หมู่บ้านบ้านหนองหญ้าคมบาง อยู่ในพื้นที่ตำบลท่าหมื่นราม(ประกอบด้วย 14 หมู่บ้าน) หมู่บ้านบ้านหนองหญ้าคมบางมีราษฎรอาศัยอยู่ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มโดยกลุ่มแรกมีถิ่นฐานอยู่ดั้งเดิมและอีกกลุ่มอพยพมาจากจังหวัดร้อยเอ็ดสาเหตุที่ตั้งชื่อว่า “บ้านหนองหญ้าคมบาง” เนื่องจากมีหนองน้ำและบริเวณรอบหนองน้ำจะมีหญ้าคมบางขึ้นอย่างหนาแน่น หญ้าคมบางมีลักษณะคมมากถ้าเดินผ่านจะถึงขั้นบาดขาได้ ชาวบ้านจึงได้เอาสัญลักษณ์ดังกล่าวมาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้าน “บ้านหนองหญ้าคมบาง”เพิ่มขึ้น ซึ่งอยู่กับการปกครองของหมู่ที่ 1 บ้านท่าหมื่นรามเมื่อมีประชากรเพิ่มมากขึ้นจึงได้แยกมาตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ คือ หมู่ที่ 12 เมื่อปีพ.ศ.2520 โดยมีผู้ใหญ่บ้านมาแล้ว 2 คน คนแรก นายเกษม จักรแก้ว และนายพัน โคตรสิงห์ คนปัจจุบันนายไชยยันต์ ปัญญาคำ
สำหรับพื้นที่ปลูกป่าชุมชน ที่ปลูกเป็นแนวกันชนบริเวณเขานารีซึ่งมีอาณาเขตติดต่อทางทิศเหนือจรดติดเขานารีซึ่งเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยมีป่าลุ่มน้ำวังทองอยู่ทางฝั่งซ้าย
ป่าชุมชนเขานารีเป็นป่าดั้งเดิมของหมู่ที่ 12 บ้านหนองหญ้าคมบาง ตำบลท่าหมื่นรามอำเภอวังทองจังหวัดพิษณุโลกอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติลุ่มน้ำวังทองฝั่งซ้ายในช่วงระยะก่อนหน้านี้มีประชาชนทำการบุกรุกหักร้างถางป่าจับจองเป็นเจ้าของเพื่อทำไร่กันเป็นจำนวนมากจนแทบมองไม่เห็นว่าเคยเป็นป่ามาก่อน
เมื่อปี พ.ศ.2523 มีปัญหาบุกรุกที่สาธารณะเพื่อทำไร่ข้าวโพด ไร่มันสำปะหลัง ดินเสื่อมโทรม นายเกษม จักรแก้ว ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้านในขณะนั้นได้เล็งเห็นว่าหากปล่อยให้มีการบุกรุกจับจองพื้นที่เพื่อทำไร่กันอย่างนี้ต่อไปป่าไม้คงหมดไปในที่สุด จึงได้เริ่มรณรงค์ให้ชาวบ้านหันมาช่วยกันอนุรักษ์ดูแลรักษาป่าโดยนำแผ่นป้ายไปติดไว้บริเวณป่าและนำกล้าไม้นานาชนิดไปปลูกในวันสำคัญต่างๆ ของทุกปี ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเห็นความสำคัญของป่าไม้อยู่เสมอในโอกาสต่างๆ
ภายหลังปี พ.ศ.2525 มีการอบรมให้ความรู้เรื่องการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง โดยการอบรม นำโดย คุณสาคร ส่งมา ภายใต้โครงการ miyazawa งบประมาณ 100,000 บาท เริ่มที่หมู่ที่ 12 ด้วยการจัดการป่าของหมู่บ้าน ป่าชุมชน มีคณะทำงานและกฎกติกาในส่วนหนึ่งมีการจำกัดเขตพื้นที่ของหมู่ที่ 12
ปีพ.ศ. 2530 เกิดการขยายเขตพื้นที่จากหมู่ 12 เพิ่มหมู่ที่ 2 5, 7, 8, 10, 14 รวม 7 หมู่บ้าน ในการชักนำของป่าไม้หรือป่าไม้พันชาลีที่รับผิดชอบอยู่ในเขตของตำบลท่าหมื่นราม ให้ขึ้นทะเบียนป่าไม้ในเขตหมู่บ้านนั้นๆเรียกว่าทะเบียนป่าชุมชน
ปีพ. ศ. 2540 ได้เข้าร่วมดำเนินงานพัฒนาป่าชุมชนโดยได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่นป่าไม้ข้าราชการทหารตำรวจประชาชนนักเรียน ฯลฯ ได้นำต้นยูคาลิบตัสมาปลูกเป็นแนวกันชนระหว่างพื้นที่ป่าชุมชนกับพื้นที่ทำกินของราษฎรต่อมานายเกษมจักรแก้วได้นิมนต์พระครูไพบูลย์ กิตติวัฒน์เจ้าคณะตำบลท่าหมื่นรามและเชิญชวนหน่วยงานต่างๆ ทำพิธีบวชป่าโดยนำพระพุทธรูปหน้าตักกว้าง 36 นิ้ว ไปประดิษฐานไว้ในศาลาเพิงสังกะสีบริเวณป่าชุมชนเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชนแล้วนำผ้าจีวรผูกต้นไม้ไว้เป็นที่รู้กันว่าได้ทำการบวชป่าไว้แล้ว ซึ่งการทำพิธีกรรมเช่นนี้ช่วยให้ประชาชนมีความยำเกรงและศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง จากนั้นในปีพ.ศ.2543 ได้รับเงินสนับสนุนป่าชุมชนเป็นเงินกองทุนชุมชนธนาคารออมสิน (เงิน Sif)
จากปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นในอดีตและการขาดแคลนน้ำ ดินเสื่อมโทรม อากาศแห้งแล้งทั่วไป ทำให้ประชาชนและแกนนำมาร่วมคิดร่วมทำร่วมแก้ปัญหา โดยใช้แกนนำที่เป็นผู้ใหญ่บ้านกำนัน ในการแก้ไขปัญหาและมีขั้นตอนกระบวนการสำคัญ ดังนี้
1) มีการจัดสร้างเรือนเพาะชำกล้าไม้ชั่วคราว การสร้างเรือนเพาะชำกล้าไม้ชั่วคราวของบ้านหนองหญ้าคมบางได้ดำเนินการสร้างที่บ้านนายเกษม นักรแก้ว โดยกลุ่มกิจกรรมสร้างเรือนเพาะและเพาะกล้าไม้ ประกอบด้วยนายเกษม จักรแก้ว นายหัน โคตรสิงห์ นายไช สีลาดเลา นายจาน สมภักดี นางจันทร์ รูฟ นายปรีชา สินมา นายวันชัย สาร่องคำ และคนอื่นอีกรวมจำนวน 11 คน
2) การเพาะชำกล้าไม้ การดำเนินงานกิจกรรมเพาะชำกล้าไม้ของบ้านหนองหญ้าคมบางได้ดำเนินการเพาะชำกล้าไม้ยูคาลิปตัสจำนวน 6,000 ต้นโดยได้รับความร่วมมือจากกลุ่มราษฎร
3) การปลูกต้นไม้ การดำเนินการปลูกป่าชุมชนของบ้านหนองหญ้าคมบางปลูกเป็นแนวกันชนจำนวน 3-5 แถวโดยใช้ต้นยูคาลิปตัสจำนวน 6,000 ต้นระยะปลูก 1 x 1 เมตรบริเวณพื้นที่ที่ชาวบ้านกันไว้ให้เป็นที่สาธารณประโยชน์เชิงเขานารี่ซึ่งเจ้าหน้าที่สำรวจรังวัดของ ส.ป.ก.ได้ทำการปักหลักเขตหมายแนวไว้แล้วดำเนินการปลูกเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2541 โดยได้รับความร่วมมือของคณะกรรมการหมู่บ้านและราษฎรมาร่วมกันปลูกป่าในครั้งนี้ประมาณ 60 คน และประกาศกฎระเบียบการจัดการป่าชุมชน
4) ป่าชุมชนบ้านหนองหญ้าคมบางหมู่ที่ 12 ตำบลท่าหมื่นรามอำเภอวังทองจังหวัดพิษณุโลกเป็นหมู่บ้านเดียวและหมู่บ้านแรกของตำบลท่าหมื่นรามที่จัดทำโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมป่าเสื่อมโทรมในเขตป่าสงวนแห่งชาติลุ่มน้ำวังทองฝั่งซ้ายให้กลับคืนสู่สภาพเดิมเพื่อรักษาต้นน้ำลำธารและถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 72 พรรษาได้มีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนรวมไปถึงองค์การบริหารส่วนตำบลโดยมีเจ้าหน้าที่ป่าไม้จังหวัดพิษณุโลกร่วมกับคณะกรรมการป่าชุมชน 2 หมู่บ้าน 2 ตำบลจัดการประชุมขึ้นในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2543 ณ ที่บริเวณเชิงเขานารีหมู่ที่ 12 โดยมีคณะกรรมการหมู่บ้านหนองหญ้าคมบางตำบลท่าหมื่นรามและคณะกรรมการหมู่บ้านเจริญผล ตำบลหนองพระเข้าร่วมประชุมสัมมนา ได้มีมาตรการตามพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ.2484 ว่าด้วยกฎระเบียบข้อห้ามในเขตป่าชุมชนติดประกาศกฎระเบียบข้อห้ามให้ราษฎรในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียงทราบโดยทั่วถึงและให้จัดตั้งเวรยามคอยดูแลรักษาป่าและมีการประสานงานกับเจ้าหน้าที่รับผิดชอบจึงขอให้ท่านแจ้งให้ราษฎรในหมู่บ้านทราบตามข้อความดังต่อไปนี้
- กฎระเบียบว่าด้วยข้อห้ามในเขตป่าชุมชน
- 1 ห้ามลักลอบตัดไม้ในเขตป่าชุมชนฝ่าฝืนมีโทษปรับ 5, 000 บาทต่อไม้ 1 ต้นหรือ 1 ตอพร้อมยึดไม้ของกลาง
- 2 ห้ามบุกรุกถางป่าเพื่อทำการเกษตรในเขตป่าชุมชนฝ่าฝืนมีโทษปรับตารางวา 300 บาทและต้องปรับปรุงพื้นที่ให้อยู่ในสภาพเดิม
- 3 ห้ามจุดไฟเผาป่าโดยเจตนาหรือประมาทในเขตป่าชุมชนฝ่าฝืนมีโทษปรับ 5, 000 บาทแล้วแต่พื้นที่ที่ได้รับความเสียหาย
- 4 ห้ามทำลายแผ่นป้ายเขตป่าชุมชนและแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ของป่าชุมชนฝ่าฝืนมีโทษปรับ 2, 000 บาทแล้วแต่ขนาดของแผ่นป้าย
- 5 ห้ามล่าสัตว์ในพื้นที่ป่าชุมชนเพื่อการค้าฝ่าฝืนมีโทษปรับ 5, 000 บาทแล้วแต่สัตว์เล็กสัตว์ใหญ่
จากการชักนำของป่าไม้หรือป่าไม้พันชาลีที่รับผิดชอบอยู่ในเขตของตำบลท่าหมื่นราม ให้ขึ้นทะเบียนป่าไม้ในเขตหมู่บ้านนั้นๆเรียกว่าทะเบียนป่าชุมชน
แนวทางความสำเร็จเหล่านี้เกิดขึ้นจากการใช้วัฒนธรรมนำการพัฒนาของหมู่บ้าน ซึ่งในเดือน 6 ของทุกปีจะมีพิธีทำบุญกลางบ้านโดยให้ชาวบ้านมาทำพิธีร่วมกันมีการสวดทรายรอบหมู่บ้านซึ่งเชื่อว่าเป็นการปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายให้ออกไปจากหมู่บ้านแล้วมีการทำพิธีเลี้ยงศาลเจ้าพ่อฤาษีในวันเดียวกันด้วย โดยจะมีผู้เต่าเป็นคนทำพิธีและให้ชาวบ้านทำกระทงแล้วปั้นรูปคนและรูปสัตว์ต่าง ๆ ลงไปในกระทง อีกทั้งพิธีบวชป่าทำให้เกิดความเกรงกลัวต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งการดำเนินงานนั้นจะใช้แกนนำกำนันผู้ใหญ่บ้านสมาชิกกลุ่มองค์กรเป็นกรรมการในการจัดการและกำหนดแผนพัฒนาร่วมกันมีการประชุมต่อเนื่องส่งแผนต่อหน่วยงานเชิญหน่วยงานเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้เริ่มมีการอนุรักษ์โดยเขียนป้ายอนุรักษ์และปลูกต้นไม้ในวันที่ของทุกปีคนโครงการอนุรักษ์ป่าชุมชนมีหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาร่วมดูแลให้การแนะนำและให้ความร่วมมือในการอนุรักษ์ป่าชุมชนเช่นอำเภอป่าไม้จังหวัดตำรวจทหารพ่อค้าประชาชนนักเรียนนักศึกษาคณะครูอาจารย์เป็นต้น-มีพิธีบวชป่าและนำพระพุทธรูปขึ้นไปประดิษฐานไว้ในบริเวณปาเชิงเขาปีพ. ศ. 2541-ปัจจุบัน ร่วมดำเนินงานตามกิจกรรมพัฒนาป่าชุมชนโดยปลูกต้นไม้ยูคาลิปตัสเป็นแนวกันชนระหว่างพื้นที่ป่าชุมชนกับพื้นที่ทำกินของประชาชนปี พ.ศ.2542 เจ้าหน้าที่กรมธนารักษ์กระทรวงการคลังตรวจเยี่ยมป่า
อย่างไรก็ตามการดำเนินงานที่จะดูแลป่าไม้ชุมชน ดูแลต้นไม้ไว้ให้เป็นทรัพย์สมบัติของลูกหลานและคนในชุมชนให้อยู่ยั่งยืนนั้นก็ยังต้องมีการคิดออกแบบและวางอนาคตไว้ไม่ให้หยุดนิ่ง อีกทั้งยังต้องชักชวนภาคีเครือข่ายให้เข้ามามีส่วนร่วมกันมากขึ้น โดยได้ออกแบบโครงการต่าง ๆ ไว้ ได้แก่ โครงการจัดอบรมอาสาสมัครรักษาป่า โครงการจัดชุดลาดตะเวนและยามป้องกันไฟป่า โครงการสร้างจุดสกัด (ป้อมยาม) โครงการจัดทำป้ายแนวเขตป่าชุมชน โครงการปลูกป่าเสริม โครงการสร้างเรือนเพาะชำ โครงการจัดหาอุปกรณ์และเพาะชำกล้าไม้ โครงการนำคณะกรรมการศึกษาดูงานนอกสถานที่ โครงการอบรมเยาวชนคนรักป่าแก่นักเรียน 5 โรงเรียนภายในกลุ่มท่าหมื่นราม โครงการอบรมเกษตรธรรมชาติ โครงการฝึกอบรมราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่าตำบลท่าหมื่นราม