้องกับทุกๆด้านในการดำเนินชีวิตของชุมชน การดำเนินงานพัฒนาด้านต่างๆต้องมีต้นแบบในการนำร่อง จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนต้นแบบ ครัวเรือนต้นแบบ กลุ่มองค์กรชุมชนต้นแบบ เพื่อเป็นกรณีศึกษาเรียนรู้ร่วมกันของคนในชุมชน เป็นการพัฒนา ถอดบทเรียน ชุดประสบการณ์ของภูมิปัญญาของชุมชนในการจัดการ พัฒนา และแก้ไขปัญหาด้านต่างๆของชุมชน ขยายผลและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน
การขับเคลื่อนงาน พัฒนาเศรษฐกิจที่มั่นคง เริ่มต้นโดย มีวงวิเคราะห์สภาพพื้นที่ตำบล ระบบเศรษฐกิจชุมชน ร่วมกันจัดทำเครื่องมือสำรวจข้อมูลระบบเศรษฐกิจและทุนชุมชนตำบลสงเปือย สำรวจจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลระบบเศรษฐกิจและทุนชุมชนของพื้นที่ตำบล จัดทำแผนพัฒนาระบบเศรษฐกิจและทุนชุมชนโดยใช้กรอบแนวทางยุทธศาสตร์ตำบลสงเปือย กำหนดแผนยุทธศาสตร์ระดับตำบล และร่วมกันกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะของตำบล สรุปบทเรียน ประเมินผลความสำเร็จโดยมีแนวทางในการพัฒนาบุคคลต้นแบบ ครัวเรือนต้นแบบ กลุ่มองค์กรชุมชนต้นแบบ ในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและทุนชุมชน
กลไกในการขับเคลื่อนงานพัฒนาระบบเศรษฐกิจและทุนชุมชนตำบลสงเปือย มีองค์ประกอบหลักคือ สภาองค์กรชุมชน ตัวแทนกลุ่มผู้เพาะพันธุ์ปลา ตัวแทนผู้ใหญ่บ้าน และตัวแทนอบต ที่เข้ามามาร่วมกันภายใต้คณะกรรมการสภาองค์กรชุมชน รวมไปถึงเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและทุนชุมชนตำบลสงเปื่อย
มรรคผลจากปฏิบัติงานพัฒนา จากพยายามของคนสงเปลือยที่จะสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารและการพัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชนโดยการเพาะพันธุ์ปลา เลี้ยงเพื่อเป็นอาหาร และจำหน่าย และการพัฒนาผลิตภัณฑ์การแปรรูปปลามีการขยายสมาชิกได้ จากเดิมต้นแบที่ทำจริงในระยะแรก 8 ครอบครัว ปัจจุบันเพิ่มมาเป็น 40 ครอบครัว โดยแยกการปฏิบัติการในพื้นที่ดังนี้ 1)การเพาะพันธุ์ปลา 9 ครอบครัว 2) การเลี้ยงปลา และการจำหน่ายปลาสด 16 ครอบครัว 3 การแปรรูปปลา 15 ครอบครัว (ปลาส้ม ปลาแดดเดียว) เกิดการสร้างรายได้ให้กับครอบครัวสมาชิก โดยเฉพาะครอบครัวที่ได้เพาะพันธุ์ปลา 8 ครอบครัว สามารถจำหน่ายพันธุ์ปลาได้ โดยมีรายได้เพิ่มขึ้น ครอบครัวละ 10000-20000 บาท ในรอบฤดูการผลิตที่ผ่านมาจากเดือน มกราคม ถึง พฤษภาคม และเกิดองค์ความรู้การเพาะพันธุ์ปลา ของสมาชิกกลุ่ม โดยทางกลุ่มจะเพาะพันธุ์ปลาตะเพียนและปลาหมอเทศ เมื่อมีความชำนาญมากขึ้นก็จะขยายการเพาะพันธุ์ชนิดอื่นๆ ต่อไป เกิดความรู้และเทคนิคการเลี้ยงปลาตะเพียน และปลาหมอเทศ โดยใช้การใช้อาหารจากธรรมชาติ ความรู้การแปรรูป ปลาส้มที่มีรสชาติดี เกิดศูนย์เรียนรู้ด้านเศรษฐกิจและทุนชุมชน และการพัฒนายกระดับเป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชนก่อรูปเครือข่ายเศรษฐกิจและทุนชุมชนที่สามารถเชื่อมโยง การเรียนรู้ในพื้นที่ ระหว่างพื้นที่ มีการแลกเปลี่ยนวัตถุดิบ สินค้า ผลิตภัณฑ์ คนทำงาน วิทยากรให้ความรู้ด้านต่างๆ
บทสรุป ข้อค้นพบ ที่ทรงคุณค่า เปี่ยมด้วยพลัง
- การชุมชนมีฐานข้อมูลด้านเศรษฐกิจและทุนชุมชนของพื้นที่ที่ เป็นข้อมูลอ้างอิงในการพัฒนาทั้งข้อมูลบริบทพื้นที่ตำบล ข้อมูลทางกายภาพ ข้อมูลระบบเศรษฐกิจชุมชน เช่น ข้อมูลด้านการประกอบอาชีพ รายได้ รายจ่าย หนี้สิน เงินออม ผลลิต / กิจกรรมแก้ปัญหาเศรษฐกิจชุมชน ทุนชุมชน ทั้งทุนที่เป็นตัวเงินของกลุ่มองค์กรการเงินชุมชน จำนวนเงินกองทุน หน่วยงานที่สนับสนุน โครงการและกิจกรรมพัฒนาต่าง และทุนที่ไม่ใช่ตัวเงิน เช่นองค์ความรู้ของปราชญ์ชุมชน ภูมิปัญญาชาวบ้าน ปัจจัยภายนอก ที่เข้ามามีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและทุนชุมชน เป็นเครื่องมือให้ ชุมชนเกิดกระบวนการเรียนรู้แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน เกิดการทบทวนตนเองเข้าใจตัวเอง กระบวนการทบทวนร่วมกันทำให้ชุมชนกำหนดแนวทาง วิธีการ หรือแผนพัฒนาได้สอดคล้องกับความต้องการความสามารถของชุมชน ในการพัฒนายกระดับเป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชนสู่วางแผนพัฒนายกระดับ บุคคล ครัวเรือน พัฒนายกระดับเป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชน เพื่อการถ่ายทอดภูมิปัญญาองค์ความรู้หรือชุดประสบการณ์ต้นแบบเหล่านี้ สู่การขยายผลการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ดีขึ้นในท้องถิ่น สร้างพัฒนาเครือข่ายเศรษฐกิจและทุนชุมชนที่สามารถเชื่อมโยงการเรียนรู้ในพื้นที่ ระหว่างพื้นที่
- การที่ชุมชนมีแผนงานของชุมชนที่เกิดจากการร่วม ศึกษา ร่วมคิด ร่วมวิเคราะห์ วางแผนตัดสินใจกำหนดอนาคต พัฒนาสู่แผนพัฒนาของท้องถิ่นในทุกมิติและทุกระดับ คน ครัวเรือน ชุมชน มีกิจกรรมดำเนินการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและทุนชุมชนในพื้นที่ตำบลอย่างเป็นรูปธรรม และมีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง มีกติกา ข้อตกลงร่วมกัน ในการจัดการทรัพยากร พัฒนาระบบเศรษฐกิจและทุนชุมชนในท้องถิ่นของตนเอง มีการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ และวัดผลได้ เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาองค์รวมของชุมชน พัฒนาคุณภาพชีวิต และเกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจของชุมชนที่ดียิ่งขึ้น คนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาด้านต่างๆของชุมชนและมีจิตอาสามากขึ้น มีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต วิธีคิด การทำการเพาะพันธุ์ปลามากขึ้นเกิดรายได้เสริมนอกจากอาชีพหลักเพิ่มขึ้น มีหนี้ลดลง ระบบนิเวศน์ที่ดีของชุมชนกลับคืนมาส่งผลให้ผู้คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี