ตำบลพ้อแดง อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร มีอาณาเขตตำบล : ทิศเหนือ ติดกับ แม่น้ำหลังสวน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ทิศใต้ ติดกับ ตำบลนาพญา และตำบลขันเงิน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลบางมะพร้าว อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลขันเงิน และ ตำบลหลังสวน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
ที่มาของชื่อ “พ้อแดง” สถานการณ์ชุมชนตำบลพ้อแดง คำว่า “พ้อแดง” เป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่ในที่ชื้น เป็นพืชอยู่ในตระกูลปาล์ม ชื่อต้นกระพ้อ ลักษณะเด่นคือ ลำต้นออกสีแดง สมัยก่อนขึ้นอยู่เป็นจำนวนมากในบริเวณทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของตัวตลาดหลังสวนในปัจจุบัน จึงเรียกหมู่บ้านบริเวณนี้ว่า บ้านพ้อแดง บ้านพ้อแดงมีประชากรเข้ามากตั้งถิ่นฐานตั้งแต่โบราณ เนื่องจากอยู่ริมแม่น้ำหลังสวน เมื่อประมาณ ๔๐๐ กว่าปีมาแล้ว จากหลักฐานของวัดคงคาราม หรือ วัดบางกาซึ่งเป็นวัดแรกของอำเภอหลังสวน (พ.ศ. 2195)
ปัญหาภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในตำบลพ้อแดง
ด้วยลักษณะโดยทั่วไปตำบลพ้อแดงจะมีลักษณะเหมือนกับกะทะ มีคลองไหลมาบรรจบกันหลายสาย เช่น – คลองแม่เลของตำบลท่ามะพลา ไหลมาบรรจบกับห้วยขี้ม้าของตำบลพ้อแดงก่อนไหลลงสู่แม่น้ำหลังสวน – คลองน้ำขาว เป็นพื้นที่รับน้ำที่มาจาก ตำบลบ้านควน ตำบลนาพญา ตำบลท่ามะพลา ของอำเภอหลังสวน และตำบลปังหวาน ตำบลพระรักษ์ ตำบลพะโต๊ะ และตำบลปากทรงอำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร – คลองราง ไหลมาจากตำบลนาพญา มาบรรจบกับคลองบางกาที่ไหลมาจากตำบลบ้านควน และไหลลงมาสู่คลองน้ำขาว จะเห็นได้ว่าพื้นที่ตำบลพ้อแดง เป็นพื้นที่ที่มีห้วย หนองและลำคลองล้อมรอบ และมีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่าน คือ แม่น้ำหลังสวนและคลองบางกา ลักษณะดังกล่าว ทำให้ตำบลพ้อแดงประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากเป็นประจำทุกปี แต่ละปีนั้นความรุนแรงมากน้อยต่างกันขึ้นอยู่กับสภาพดินฟูาอากาศในปีนั้นๆ นอกจากนี้ในปัจจุบันความเจริญก้าวหน้า และการขยายเขตเมืองเริ่มขยายสู่ตำบลพ้อแดงมากยิ่งขึ้น การสร้างอาคารบ้านเรือนในปัจจุบันส่วนใหญ่จะทำการถมที่เพื่อให้สูงขึ้นมาเสมอกับถนน แล้วค่อยก่อสร้างอาคารบ้านเรือน การกระทำดังกล่าวจึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดน้ำท่วมแบบฉับพลันและใช้ระยะเวลานานกว่าน้ำจะลด หลังจากสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ ปี 2540 ตำบลพ้อแดงเกิดผลกระทบอย่างรุนแรงในด้านต่างๆ เช่น วิถีชีวิตการทำนาหายออกไปจากพื้นที่ ประชาชนสิ้นเนื้อประดาตัวกับเหตุการณ์ในครั้งนี้ ทำให้เปลี่ยนจากการทำนามาปลูกปาล์มน้ำมัน ผลกระทบที่ตามมา โดยเฉพาะประชาชนเฉลี่ยแล้วมีสวนปาล์มน้ำมันทั้งตำบลคนละประมาณ 3 ไร่ ซึ่งไม่พอกับการดำรงชีวิต ประกอบกับภัยพิบัติน้ำท่วมเกิดขึ้นบ่อยครั้ง แม้ในฤดูกาลที่น้ำไม่ท่วมก็เกิดน้ำท่วม เช่นในเดือนมีนาคม 2554 มกราคม 2555 เป็นเหตุการณ์ที่ประชาชนได้รับความเสียหายอย่างมากมาย และเป็นเหตุการณ์น้ำท่วมฉับพลัน 1 ชั่วโมง ต่อ 50 เซนติเมตร ซึ่งก็เกิดจากสถานการณ์ในปัจจุบันที่พื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายลงอย่างรวดเร็วเพื่อทำการเกษตร ทำให้ตำบลพ้อแดงซึ่งปกติก็เป็นแหล่งรับน้ำของทั้งอำเภอพะโต๊ะ อำเภอหลังสวน อำเภอวิภาวดี อำเภอไชยา อำเภอท่าชนะและอำเภอละแม ก็ต้องประสบกับน้ำท่วมสูงถึง 4 – 5 เมตร เป็นเวลานานถึง 10 วัน
ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญต่อการเกิดอุทกภัยในตำบลพ้อแดง สาเหตุมาจากการกระทำของมนุษย์ ก็คือการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งทำให้ปริมาณน้ำฝนไม่สามารถดูดซึมโดยลำต้น ใบ และรากได้ สำหรับบริเวณที่โล่ง การไหลบ่าของน้ำผิวดินจะเร็วขึ้นเพราะไม่มีต้นไม้คอยชะลอน้ำ ทำให้อัตราการไหลสูงสุดของน้ำสูงมากขึ้น นอกจากนี้ ฝนยังมีโอกาสที่จะชะเอาหน้าดินไปด้วย ซึ่งจะทำให้ความขุ่นของน้ำและตะกอนที่มากับน้ำมีมากขึ้นตามไปด้วยนอกจากนี้ การพัฒนาชุมชน การขยายเขตความเป็นเมืองสู่ตำบลพ้อแดง เกิดการถมที่เพื่อสร้างที่อยู่อาศัยอาคารบ้านเรือน อีกทั้งการขยายเขตตัวเมืองอย่างรวดเร็วในอำเภอหลังสวน โดยเฉพาะพื้นที่ตำบลที่อยู่บริเวณรอบๆ เขตเทศบาลเมืองหลังสวน การก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างต่างๆ นายทุนหรือชาวบ้านที่มีอันจะกินก็จะถมที่ตนเองให้สูงขึ้นจากถนนเพื่อปูองกันการเกิดน้ำท่วม ซึ่งแตกต่างกับคนในสมัยก่อนการสร้างบ้านเรือนจะใช้แบบยกสูงเพื่อหนีน้ำและเป็นการกระทำเพื่อไม่ให้ขวางทางน้ำ เวลาหน้าฝนน้ำจะได้ไหลลงสู่คลองได้สะดวกและรวดเร็วเป็นการช่วยลดระดับน้ำไม่ให้ท่วมสูงเกินไปและเวลาระยะท่วมขังไม่นานหลายวัน ซึ่งจะแตกต่างจากปัจจุบันอย่างเห็นได้ชัดเจนมาก
จากสภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้นสภาองค์กรชุมชนตำบลพ้อแดงจึงได้จัดเวทีระดมความคิดในการแก้ไขปัญหาและจัดทำเป็นแผนพัฒนาตำบลจัดการตนเอง โดยมีตัวแทนผู้นำชุมชน ส่วนท้องถิ่น ท้องที่ และหน่วยงานเข้าร่วม ซึ่งมี พอช. เข้าร่วมในการแลกเปลี่ยนด้วย โดยมีแนวทางการพัฒนาแผนตำบลแบบมีส่วนร่วม ซึ่งสาระสำคัญของการพัฒนาแผนตำบลคือ 1) แผนตำบลต้องเกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมของภาคส่วนในตำบลไม่ว่าจะเป็นองค์กรชุมชน ส่วนท้องถิ่น ส่วนท้องที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีสภาองค์กรชุมชนเป็นกลไกสำคัญในการเชื่อมโยงประสานงาน 2) แผนตำบลควรจะมีข้อมูลดังนี้ ข้อมูลทั่วไป (ข้อมูล ประวัติ ที่ตั้ง ฯลฯ) ข้อมูลทุนชุมชน (ภาพผังตำบล/ข้อมูล กลุ่มองค์กรชุมชน/ทรัพยากรธรรมชาติ/ภูมิปัญญาท้องถิ่น ฯลฯ ข้อมูลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (จุดแข็ง จุดอ่อน…) วิสัยทัศน์ แผนพัฒนาตำบล 3 ด้าน (ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม วัฒนธรรม ด้านทรัพยากร) และคณะทำงานขับเคลื่อนแผนตำบล 3) ขั้นตอนการวิเคราะห์เพื่อ นำไปสู่แผนตำบลที่สำคัญคือ ขั้นแรก การวิเคราะห์ศักยภาพของตนเอง(ชุมชน) เป็นการวิเคราะห์ฐานทุนของชุมชนว่ามีอะไรบ้าง อย่างไร สถานะภาพเป้นอย่างไร ซึ่งมีฐานทุนด้านทรัพยากรธรรมชาติ ฐานการเงินชุมชน ฐานด้านบุคคล และฐานด้านองค์ความรูภูมิปัญญาต่างๆ ทั้งนี้การวิเคราะห์ตนเองเพื่อให้เกิดความตระหนักว่าว่า เรา(ชุมชน)เป็นใคร ขั้นทีสอง การวิเคราะห์เพื่อกำหนดทิศทางของชุมชน เป็นการนำเอาผลจากการวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชนที่มีอยู่นำไปสู่การกำหนดเป้าหมายสำคัญของชุมชนเองว่าจะเดินไปสู่เป้าหมายคืออะไร นั่นคือการร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ของชุมชนในระยะ 3-5 ปีข้างหน้า และขั้นตอนสาม การวิเคราะห์แผนการดำเนินงานเพื่อไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ เป็นการระดมแผนแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยเป็นการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สำคัญของชุมชน เพื่อตอบโจทย์คำถามว่า แล้วชุมชนจะเดินไปสู่เป้าหมายได้อย่างไร ทั้งนี้ในแต่ละขั้นจะมีความแตกต่างกันตามสภาพพื้นที่และสถานการณ์แวดล้อมที่เกิดขึ้น และ 4) การนำแผนตำบลไปใช้ประโยชน์ เมื่อได้จัดทำแผนพัฒนาตำบลแล้วสามารถนำไปใช้ได้คือ การบูรณาการกับแผนส่วนท้องถิ่น การประมวลเป็นข้อเสนอในแผนพัฒนาจังหวัด ทั้งนี้ทางประธานสภาองค์กรชุมชนกล่าวเน้นย้ำว่าหลังจากนี้ทางคณะทำงานจะประมวลข้อมูลเป็นแผนพัฒนาตำบลและนำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ในขณะเดียวการประธานสภาองค์กรชุมชนได้นัดให้คณะทำงานนำข้อมูลที่ได้จากเวทีเพื่อประมวลยกร่างเป็นแผนพัฒนาตำบลต่อไป
การจัดการภัยพิบัติภายใต้สภาองค์กรชุมชนตำบลพ้อแดง
ตำบลพ้อแดงได้มีการจดแจ้งจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนขึ้น เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2553 โดยมีกลุ่มองค์กรต่างๆ ในตำบลจำนวน 14 กลุ่ม จากเวทีการพูดคุยแลกเปลี่ยนในสภาองค์กรชุมชนตำบลพ้อแดง ภายใต้การหนุนเสริมจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ได้สนับสนุนงบประมาณในการจัดทำข้อมูลผู้เดือดร้อนและสมทบกองทุนภัยพิบัติ โดยผ่านทางสภาองค์กรชุมชนตำบลพ้อแดง ทั้งนี้ชาวตำบลได้จัดการภัยพิบัติด้วยตนเอง และยังเป็นตำบลต้นแบบด้านจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนเอง สภาองค์กรชุมชนจึงเป็นเครื่องมือกลไกที่จะช่วยให้คนในชุมชนลุกขึ้นมาจัดการแก้ไขภัยพิบัติของตนเองภายใต้วิถีชีวิตวัฒนธรรมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนพ้อแดง โดยจัดตั้งศูนย์การจัดการภัยพิบัติตำบลพ้อแดง จัดตั้งกองทุนภัยพิบัติ ฝึกอบรมอาสาสมัครภัยพิบัติ จัดระเบียบข้อบังคับกองทุน จัดหาอุปกรณ์ เช่น เรือพร้อมเครื่องยนต์ เสื้อชูชีพ วิทยุสื่อสาร(ว.แดง) ให้ความรู้แก่สมาชิกเครือข่ายและประชาชนให้สามารถช่วยเหลือซึ่งกันและกันในยามเกิดภัยพิบัติ เพื่อกระตุ้นอยู่เสมอว่าภัยพิบัติสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
จุดเริ่มต้น และพัฒนาการของของสภาองค์กรชุมชน ช่วงหลัง พ.ศ.2540 เป็นต้นมา ยังมีการตัดไม้ทำลายป่าบนป่าต้นน้ำพะโต๊ะอย่างรวดเร็ว อีกทั้งมีการถมที่ดินเพื่อสร้างบ้านเรือน และกิจการในเขตเมืองเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ปัญหาอุทกภัยที่ชาวบ้านเคยรับมือได้ กลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ยากจะแก้ไข เพราะแทนที่น้ำจะมาอย่างช้าๆ มันกลับกลายเป็นว่า น้ำมาอย่างรวดเร็วขึ้นเป็นทวีคูณ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2555 เกิดอุทกภัยในพื้นที่ภายในระยะเวลาเพียง 1 ชั่วโมง น้ำขึ้นสูงเกือบ 4 เมตร ชาวบ้านเองก็ตระหนักในปัญหาที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกปี จึงได้ใช้สภาองค์กรชุมชนตำบลพ้อแดงเป็นเวทีปรึกษาหารือในการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน จำนวน 5 หมื่นบาท ผนวกกับการสมทบของพี่น้องในพื้นที่ รวมแล้วก็ประมาณ 8 หมื่นบาท ในการจัดการกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้น โดยเริ่มจากการทำความเข้าใจกับคนในพื้นที่ ตั้งแต่ระดับผู้นำจนไปถึงพี่น้องทั่วไป มีการดำเนินการจัดทำข้อมูลพื้นที่เป้าหมาย โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในชุมชน พื้นที่เสี่ยงภัย พี่น้องที่ได้รับผลกระทบ รวมไปถึงการจัดทำ “แผนที่ทำมือ” หรือ “แผนที่ชุมชน” ด้วยตัวเอง มีการรับรองข้อมูลชั้นต้นจากประชาคมของคนพ้อแดงเอง ทำให้ระบบข้อมูลชุมชนมีความชัดเจนและแม่นยำมากขึ้น หลังจากนั้น จึงมีการจัดทำแบบสอบถาม ให้อาสาสมัครออกเดินสำรวจในตำบลเพื่อจัดทำฐานระบบข้อมูลจีไอเอส เกี่ยวกับข้อมูลชุมชน ผู้ได้รับผลกระทบจากหนักไปหาเบา เส้นทางการอพยพ รวมทั้งการจัดการศูนย์ภัยพิบัติสำหรับผู้ประสบภัย กองทุนภัยพิบัติ อบรมอาสาสมัครจัดการภัยพิบัติเป็นประจำ จัดหาอุปกรณ์ วิทยุสื่อสาร เพื่อให้สามารถจัดการกับปัญหาได้อย่างเป็นระบบที่สุดและทันท่วงที อีกทั้งร่วมประเมินสถานการณ์ต่างๆ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกพื้นที่เป็นระยะ
กลไกการดำเนินงาน ขั้นตอนจัดตั้งกลไกการทำงาน เป็นสิ่งสำคัญเพราะเป็นเหมือนการเปิดตัวโครงการหรือเปิดตัวเครือข่ายในการจัดการภัยพิบัติโดยสภาองค์กรชุมชนตำบลพ้อแดง ซึ่งต้องทำความเข้าใจกับผู้นำแกนนำ รวมถึงท้องที่ท้องถิ่นและหน่วยงานต่างๆ ที่เข้าร่วมประชุม เพื่อให้เข้าใจและเห็นความสำคัญและอาสาสมัครเข้าร่วมเป็นคณะทำงานขับเคลื่อนงาน เป็นลักษณะของการทำ “ประชาคม” ในพื้นที่ จากการประชุมผู้นำ ท้องที่และท้องถิ่นเข้าร่วมเป็นคณะทำงานและมีบุคคลเข้าร่วมเป็น “อาสาสมัคร” จัดการภัยพิบัติทุกหมู่บ้าน ซึ่งเป็นบทบาทที่สำคัญของภาคประชาชนและคณะทำงาน นอกจากนี้ยังมีแกนประสานกับบุคคล หน่วยงาน ภาคีต่างๆ ภายนอก เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายในระดับอำเภอ จังหวัด และระดับภาค
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ภัยพิบัติธรรมชาติกับอาสาสมัครและชาวบ้านในพื้นที่ หลังจากที่ได้กลไกการทำงานแล้วเพื่อให้ได้รับรู้เข้าใจภัยพิบัติและการจัดการภัยพิบัติแก่อาสาสมัคร ชาวบ้านที่เป็นแกนนำเพื่อเปิดโอกาสให้คนในพื้นที่ได้รับรู้ข้อมูลและมีส่วนร่วมในการนำเสนอปัญหา ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะและการแก้ไขปัญหาโดย”ตัวเอง”และหน่วยงานภายนอกอย่างไร จากการดำเนินงานดังกล่าวทำให้อาสาสมัครมั่นใจ มุ่งมั่นและเต็มใจเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครเพิ่มขึ้นและได้แผนการทำงานของอาสาสมัครโดยเฉพาะการจัดทำข้อมูลชุมชน
การเชื่อมโยงเครือข่ายและเสริมสร้างศักยภาพอาสาสมัคร จากปัญหาดังกล่าว ทำให้พื้นที่ได้ตระหนักถึงปัญหาและสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในแต่ละหมู่บ้าน รวมถึงภาคีจากภายนอก เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การฝึกอบรมอาสาสมัครในการช่วยเหลือ ผู้ประสพภัยพิบัติ การเชื่อมโยงเครือข่ายในการแก้ปัญหาที่ผ่านมา ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของ ลุ่มน้ำหลังสวนตอนล่าง (บางส่วนของตำบลทุ่งหลวง ตำบลละแม ตำบลหาดยาย) ว่ามีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างไร นำข้อมูลมาสรุปวิเคราะห์สังเคราะห์ปัญหา รวมถึงนำข้อมูลเรื่องสุขภาพอนามัย โดยสุ่มตรวจพื้นที่ว่า มีผลกระทบจากการใช้สารเคมีหรือไม่ รวมถึงมีการสัมภาษณ์จากปราชญ์ในชุมชน เพื่อวิเคราะห์ว่าการพัฒนาไปข้างหน้าก็ต้องหันหลังมองอดีตบทเรียนที่ผ่านมาด้วย มีการสำรวจการใช้ประโยชน์ที่ดินของแต่ละพื้นที่ชุมชน ว่ามีการปลูกพืชอะไรบ้าง จำนวนกี่ไร่ เป็นการเชื่อมโยงการแก้ไขปัญหาน้ำเสียของชุมชนด้วย เพราะเวลาหน้าแล้งจะมีน้ำขังและเป็นที่รองรับน้ำเสียจากเมืองหลังสวน รวมถึงสำรวจคลองทุกสายที่ผ่านชุมชน
การเรียนรู้ทฤษฏีและภาคปฏิบัติร่วมกับเครือข่ายภัยพิบัติภาคใต้ที่จัดขึ้นครั้งนี้ อาสาสมัครได้สวมเสื้อยืดคอกลมแขนยาวสีส้มมีลายสกรีนด้านหลังว่า “อาสาสมัครช่วยเหลือภัยพิบัติ”ซึ่งถือเป็นเครื่องแบบของอาสาสมัครที่ทุกคนใส่ด้วยความภาคภูมิใจ การอบรมให้กับอาสาสมัครนั้นวิทยากรให้ความรู้เรื่องอุบัติเหตุและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยและให้ผู้เข้าร่วมอบรมแสดงสาธิตจับคู่สลับกันเป็นคนช่วยเหลือ และคนเจ็บซึ่งก็สร้างความครื้นเครงที่สำคัญ คือ มีพยาบาลสวยๆ มาเป็นวิทยากรทำให้บรรยากาศในการฝึกอบรมไม่ตรึงเครียด การฝึกปฏิบัติการภาคสนามการสมมุติสถานการณ์จริง การฝึกอบรมมีการแบ่งทีม เตรียมตัวและอุปกรณ์ สถานที่ใช้ฝึกและการฝึกอบรมมีครูที่มีประสบการณ์จากสำนักงานปูองกันภัยฝ่ายพลเรือนจังหวัด (ปภ.) ช่วยเป็นพี่เลี้ยงและเป็นที่ปรึกษาให้ในการฝึกอบรม โดยผู้เข้ารับการอบรมจะได้ฝึกวิเคราะห์สถานการณ์ภัยพิบัติ ดูแผนที่จุดเกิดเหตุ การติดต่อประสานงานกับพื้นที่ประสบภัย การเตรียมพร้อมใช้อุปกรณ์และการขนย้ายทุกชนิด การแบ่งทีมทำงานเป็นชุดอำนวยการช่วยเหลือ ชุดตรวจการณ์ ชุดเข้าช่วยเหลืออพยพประสบภัย ชุดสนับสนุนการพยาบาล ชุดเตรียมอาหาร การฝึกแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าโดยใช้สถานที่ ที่ใกล้เคียงกับสถานการณ์จริงมากที่สุด การฝึกอบรมจะใช้สระน้ำหรืออ่างเก็บน้ำที่มีความลึกเป็นพื้นที่ฝึก ในการฝึกอบรมนี้นอกจากอาสาสมัครแล้วยังมีผู้ใหญ่ กำนัน เจ้าหน้าที่อนามัยเข้าร่วมฝึกปฏิบัติการณ์จริงในครั้งนี้ด้วย
การประสานความร่วมมือกับเครือข่ายภาคีหน่วยงาน
จากปัญหาดังกล่าว ทำให้พื้นที่ได้ตระหนักถึงปัญหาและสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในแต่ละหมู่บ้าน รวมถึงภาคีจากภายนอก เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การฝึกอบรมอาสาสมัครในการช่วยเหลือ ผู้ประสพภัยพิบัติ การเชื่อมโยงเครือข่ายในการแก้ปัญหาที่ผ่านมา ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของ ลุ่มน้ำหลังสวนตอนล่าง (บางส่วนของตำบลทุ่งหลวง ตำบลละแม ตำบลหาดยาย) ว่ามีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างไร นำข้อมูลมาสรุปวิเคราะห์สังเคราะห์ปัญหา รวมถึงนำข้อมูลเรื่องสุขภาพอนามัย โดยสุ่มตรวจพื้นที่ว่า มีผลกระทบจากการใช้สารเคมีหรือไม่ รวมถึงมีการสัมภาษณ์จากปราชญ์ในชุมชน เพื่อวิเคราะห์ว่าการพัฒนาไปข้างหน้าก็ต้องหันหลังมองอดีตบทเรียนที่ผ่านมาด้วย มีการสำรวจการใช้ประโยชน์ที่ดินของแต่ละพื้นที่ชุมชน ว่ามีการปลูกพืชอะไรบ้าง จำนวนกี่ไร่ เป็นการเชื่อมโยงการแก้ไขปัญหาน้ำเสียของชุมชนด้วย เพราะเวลาหน้าแล้งจะมีน้ำขังและเป็นที่รองรับน้ำเสียจากเมืองหลังสวน รวมถึงสำรวจคลองทุกสายที่ผ่านชุมชน การเรียนรู้ทฤษฏีและภาคปฏิบัติร่วมกับเครือข่ายภัยพิบัติภาคใต้ที่จัดขึ้นครั้งนี้ อาสาสมัครได้สวมเสื้อยืดคอกลมแขนยาวสีส้มมีปูายสกรีนด้านหลังว่า “อาสาสมัครช่วยเหลือภัยพิบัติ”ซึ่งถือเป็นเครื่องแบบของอาสาสมัครที่ทุกคนใส่ด้วยความภาคภูมิใจ การอบรมให้กับอาสาสมัครนั้นวิทยากรให้ความรู้เรื่องอุบัติเหตุและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยและให้ผู้เข้าร่วมอบรมแสดงสาธิตจับคู่สลับกันเป็นคนช่วยเหลือ และคนเจ็บซึ่งก็สร้างความครื้นเครงที่สำคัญ คือ มีพยาบาลสวยๆ มาเป็นวิทยากรทำให้บรรยากาศในการฝึกอบรมไม่ตรึงเครียด การฝึกปฏิบัติการภาคสนามการสมมุติสถานการณ์จริง การฝึกอบรมมีการแบ่งทีม เตรียมตัวและอุปกรณ์ สถานที่ใช้ฝึกและการฝึกอบรมมีครูที่มีประสบการณ์จากสำนักงานปูองกันภัยฝ่ายพลเรือนจังหวัด (ปภ.) ช่วยเป็นพี่เลี้ยงและเป็นที่ปรึกษาให้ในการฝึกอบรม โดยผู้เข้ารับการอบรมจะได้ฝึกวิเคราะห์สถานการณ์ภัยพิบัติ ดูแผนที่จุดเกิดเหตุ การติดต่อประสานงานกับพื้นที่ประสบภัย การเตรียมพร้อมใช้อุปกรณ์และการขนย้ายทุกชนิด การแบ่งทีมทำงานเป็นชุดอำนวยการช่วยเหลือ ชุดตรวจการณ์ ชุดเข้าช่วยเหลืออพยพประสบภัย ชุดสนับสนุนการพยาบาล ชุดเตรียมอาหาร การฝึกแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าโดยใช้สถานที่ ที่ใกล้เคียงกับสถานการณ์จริงมากที่สุด การฝึกอบรมจะใช้สระน้ำหรืออ่างเก็บน้ำที่มีความลึกเป็นพื้นที่ฝึก ในการฝึกอบรมนี้นอกจากอาสาสมัครแล้วยังมีผู้ใหญ่ กำนัน เจ้าหน้าที่อนามัยเข้าร่วมฝึกปฏิบัติการณ์จริงในครั้งนี้ด้วย
สิ่งที่ค้นพบ : ภูมิปัญญาในการเตรียมรับมือภัยพิบัติ
อดีตในการรับมือภัยพิบัติ ก่อนปี พ.ศ.2504 นายสุวรรณ ฤทธิโสม (ลุงดา) นายช่างขุดเรือชื่อดังแห่งลุ่มน้ำหลังสวน เล่าให้ฟังว่าประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เพราะเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำมีแม่น้ำล้อมรอบ ทั้งตำบล เช่นแม่น้ำหลังสวนต้นน้ำอำเภอพะโต๊ะ แม่น้ำคลองบางกามีต้นกำเนิด มาจากเทือกเขาสก จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในอดีตคนตำบลพ้อแดงประกอบอาชีพทำนา ทำสวน โดยการตั้งชุมชนสมัยโบราณยึดหลัดการตั้งบ้านเรือนตามริมน้ำ โดยสังเกตจากการยกพื้นสูง น่าจะสังเกตได้ว่าเหตุการณ์น้ำท่วมซ้ำซากมีอยู่แล้ว หรือสังเกตจากคำเรียก ชื่อหมู่บ้านเช่น บ้านหนองหลวง บ้านบางกา บ้านหนองหอย เป็นต้น แต่ถามคำบอกเล่าคนโบราณจะสามารถคาดการล่วงหน้า เช่น เดือน 9 –10 – 11 -12 ประชาชนจะเตรียมการในการรับมือภัยพิบัติ คือ การเตรียมข้าวสารอาหารแห้ง (ปลาเค็ม เนื้อเค็ม เผือก มัน กลอย ) และเตรียมสำรองพลังงาน เช่น ฟื้น ไฟ และเตรียมโยกย้าย สัตว์เลี้ยง เช่น วัว ควาย ขึ้นที่สูง การสำรองอาหารในยามเกิดภัยพิบัติ เช่น การใช้หัวกลอย
การเฝ้าสังเกตการณ์ภัยพิบัติในสมัยโบราณ การเฝ้าสังเกตการณ์ว่าน้ำจะท่วมเมื่อไหร่ ในช่วงระยะเวลา 4 เดือน จะใช้ภูมิปัญญาที่เน้นการอยู่ร่วมกับภัยพิบัติธรรมชาติ โดยจะสอนลูกหลานให้เรียนรู้ระยะเวลาน้ำขึ้น เช่น การใช้ไม้ปักเป็นระยะห่างประมาณ 1 คืบ จากริมน้ำ 1 ศอก 1 วา และใช้การสังเกตว่าน้ำขึ้นมาเป็นระยะเวลาเท่าใด เช่น 1 คืบ ประมาณกินข้าวอิ่ม 1 ศอก ประมาณตะวันตรงหัว (เที่ยงวัน) ซึ่งจะสามารถบอกให้คนในครอบครัวเตรียมโยกย้ายได้ทันโดยเฉพาะ
การสัญจรในยามเกิดภัยพิบัติ “เรือ” ทุกครัวเรือจะใช้เรือในการสัญจรยามเกิดภัยพิบัติ โดยต่อเรือไม้ไว้ใช้ในครัวเรือน ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่นับวันจะห่างเหินไปจากความเป็นจริงของพื้นที่ภัยพิบัติที่จะต้องดำรงไว้กับตำบลพ้อแดง เพราะปัจจุบันมีการใช้เรือพลาสติกแทนการใช้เรือไม้
อุปกรณ์ใช้เตือนภัย “อูด” คือ อุปกรณ์ที่คนในสมัยก่อนใช้เตือนภัยในชุมชน ทำจากเขาควาย ซึ่งเมื่อเป่าจะมีเสียงดังเหมือนหวูดรถไฟ นอกจากการปักไม้เพื่อวัดระดับน้ำแล้ว หวูดยังเป็นเสียงเตือนภัยที่เป็นที่คุ้นหูของคนในตำบลพ้อแดง
อุปสรรคในการดำเนินงาน
- ปัญหาด้านอุทกภัย เพราะพื้นที่ตำบลพ้อแดงอยู่ในที่ราบลุ่มและใกล้กับแม่น้ำ ทำให้พื้นที่ตำบล เป็นที่รับน้ำ ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ยากในการแก้ไขปัญหาให้หมดไปในระยะเวลาอันสั้น
- การดำเนินงานยังขาดการมีส่วนร่วม เพระประชาชนตำบลพ้อแดงมีหลากหลายอาชีพ ต่างคนต่างมุ่งหน้าทำงาน ดังนั้นการรวมตัวเพื่อร่วมกิจกรรมต่างๆในตำบลพ้อแดงจึงเป็นไปได้ยาก ประกอบกับ เศรษฐกิจในตำบล อยู่ในระดับที่ไม่เพียงพอต่อรายจ่ายที่เกิดขึ้น เพราะตำบลพ้อแดงมีเศรษฐกิจ ที่ไม่สอดคล้องกับรายจ่ายที่ในตำบลต้องจ่าย รวมทั้งราคาผลผลิตตกต่ำ เนื่องจากเศรษฐกิจในปัจจุบันไม่เอื้ออำนวยกับชาวเกษตรกร แต่ราคาปุ๋ยกลับมีราคาที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ชาวสวนมีปัญหาเรื่องหนี้สินที่เพิ่มขึ้น
แผนดำเนินงานต่อ
แผนการขับเคลื่อนของสภาองค์กรชุมชนตำบลพ้อแดง มี 3 ช่วงของระยะเวลาของการเกิดภัยพิบัติ ได้แก่ แผนเตรียมการ (ก่อนเกิดเหตุ) แผนการช่วยเหลือและบรรเทาภัยพิบัติ (ช่วงเกิดเหตุ) และแผนเยียวยาฟื้นฟู ดังนี้
- การเตรียมการก่อนเกิดเหตุ ตำบลพ้อแดงเป็นพื้นที่มีลักษณะเป็นท้องกระทะ เป็นพื้นที่รับน้ำ ทำให้เกิดน้ำท่วมทุกๆ ปี การเตรียมการก่อนเกิดภัยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยได้มีการวางแผนงานดังนี้
1.1 การขยายศูนย์ประสานงานและช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ
1.2 การเพิ่มกำลังการผลิตน้ำดื่ม เพื่อให้เพียงพอเมื่อเกิดภัยพิบัติ
1.3 การจัดสถานที่พักพิงผู้ประสบภัย
1.4 การระดมทุน เพื่อสมทบเข้ากองทุนภัยพิบัติตำบลพ้อแดง
1.5 การเตรียมความพร้อมอาสาสมัคร ชุดต่างๆ ในการช่วยเหลือภัยพิบัติ
2.การช่วยเหลือผู้ประสบภัยขณะเกิดเหตุการณ์
2.1 การติดต่อประสานงานพื้นที่เกิดภัย
2.2 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ ที่เกิดเหตุเพื่อหนุนเสริมและร่วมมือปฏิบัติการ
2.3 จัดหาวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือที่เหมาะสมกับพื้นที่และสถานการณ์ของเหตุการณ์
2.4 จัดทีมช่วยผู้ประสบภัย วางแผน วิเคราะห์ การปฏิบัติงานรวมกับหน่วยงานในพื้นที่
- การฟื้นฟูหลังเกิดภัย
3.1 การสำรวจความเสียหายหลังเกิดภัยพิบัติ
3.2 การช่วยเหลือเยียวยาเบื้องต้น
3.3 การวิเคราะห์ปัญหาหลังเกิดภัยพิบัติ
3.4 การพัฒนาอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้
3.5 การซ่อมแซมที่อยู่อาศัยในกรณีได้รับผลกระทบ
ติดต่อสอบถาม
นางสาวรัตจนา พรหมสถิต 63 หมู่ที่ 2 ต.พ้อแดง อ.หลังสวน จ.ชุมพร
โทร. 094-512-240