โดยสุวัฒน์ คงแป้น
ตําบล “ตํามะลัง” เดิมเป็นเกาะเล็กๆ มีผู้คนอาศัยอยู่ไม่กี่ครัวเรือน ต่อมาได้มีชาวอินโดนีเซียเดินทาง มาค้าขายโดยเรือ ได้แวะพักแรมบนเกาะดังกล่าว และบังเอิญได้ไปพบนกอินทรีย์ถูกผูกติดไว้กับตอนไม่ที่บน เกาะ ดังนั้น ชาวอินโดนีเซียจึงเรียกเกาะดังกล่าวว่า “ตํามะลัง” ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า “ผูกอินทรี” ต่อมาภายหลังเมื่อมีผู้คนอพยพมาอยู่อาศัยเพิ่มขึ้น จึงได้มีการจัดตั้งเป็นหมู่บ้านและตําบล ซึ่งใช้ชื่อว่า “ตําบลตํามะลัง” ทั้งนี้องค์การบริหารส่วนตําบลตํามะลัง ได้ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2539 มีทั้งหมด 3 หมู่บ้าน มีประชากร 1,281 ครัวเรือน 4,895 คน นับถือศาสนาอิสลาม ประชากรส่วนใหญ่มีทําประมงเป็นอาชีพ หลัก รองลงมาคือค้าขาย รับจ้าง และการเกษตร ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารคือภาษาไทยและมลายู (ยาวี) สภาพโดยทั่วไปของพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเกาะมีน้ำทะเลและป่าชายเลนล้อมรอบ เหมาะแก่การทําประมง ขนาดเล็ก โดยอยู่ห่างจากจังหวัดสตูล 9 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทาง 15 นาที
ชาวตำมะลัง ตั้งบ้านเรือนอยู่ในบริเวณป่าชายเลนและเจ้า ซึ่งไม่มีที่ดินเป็น ของตนเองเพื่อการอยู่อาศัย จากการสำรวจข้อมูล เมื่อปี พ.ศ. 2558 พบว่ามีผู้เดือดร้อนใน 2 หมู่บ้านคือ บ้านตํามะลังเหนือและตํามะลังใต้รวม 500 ครัวเรือนและมีความประสงค์เข้าร่วมโครงการบ้านมั่นคงจํานวน 325 ครัวเรือน โดยเป็นชุมชนตํามะลังเหนือ 178 ครัวเรือน ชุมชนตํามะลังใต้ 147 ครัวเรือน และจากผลการดำเนินงาน ที่มีการพัฒนาในทุกมิติ โดยใช้งานด้านที่อยู่อาศัยที่เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเมืองเป็นเครื่องมือในการสร้างเปลี่ยนแปลงทั้งภายในชุมชน และเชิงโครงสร้างนโยบาย
จากปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย ซึ่งอยู่ในที่ดินป่าชายเลน ชุมชนแออัด บ้านทรุดโทรม ครัวซ้อน บ้านเช่า และไม่มีงบสร้างบ้าน การอยู่อาศัยในเขตป่าชายเลนซึ่งมีข้อจำกัดทางกฎหมายด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน ดังนั้นแนวทางแก้ไขปัญหาลำดับแรกคือการเจรจาหาทางออกร่วมกัน เพื่อปรึกษา/หาแนวทางในการทำงาน ร่วมกันลงพื้นที่ในการวางแผนการทำงานพัฒนาร่วมกัน ให้สอดคล้องกับเงื่อนไขกฎระเบียบของหน่วยงานที่ดิน เช่นการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่า และมีการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างชุมชนกับสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 34 และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน)ภาคใต้ ในการปลูปป่าชายเลน ปล่อยพันธ์สัตว์น้ำ การจัดการขยะ
ในการดำเนินงานจะมีการเชื่อมโยง และประสานความร่วมมือ ระหว่างองค์กรชุมชนประเด็นงานออื่นๆ เครือข่ายองค์กรชุมชน ประชาสังคม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/หน่วยงานภาครัฐ ทำให้ภาคี/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม เช่นการสนับสนุนงบประมาณ ร่วมเป็นคณะทำงานเมือง สนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค สนับสนุนกระบวนการออกแบบการวางผัง การขออนุญาตก่อสร้าง การออกบ้านเลขที่ การขอน้ำประปาและไฟฟ้า รวมทั้งได้ร่วมแลกเปลี่ยนและวางแผนการพัฒนางานทั้งในระดับเมืองและระดับจังหวัดกับขบวนองค์กรชุมชนงานประเด็นต่างๆเป็นอย่างดี
เริ่มจากการสร้างทุนตัวเอง ( พัฒนาระบบทุนชุมชน ) เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ชุมชน เครือข่าย สร้างระบบการคุ้มครองทางสังคมโดยชุมชนท้องถิ่น ที่มุ่งให้เกิดการออมเงินร่วมกัน เพื่อการดูแล ช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ครอบคลุมการพัฒนาขั้นพื้นฐานและการพัฒนาในมิติอื่นๆ โดยการมีส่วนร่วมตั้งแต่ระดับครัวเรือน ชุมชน เครือข่าย และภาคีการพัฒนา ทำให้เกิดความร่วมมือกับท้องถิ่น เป็นการเชื่อมโยงชุมชน คน และ ทุนพื้นฐานในแต่ละเมือง/เขต เพื่อจัดการร่วมกันในเครือข่าย สามารถดูแลครอบคลุมพื้นฐาน สุขภาพรักษาพยาบาลการเจ็บป่วย การศึกษา การสร้างอาชีพรายได้ เป็นต้น ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มอออมทรัพย์โครงการบ้านมั่นคงจำนวน 131 คน มีเงินออมทั้งสิ้นจำนวน 1,135,531 บาท โดยแยกเป็น เงินออมสัจจะ จำนวน 102,166 บาท เงินออมเพื่อที่อยู่อาศัยจำนวน 283,878บาท เงินออมสวัสดิการจำนวน 102,869บาท กองทุนรักษาดินและบ้านจำนวน 68,760บาท และเงินกองทุนหมุนเวียนจำนวน 577,858บาท
จากนั้นก็มีการพัฒนายกระดับกองทุนที่ยู่อาศัยเมือง/ตำบล โดยการบริหารงบอุดหนุนเพื่อที่อยู่อาศัยที่ทางสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สนับสนุนให้ครัวเรือนละ 25,000 บาท ซึ่งเป็นงบส่วนที่ทาง พอช.ให้ฟรี ดังนั้นเพื่อให้เกิดความยั่งยืนและเป็นต้นทุนให้ชุมชนได้พัฒนาไปสู่เรื่องอื่นๆ จึงมีการพัฒนาเป็นกองทุนที่อยู่อาศัย โดยให้สมาชิกยืมไปปรับปรุงเรื่องที่อยู่อาศัยแล้วคืนมาที่กลุ่มออมทรัพย์
ที่สำคัญก็คือการมีส่วนร่วมของทุนคน ทุกภาคส่วนในออกแบบวางแผนปรับปรุงผังและบ้านแล้ว รวมถึงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคของชุมชน เช่น ถนนทางเดิน คูระบายน้ำ สะพาทางเดิน ซ่อมแซมบาลาย การจัดการขยะ โรงเฝ้ากุโบ เขื่อนกั้นดิน ถนนทางเดิน อาคารอเนกประสงค์ โรงเฝ้ากุโบร์ เป็นต้น
การดำเนินงานไม่เพียงทำให้ มีบ้านที่แข็งแรงที่ระบบสาธารณูปโภคที่ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้คนในชุมชนมีจิตสาธารณะ ชาวบ้านให้ความร่วมมือเสียสละพื้นที่ส่วนตัวให้เป็นพื้นที่สาธารณะ เช่น การแบ่งปันที่ดิน การขยับบ้าน เพื่อทำทางเดินในชุมชนก่อให้เกิดความสัมพันธ์กับท้องถิ่น ท้องที่ ท้องถิ่นให้ความร่วมมือ เชื่อมั่นในชุมชน คณะทำงานมากขึ้น บางบ้านมีทักษะในการบริหารจัดการกลุ่ม เกิดการรวมกลุ่มของคนในพื้นที่ และต่อยอดไปสู่การพัฒนาด้านอื่นในชุมชน/เมือง นำไปสู่การยอมรับจากหน่วยงาน โดยเฉพาะหน่วยงานท้องถิ่น ที่ชุมชนสามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาของตัวเองได้