โดยสุวัฒน์ คงแป้น
“ป่าตอง” แหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกรู้จัก และใฝ่ฝันอยากจะเดินทางมาสัมผัส ภายใต้การเติบโตอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ป่าตองต้องเชิญกับปัญหามากมายที่รอการแก้ไข หลายฝ่าย มองว่า หากปล่อยให้ปัญหาเกิดขึ้นโดยไม่ได้รับการแก้ไข จะทำให้ป่าตองไม่ต่างจากพัทยา เมื่อ 20 ปีที่แล้ว แนวคิดที่จะผลักดันให้มีการปกครองรูปแบบพิเศษในพื้นที่ป่าตองจึงได้จุดประกายขึ้น
แนวคิดของสภาองค์กรชุมชนเกี่ยวกับการท่องเที่ยว และการจัดการสิ่งแวดล้อม ชายหาดและท้องทะเล ป่าตอง จึงเกิดขึ้น
สภาองค์กรชุมชนเทศบาลเมืองป่าตอง เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มองค์กรภาคประชาชนที่ดำเนินกิจกรรมการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาของตัวเองขึ้น โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อให้ชุมชนท้องถิ่นเป็นแกนหลักในการกำหนดทิศทางการพัฒนาร่วมกับ หน่วยงานภาคีภาครัฐ และเอกชนโดยมีเป้าหมายให้สภาองค์กรชุมชนเป็นเวทีประชุมเพื่อหาทางออกและคลี่คลายปัญหาของชุมชน รวมถึงการรวบรวมข้อเสนอจากกลุ่มองค์กรต่าง ๆ เพื่อเสนอสู่ระดับนโยบาย ที่
สภาองค์กรชุมชนเทศบาลเมืองป่าตอง ซึ่งมีกลุ่มองค์กรจำนวน 15 กุล่มและมีเวทีพุดคุย ปรึกษาหารือกันเป็นประจำทุกเดือน ทั้งปัญหาของกลุ่ม ปัญหาของเมือง มาระยะหนึ่งแล้วผ่านกลุ่มองค์กรชุมชน นักธุรกิจและผู้ที่เกี่ยวข้องรวมถึงประชาชนทั่วไปเพื่อผลักดัน “ป่าตองเมืองปกครองพิเศษ”
นอกจากนี้ สภาองค์กรชุมชนยังร่วมกันแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขณะที่ สภาองค์กรชุมชนมีการสำรวจข้อมูล และระดมปัญหา ผลกระทบอยู่ตลอดเวลาเพื่อไม่ให้ส่งผลต่อเป้าหมายด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะปล่อยน้ำเสียจากโรงบำบัดน้ำเสียของเทศบาลเมืองป่าตอง ลงคลองปากบางและไหลลงทะเล
ผลิตน้ำดี ใช้น้ำเสียนำน้ำกลับมาใช้ใหม่
อีกปัญหาหนึ่งที่พบ คือ ปริมาณความต้องการใช้น้ำยังมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติทำให้แหล่งน้ำจืดได้รับผลกระทบจากน้ำทะเลเจือปน ดังนั้นแหล่งน้ำจากภูเขาและน้ำบาดาลจึงถูกน้ำมาใช้ทดแทนโดยขาดมาตรฐานในการควบคุมคุณภาพน้ำให้ถูกต้องถูกตามสุขอนามัย และไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบที่เป็นลูกโซ่สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และการกระทบต่อทัศนียภาพที่สวยงามของเมืองป่าตองได้ในอนาคตจึงได้ใช้แนวคิด “การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่” เป็นการใช้ระบบบำบัดน้ำเสียและผลิตน้ำใหม่ โดยไม่ปล่อยน้ำเสียสู่สิ่งแวดล้อมภายนอกโดยสูญเปล่า
ขยะแลกผัก นโยบายการกำจัดขยะ
เมื่อจำนวนนักท่องเที่ยวยิ่งมาก นั่นหมายถึงจำนวน “ขยะ” ที่เพิ่มมากขึ้นตามตัวเลขของผู้มาเยือน ในแต่ละวันเกาะแห่งไข่มุกอันดามันเกาะนี้นั้นมีขยะจำนวนมากมายหลายตัน รวมถึงขยะจากป่าตองที่เทศบาลตระเวนเก็บจำนวน 100-150 ตันต่อวัน จึงต้องหาทางลดขยะ” “สภาองค์กรชุมชนร่วมกับเทศบาลกำลังรณรงค์ให้คนคัดแยกขยะจากต้นทาง ตอนนี้ทางเทศบาลได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากกลุ่มโรงแรมและร้านอาหารใหญ่ในการคัดแยกลังกระดาษ กระป๋อง เพื่อนำไปขายและนำเศษผัก ผลไม้ทำปุ๋ยชีวภาพเพื่อเอามาล้างท่อระบายนํ้าหรือรดนํ้าต้นไม้
มะพร้าวอ่อน รสชาติหอมชื่นใจ ที่นักท่องเที่ยวนิยมรับประทานริมทะเล กลายเป็นปัญหาของเทศบาล เพราะจากนํ้าหนักต่อลูกที่มาก และเมื่อกลายเป็นขยะก็ต้องการพื้นที่บนรถขยะที่มากเช่น กัน เพราะทางเทศบาลต้องจัดเก็บลูกมะพร้าวอ่อนที่เคยเป็นอาหารต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกแสนอร่อยนี้วันละกว่า 3,000 ลูกเพื่อไปเผาทำลาย จากการประเมินปัญหาทั้งหมดแล้ว จึงพบต้นตอของปัญหาที่ทำให้ขยะนั้นมีนํ้าหนักมากคือมะพร้าวอ่อน จึงปรึกษาผู้เชี่ยวชาญและได้รับคำแนะนำว่า ให้นำมะพร้าวอ่อนมาสับและผสมกับใบไม้สดและเศษผักตามตลาด นำมากองรวมกัน พรวนกองขยะทุกอาทิตย์ให้อากาศและจุลินทรีย์เข้า และมะพร้าวจะแปรสภาพเป็นปุ๋ยคอมโพส ซึ่งตอนนี้กองปุ๋ยมะพร้าวอ่อนเหล่านี้อยู่ที่โรงบำบัดนํ้าเสียวิธีนี้ทำให้ลดทั้งพื้นที่และนํ้าหนักไม่ต้องขนมะพร้าวอ่อนไปทิ้งแล้ว
การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมดังกล่าวข้างต้นประสบความสำเร็จได้ด้วยความร่วมมือจากหลายฝ่ายทั้งภาควิชาการ นักธุรกิจเอกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งความร่วมมืออย่างดีระหว่างสภาองค์กรชุมชนเทศบาลเมืองป่าตอง ซึ่งเป็นภาคประชาชนกับภาคท้องถิ่นอย่างเทศบาลเมืองป่าตอง ต่างก็ทำงานกันด้วยความเข้าใจและตระหนักรู้ในการทำงานแบบเสริมพลัง ทำให้ปัญหาสำคัญและมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นอย่างปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ก็ได้รับการแก้ไขให้ลุล่วงไปได้