บทความโดย ฟาริด้า ยะหรี่
ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร มีพื้นที่ทั้งหมด 157,865 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 98,665 ไร่ สภาพภูมิประเทศ เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมแก่การทำเกษตรกรรม จำนวนหมู่บ้านทั้งหมด 18 หมู่บ้าน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปลูกผลไม้ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน เลี้ยงสัตว์ ซึ่งรายได้ส่วนใหญ่จะมาจากการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร ทำให้ประชากรมีรายได้ที่ไม่แน่นอน จำนวนประชากรในวัยทำงานของตำบลบ้านควน ประมาณร้อยละ 80 ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม รองลงมาร้อยละ 10 เป็นแรงงานในภาคอุตสาหกรรม การบริการ ค้าขาย รับจ้างทั่วไป รับราชการ และร้อยละ 10 ได้แก่ ผู้ที่กำลังศึกษา พระภิกษุ สามเณร สตรีที่มีภาระในการเลี้ยงดูทารก
ปัจจุบันเนื่องจากตำบลบ้านควน มีทั้งพื้นที่ป่าที่สมบูรณ์ที่ควรอนุรักษ์ไว้ และยังมีพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม ที่ชาวบ้านทำกินเป็นแปลงเกษตรปลูกยางพารา และปาล์มน้ำมันแล้ว สภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านควนเห็นว่าควรจะให้มีการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและทุนชุมชนฐานราก โดยอาศัยทุนเดิมที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์แก่คนในชุมชน โดยจุดสำคัญก็คือการสร้างธนาคารต้นไม้เพื่อแปลงคุณค่าเป็นมูลค่า และยังเป็นการรักษา ฟื้นฟูธรรมชาติที่เคยอุดมสมบรูณ์ให้กลับคืนมา
นายไพบูลย์ นุ้ยพิน ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านควน เล่าว่า ธนาคารต้นไม้ เพาะกล้าไม้ เพาะจิตสำนึก สร้างป่า เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2550 จากกรณีที่พื้นที่ป่าถูกทำลาย ก่อให้เกิดภัยแล้ง ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ชาวบ้านควนจึงสะท้อนปัญหาให้เห็นว่า ภัยธรรมชาติกำลังจะเกิดขึ้นในพื้นที่และเกิดกับสิ่งแวดล้อมของพวกเรา สาเหตุหลักเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องว่ารู้ธรรมชาติจะสมบูรณ์ได้เพราะมีป่าที่เพียงพอ ป่าเป็นจุดเกิดของน้ำ อาหาร อากาศ และธรรมชาติที่สมดุล จึงเป็นแนวคิดและสร้างจิตสำนึกให้คนบ้านควนต้องสร้างป่าไม่ทำลายป่า และที่สำคัญต้องปลูกป่า ธนาคารต้นไม้เป็นเรื่องราวที่ค้นคิดให้คนปลูกป่าเพื่อเป็นรายได้และสร้างสิ่งแวดล้อม สมาชิกธนาคารต้นไม้บ้านควน รวมกลุ่มประมาณ 50 คน ทั้งกลุ่มเด็กเยาวชน ประชาชน รวบรวมสมาชิกจัดตั้งเป็นธนาคารต้นไม้เพื่อจุดประสงค์หลัก คือ แจก แลก เปลี่ยน ขาย เริ่มแรก 4 สาขา สาขาบ้านช่องสะท้อน สาขาบ้านห้วยตาสิงห์ สาขาบ้านคลองขนาน สาขาบ้านวัดเหนือ ปัจจุบันมีธนาคารต้นไม้ใน 7 หมู่บ้าน 350 แปลง มีต้นไม้ว่า 20,000 ต้น และมีพันธุ์ไม้พื้นบ้านมากว่า 20 ชนิด กลุ่มธนาคารต้นไม้สาขาบ้านควน เป็น 1 ใน 49 ที่จดแจ้งกลุ่มกลับสภาองค์กรชุมชน สภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านควน ได้จดแจ้งจัดตั้งขึ้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2551 มีสมาชิก 48 คน มีกลุ่มองค์กรที่เข้าร่วม จำนวน 49 กลุ่ม จาก 18 หมู่บ้าน
ตำบลบ้านควน ได้วางกฎกติกาป่าชุมชนบ้านช่องสะท้อน 1) จะไม่มีการตัดไม้ทำลายป่าแม้แต่ต้นเดียว 2) ห้ามล่าสัตว์บนเขาและเขตป่าโดยเด็ดขาด 3) ให้ครอบครัวซึ่งอยู่บริเวณรอบชายเขาช่วยกัน ดูแลและปลูกต้นไม้ตรงแนวป่ากันชน 4) ให้อพยพย้ายคนซึ่งทำการเกษตรอยู่บนเขาออกจากพื้นที่ทำกินบนเขาทั้งหมดจำนวน 10 แปลง (ซึ่งขณะนี้ยังคงมี 2 แปลง ยังมีการใช้ประโยชน์จากการทำสวนยางโดยมีการทำสัญญาร่วมกับชุมชนว่า
จะไม่ โค่นต้นยางหลังจากสิ้นสุดการใช้ประโยชน์) 5) ให้มีการประชุมคณะกรรมการร่วมกันทุกเดือนเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและหาแนวทางในการพัฒนาและแก้ ไข โดยมีคณะกรรมการทั้งสิ้นจำนวน 7 คน 6) ส่งเสริมให้มีการปลูกป่าเพิ่มโดยเฉพาะไม้ป่า ที่รับประทานผลได้ โดยมุ่งหวังให้สัตว์ ได้กินเป็น อาหาร และเป็นที่รวมของสัตว์ป่า รวมทั้งส่งเสริม ให้มีการปลูกไม้ยืนต้นประเภท ตะเคียน จำปา ยาง ไม้รักแดง เป็นต้น เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ ให้กับป่า
ขั้นตอนการดำเนินงานนั้น ทางสาขาจะมี การจัดหาพันธุ์ไม้ ให้แก่สมาชิก โดยเราจะจัดหาพันธุ์ ไม้ทกชนิดทีสมาชิกต้องการปลูก โดยสมาชิกคนหนึ่ง ่ ่ จะได้รับแจกพันธุ์ไม้ ไม่น้อยกว่า 9 ต้นสำหรับการนำ ไปปลูก ซึ่งสมาชิกเองก็จะมีส่วนร่วมในการหาไม้มา เสียบสำหรับเพาะพันธุ์ หรือหากสมาชิกมีพันธุ์ที่ทาง ธนาคารต้นไม้ ไม่มีก็สามารถเอาพันธุ์ ไม้มาแลกกัน ได้ หรือหากไม่ ใช่สมาชิกเราก็จะขายเอากำไรเพียง เล็กน้อยเท่านั้น”
ธนาคารต้นไม้ ฐานคิดเดิมมาจากโครงการ ปลูกต้นไม้ใช้หนี้ในสมัยรัฐบาลนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร แต่เนื่องจากฐานคิดของคนภาคใต้ เองก็มีหลักคิดเรื่องการปลูกไม้ ใช้หนี้ที่เชื่อมโยงกับ เรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยมองว่าคนทุกคน สามารถปลูกต้นไม้ได้ไม่เฉพาะผู้ที่เป็นหนี้เท่านั้น ดังนั้นจึงเกิดการปรับสถานะของโครงการปลูกไม้ ใช้หนี้เป็นธนาคาร ซึ่งเป็นที่ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ อันเป็นการมองเรื่องคุณค่ามากกว่าเรื่องการใช้หนี้ธนาคารต้นไม้ หลักคิดสำคัญคือ การเชื่อมโยงเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับสภาวะของโลก เพราะต้นไม้สามารถลดภาวะโลกร้อนได้ รวมทั้งการส่งเสริมให้เกิดการปลูกต้นไม้ ในใจคนให้คนรู้คุณค่าว่าต้นไม้ให้ประโยชน์อะไรกับตัวเองบ้าง
จากการดำเนินงานเพื่อสร้างกิจกรรมปลูกจิตสำนึกรักษ์ป่า ทำการปักหมุดและติดป้ายกันแนวเขตอนุรักษ์จำนวน 150 ป้าย มีกิจกรรมปลูกป่าเพิ่มในวันสำคัญต่างๆ ประสานความร่วมมือกับโรงเรียนจัดกิจกรรมสร้างเยาวชนนักอนุรักษ์ จัดค่ายสร้างการเรียนรู้ ให้แก่เด็ก เยาวชน กติกาในการอนุรักษ์ป่าเขารุม ดังนี้ มีการจัดตั้งอาสาสมัครในการเฝ้าระวังรักษาป่าเขารุมโดยมาจากครัวเรือนรอบๆ เชิงเขาจำนวน 30 ครัวเรือน ทำข้อตกลงร่วมกันกับครอบครัวที่มีพื้นที่เกษตรรอบๆ เชิงเขาจำนวน 20 ครัวเรือนเพื่อไม่ ให้ทำการบุกรุกป่าเพิ่มเติม ผู้ที่บุกรุกทำลายป่าจะถูกจับและมีบทลงโทษอย่างจริงจังและหากจับกุมผู้บุกรุกทำลายไม่ได้ ผู้อยู่บริเวณข้างเคียงต้องเป็นผู้รับผิดชอบการใช้สอย การขอไม้เพื่อใช้ประโยชน์สามารถแจ้งขอได้ ในวันที่มีการประชุมและต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ
การดำเนินการจากกิจกรรมร่วมของชุชนทำให้เกิดความร่วมมือของคนภายในชุมชน ให้เกิดความรักป่า เห็นคุณค่าของธรรมชาติ ที่ต่างคนต่างต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันละกัน โดยสิ่งที่เห็นได้ชัด คือ การที่ชุมชนออกมาทำกิจกรรมร่วม และแสดงออกซึ่งการอนุรักษ์ป่าอย่างแท้จริง
การที่ทุกคนในชุมชนต่างมองป้าหมายที่แตกต่างกัน ต่างคนต่างดำเนินงานในส่วนของตน ทำให้ขาดการมีส่วนร่วมในชุมชน ไม่มีการพุดคุยกัน และทำให้ชุมชนขาดความสามัคคีกัน เมื่อมีวงกลางหรือวงปรึกษาหารือกัน โดยใช้สภาองค์กรชุมชน ทุกคนก็มีทางออกร่วมกัน จากปัญหาที่มาเรียงลำดับความสำคัญ และชุมชนต้องทำอันดับแรก คือ การอนุรักษ์ฟื้นฟูธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพราะเราต้องอาศัยป่า ในการดำรงชีวิตต่อไป ซึ่งวันนี้ปณิธานข้างต้นเป็นจริงที่บ้านควน