โดย พอช.สำนักงานภาคเหนือ
ตำบลบ้านทับ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบไปด้วย 13 หมู่ที่ดังนี้ หมู่1 บ้านแม่ขี้มูก,หมู่2 บ้านมืดหลอง, หมู่3 บ้านแม่ลอง, หมู่4 บ้านแม่ป็อก, หมู่5 บ้านสบลอง, หมู่6 บ้านทุ่งแก, หมู่7 บ้านแม่แอบ,หมู่8 บ้านอมแรด, หมู่9 บ้านกิ่วสะแวก, หมู่10 บ้านกองก๋าย,ถวน, หมู่11 บ้านอมสูง, หมู่12 บ้านขุนปอน,ห้วยวอก, หมู่13 บ้านแม่ขี้มูกน้อย มีจำนวนประชากรทั้งตำบลรวม 1,293 หลังคาเรือน ประกอบด้วย 3 ชาติพันธุ์คือ คนพื้นเมือง ปกาเกอะญอ และ ลัวะ ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชัน มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือติดกับต.ปางหินฝน อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
ทิศใต้ติดกับต.บ่อสลี อ.ฮอด จ.เชียงใหม่
ทิศตะวันออกติดกับต.กองแขก อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
ทิศตะวันตกติดกับ ต.แม่สะเรียง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
แผนที่ตำบลบ้านทับ
การประกอบอาชีพหลักในปัจจุบันคือ ทำไร่มีทั้ง ไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ฟักทอง ข้าวไร่ ไร่หมุนเวียน เลี้ยงสัตว์ บางหมู่บ้านมีการทำสวนกาแฟในร่มไม้(กองกาย) และมีนาเพียงเล็กน้อย บ้านสองธารมีการทอผ้าตีนจกเป็นอาชีพเสริม
ปัจจุบันชาวบ้านประสบกับปัญหาหนี้สินจากการปลูกข้าวโพดและถูกสังคมจับตาว่าเป็นต้นเหตุของปัญหาไฟป่าหมอกควัน การบุกรุกทำลายป่า เขาหัวโล้น ฯลฯ นำมาสู่การความร่วมมือระหว่างชาวบ้านกับภาคส่วนต่างๆ ในการพัฒนาค้นหาทางเลือกทางออกด้านเศรษฐกิจรายได้ของชุมชนควบคู่กับการจัดการทรัพยากรให้เกิดความยั่งยืน โดยมีการจัดแบ่งช่วงเวลาของสถานการณ์และการดำเนินงานที่สำคัญในพื้นที่ไว้ ดังนี้
ช่วงเวลา/ปี | 2558 | 2559 | 2560 | 2561 |
ที่มา | -สถานการณ์ไฟป่าหมอกควันรุมเร้า
-การขยายตัวของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทำให้เกิดการบุกรุกป่าเพิ่มขึ้น -นโยบายการทวงคืนผืนป่า |
ประสบปัญหาหนี้สินจากการปลูกข้าวโพดสะสมต่อเนื่องเพิ่มขึ้นทุกปี | ให้น้ำหนักการพัฒนาระบบเศรษฐกิจทางเลือกทดแทนการปลูกข้าวโพด โดยลงลึกเข้มข้นเรื่องไผ่ เนื่องจากไผ่เป็นพืชที่ตลาดต้องการ ตอบโจทก์ทั้งเรื่องรายได้และการเพิ่มพื้นที่สีเขียว | เน้นเรื่องไผ่และไม้เศรษฐกิจอื่นผสมผสาน และมีกาแฟที่บ้านกองกาย(16ราย)โดยใช้แนวทางการบริหารจัดการแบบกลุ่มในรูปแบบ วิสาหกิจชุมชน จัดการตนเอง โดยมีสภาองค์กรชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลและประชาสังคม(สถาบันอ้อผญา มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มูลนิธิไทยรักษ์ป่า)เป็นพี่เลี้ยง |
สิ่งที่ทำ | -มีการสำรวจรังวัด กันเขตพื้นที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัยออกจากเขตเตรียมประกาศอุทยานแห่งชาติแม่โถ จำนวน20,000 กว่าไร่โดยใช้แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ 1:4000
-ถวายพื้นที่คืนให้เป็นป่าอุทยานแห่งชาติแม่โถจำนวน200,000กว่าไร่ – ปลายปี2558 ริเริ่ม “แม่แจ่มโมเดลแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน” -หมู่ที่1บ้านสองธาร เลิกปลูกข้าวโพดทั้งหมู่บ้าน หันมาปลูกข้าวไร่ เลี้ยงวัว และเป็นพื้นที่พัฒนาโมเดลเรื่องป่าอเนกประโยชน์ |
ดำเนินการตามแผนแม่แจ่มโมเดลกล่าวคือ
-มีการจัดการไฟป่าหมอกควันอย่างเป็นระบบตั้งแต่การทำแนวกันไฟ การจัดการเชื้อเพลิง การตั้งจุดตรวจสกัดคนเข้าป่า การลาดตระเวน ร่วมกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ -เริ่มปลูกไผ่ที่บ้านสองธาร ภายใต้โครงการสร้างป่าสร้างรายได้ ป่า3อย่างประโยชน์4อย่าง โดยอาศัยม.19 พรบ.ป่าสงวนแห่งชาติ |
ขยายโครงการแม่แจ่มโมเดลเป็นแม่แจ่มโมเดลพลัส เน้น 3 เป้าหมายคือ สิทธิที่ดินทำกิน เศรษฐกิจปากท้อง เพิ่มพื้นที่ป่า/พื้นที่สีเขียว โดยมีกิจกรรมย่อยๆดังนี้
-ศึกษาพันธุ์ไผ่ที่เหมาะสม ตอบโจทก์พื้นที่(ซางหม่น ฟ้าหม่น ไผ่หก ไผ่หวาน) – สร้างความเข้าใจกับชาวบ้านผ่านการประชุมแต่ละหมู่บ้าน พร้อมกับเปิดรับสมาชิกกลุ่มคนที่สนใจ -ศึกษาดูงานจังหวัดน่านและจังหวัดลำปาง -จัดทำข้อมูลเกษตรกร |
-จัดตั้งกลุ่มและจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจ
-สร้างศูนย์การเรียนรู้ไผ่ครบวงจร(ฝึกอบรม เพาะกล้า แปรรูป ฝึกอบรม ฯลฯ) – จัดอบรมไผ่เรื่อง การเพาะปลูก และการแปรรูป – สนับสนุนกล้าไผ่แก่เกษตรกรเพื่อนำไปเพาะปลูกในที่ทำกิน |
ผลที่เกิดขึ้น | – พื้นที่ที่สำรวจรังวัดถูกกันออก มีแนวเขตที่รับรู้ร่วมกันของแต่ละหมู่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบล และป่าไม้รับรู้แนวเขตร่วมกัน
– ปัญหาคดีแห้ง(ปักป้ายยึดพื้นที่คืนโดยไม่พบเจ้าของ)ลดลง |
-การเกิดไฟป่าลดลง
-ม.1,ม.10,ม.13 เป็นชุมชนริเริ่มดำเนินโครงการสร้างป่าสร้างรายได้ โดยเน้นหนักไปที่ม.1 |
-ได้สมาชิกที่สนใจเข้าร่วม5 หมู่ที่จำนวน 81ครอบครัว รวมพื้นที่ 200ไร่
-เกิดฐานข้อมูลเกษตรกร |
-สนับสนุนกล้าไผ่ซางหม่น 6,000กล้า และ
ฟ้าหม่นจำนวน 4,000กล้า เพื่อปลูกให้ทันฤดูฝนปี2561 |
แนวทางสำคัญ คือ การจัดการตนเองของชุมชนในด้าน เศรษฐกิจชุมชน ทรัพยากร การจัดการไฟป่าหมอกควัน พัฒนากลไกภายในให้เข้มแข็ง ด้านสิทธิชุมชนต้องอยู่อย่างถูกกฎหมาย และอยู่อย่างยั่งยืน อาศัยการจัดการร่วม โดยเฉพาะเรื่องป่าไม้ที่ดิน บนหลักการตลาดนำการฟื้นป่า สร้างรายได้ด้วยการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ด้วยวิธีการผลิตหลากหลาย ใช้พื้นที่น้อย รายได้เท่าเดิม-รายได้เพิ่มขึ้น
อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญคือการตอบแทนคุณนิเวศน์ รายได้ส่วนหนึ่งนั้นต้องกลับไปสู่การฟื้นฟูป่า ตัวอย่างเช่น กำไรของวิสาหกิจนำไปสนับสนุนกองทุนการจัดการป่า ,รับการสนับสนุนกล้าไผ่ 1 กล้า คืน 3 กล้าเพื่อขยายพื้นที่สีเขียว และการใช้พืชที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยการฟื้นฟูดิน ลดการชะล้างหน้าดิน สร้างความชุ่มชื้นให้แก่ดิน ไม่ใช้สารเคมีจะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในระยะยาว และสามารถพัฒนาการใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ตอบโจทย์ ชุมชน ตลาด เป็นที่ต้องการของตลาด นำไปสู่การจัดการทรัพยากรที่ยั่งยืน
ความสำเร็จเหล่านี้เกิดจากการจัดระเบียบที่ดิน พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศน์ทางภูมิศาสตร์ โดยฟื้นฟูป่าและเพิ่มพื้นที่สีเขียว ดำเนินการจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่นเรื่องการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อรับรองคณะกรรมการฯ ระดับหมู่บ้าน พร้อมกับพัฒนาเศรษฐกิจปากท้อง คุณภาพชีวิต ด้วยการจัดการระบบการผลิตที่ตอบสนองทั้งรายได้และสิ่งแวดล้อม และสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อค้นหาทางเลือกที่เหมาะกับบริบทพื้นที่ เป้าหมายการผลิต และหาสมาชิกพร้อมจัดตั้งกลุ่ม 2 ระดับคือ ระดับชุมชน และ ระดับตำบล เพื่อสร้างการรับรู้กับชุมชนและสังคม เช่น การฝึกอบรม การสร้างศูนย์การเรียนรู้ไผ่ สร้างPage Forestbook รวมถึงจัดทำข้อมูลภูมิศาสตร์สนเทศเพื่อการพัฒนาระบบไผ่ฯ และการติดตามการจัดการทรัพยากรของชุมชนเพื่อสนับสนุนปฏิบัติการระดับชุมชน
อีกปัจจัยที่มีความสำคัญต่อผลสำเร็จคือการใช้เทคโนโลยี ด้วยเทคนิคการใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศ ภายใน ภายนอก การวางแผนการติดตาม การสื่อสาร เข้ามาช่วยในการคิดและการจัดการเชิงระบบ พื้นที่ – นโยบาย, ต้นน้ำ – กลางน้ำ – ปลายน้ำ และเทคนิคการเชื่อมพื้นที่ไปหานโยบาย, การเชื่อมนโยบายมาหาท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนตามแนวทางที่กำหนดร่วมกัน การหา การใช้ช่องทาง กฎหมายที่มีอยู่ให้สามารถขับเคลื่อนได้ ด้วยการทำงานที่มีความยืดหยุ่น เอาชุมชนเป็นตัวตั้ง จึงสามารถปรับให้เข้ากับบริบทสถานการณ์ชุมชน และการเลือกใช้ คำนึงที่ถึงพืชที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและประโยชน์ที่หลากหลาย ด้วยการผลิตหลากหลายในพื้นที่น้อย จำกัด แต่ให้ผลผลิตเท่าเดิมหรือมากกว่า
แนวทางดังกล่าวได้ขับเคลื่อนผ่านกลไกการจัดตั้งกลุ่มปลูกไผ่ในระดับชุมชน มีการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน “ไผ่เงินล้าน ต.บ้านทับ” โครงสร้างประกอบด้วย ประธาน รองประธาน คณะกรรมการ 13 คน และสมาชิก อีกทั้งยังได้องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านทับทำหน้าที่เลขาฯในระดับพื้นที่ตำบล ประสานการประชุมและงานเอกสาร ทำงานร่วมกับคณะทำงานแม่แจ่มโมเดลพลัส และคณะทำงานแม่แจ่มโมเดลพลัส มีภาคีหลายฝ่ายทำงานร่วมกัน โดยมีองค์กรภาคประชาสังคมทำหน้าที่เป็นกองเลขาฯร่วมกับฝ่ายปกครองได้แก่มูลนิธิฮักเมืองแจ่ม สถาบันอ้อผญา มูลนิธิไทยรักษ์ป่า และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งทำหน้าที่ ร่วมกำหนดทิศทาง จัดทำแผน สนับสนุนความรู้ สนับสนุนงบประมาณบางส่วน และประสานงานภาคียุทธศาสตร์ (อาทิ อบต.บ้านทับ ฝ่ายปกครองอำเภอ เกษตรอำเภอ ทสจ.เชียงใหม่ สำนักอนุรักษ์ที่16 ภาคเอกชนจังหวัดเชียงใหม่ พาณิชย์จังหวัด ประชาสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มทร.ล้านนา กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม สภาเกษตรกรแห่งชาติ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติธุรกิจเอกชน เช่น บริษัทซีพี เอไอเอส เซ็นทรัล สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการดำเนินการทั้งระบบตั้งแต่ การเพาะปลูก (ต้นน้ำ) การแปรรูป (กลางน้ำ) การพัฒนาตลาด (ปลายน้ำ) โดยมีกิจกรรมหลักๆ ร่วมกันคือสร้างการเรียนรู้เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนร่วมกัน –การกำหนดนโยบาย/วางแผน – การบริหารจัดการ โดยได้เตรียมการจัดตั้งเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกไผ่ อ.แม่แจ่ม เพื่อเป็นกลไกเชื่อมโยงองค์ความรู้ กระบวนการผลิต และการตลาด
การจัดการระบบไผ่สู่เกษตรยั่งยืนในปัจจุบัน
มีทั้งหมด 4 ระบบดังนี้คือ
รูปแบบA ประกอบด้วย ไผ่ เป็นหลักและมีไม้เศรษฐกิจ ไม้ใช้สอย อื่นๆเป็นไม้ประกอบ แนวทางนี้มีคณะทำงานแม่แจ่มโมเดลพลัสทำหน้าที่เป็นคณะทำงานหลักสนับสนุนส่งเสริม
รูปแบบB ไม้ไผ่เกือบ100%มีไม้อื่นๆเพียงเล็กน้อย
รูปแบบC ประกอบด้วยกาแฟเป็นหลัก โดยมี ไม้ผล ไม้เศรษฐกิจ ไผ่เป็นองค์ประกอบเสริม กลุ่มที่สนับสนุนหลักได้แก่ บริษัทซีพีและคณะทำงานแม่แจ่มโมเดลพลัส
รูปแบบD เป็นระบบผสมผสานประกอบด้วยไผ่ ไม้ผล ไม้เศรษฐกิจ ไม้ใช้สอย พืชสมุนไพร และพืชอื่นๆตามแนวทางการจัดการป่าอเนกประโยชน์ตามศาสตร์พระราชา และโคกหนองนาโมเดล กลุ่มที่สนับสนุนหลักได้แก่ หน่วยงานป่าไม้ CSEเชียงใหม่ คณะทำงาน มทร.ล้านนา และ อ.ยักษ์ วิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
การกระจายของระบบไผ่สู่เกษตรกรรมยั่งยืนใน13 หมู่ที่ของตำบลบ้านทับ
หมู่ที่ | รูปแบบA | รูปแบบB | รูปแบบC | รูปแบบD | ไร่หมุนเวียน | ไร่ข้าว |
หมู่ที่1 | P | P | P | P | ||
หมู่ที่2 | P | |||||
หมู่3 | P | |||||
หมู่ที่4 | P | P | ||||
หมู่ที่5 | P | P | P | P | ||
หมู่ที่6 | P | |||||
หมู่ที่7 | P | |||||
หมู่ที่8 | P | P | ||||
หมู่ที่9 | P | |||||
หมู่ที่10 | P | P | P | |||
หมู่ที่11 | P | |||||
หมู่ที่12 | P | P | ||||
หมู่ที่13 | P | P | ||||
รวม | 5หมู่บ้าน | 2หมู่บ้าน | 1หมู่บ้าน | 1หมู่บ้าน | 3หมู่บ้าน | 13หมู่บ้าน |
ผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงการจัดการองค์ความรู้ชุมชน
ประเด็น | คุณค่า | มูลค่า |
เศรษฐกิจ | -มีการเปลี่ยนแปลงการผลิตจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในระบบเชิงเดี่ยวสู่การผลิตที่หลากหลายและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
-หนี้สินไม่เพิ่มขึ้น เนื่องจากไม่ต้องกู้เงินลงทุนเพื่อซื้อปัจจัยการผลิตและเสี่ยงกับราคาผลผลิตที่ไม่แน่นอน อีกทั้งการผลิตในรูปแบบใหม่มีต้นทุนที่ต่ำกว่าเดิม เนื่องจากได้รับการสนับสนุนกล้าพันธุ์ ประกอบกับลงทุน 1 ครั้งสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในระยะยาว |
-มีการผลิตอย่างน้อย4รูปแบบ จำนวน 81 ครัวเรือน จาก5หมู่บ้านในตำบลบ้านทับ คือ
รูปแบบA รูปแบบB รูปแบบC รูปแบบD -เริ่มมีรายได้จากผลผลิตบางชนิด เช่น ถั่วแดงในไร่กาแฟ(บ้านกองกาย) 15,000บ./ครัวเรือน/ปี โดยใช้ระยะเวลาปลูก 3 เดือน คือระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม |
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | -หยุดการบุกรุกในพื้นที่ เนื่องจากมีขอบเขตที่ชัดเจนร่วมกันระหว่างชุมชน-อบต.บ้านทับ-หน่วยงานป่าไม้ในพื้นที่
-สถิติการเกิดไฟป่าหมอกควันในพื้นที่ลดลง -ได้พื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นจากพื้นที่เพาะปลูกที่ใช้ไผ่เป็นไม้เบิกนำ และจากการคืนพื้นที่เกษตรให้เป็นพื้นที่ป่า -มีการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่ออุปโภคและการฟื้นฟูดิน ลดการชะล้างของหน้าดิน |
-มีการคืนพื้นที่ให้กลับเป็นป่าจำนวน 2,000 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เข้าไปใช้ประโยชน์หลังปี 2554
-ปี2561มีจุดฮอตสปอตลดเหลือเพียง 5 จุดจากปี2560 ที่เกิดขึ้นจำนวน 14 จุด – เกิดอ่างเก็บน้ำจำนวน 3 อ่าง กับฝาย 4 ลูก |
สังคม | -ได้พักผ่อน ไม่ต้องทำงานหนักเหมือนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
-ได้สุขภาพที่ดีขึ้น เนื่องจากไม่ต้องใช้สารเคมี -มีการฟื้นฟูระบบการเอามื้อแลกเปลี่ยนแรงงานแทนการจ้าง -เกิดการเคารพกฎเกณฑ์การอยู่ร่วมกัน เช่น ข้อตกลงของกลุ่มไผ่ เป็นต้น |
-สถิติการเจ็บป่วยลดลง(ตัวเลขการเข้ารับการรักษาที่รพสต.เปรีบยเทียบตั้งแต่ปี2558-2560)
– จำนวนหมู่บ้านที่มีการฟื้นระบบการเอามื้อแลกเปลี่ยนแรงงานกัน |
นโยบาย | -อบต.บ้านทับมีนโยบาย แผนงาน งบประมาณสนับสนุนการจัดการทรัพยากรและเศรษฐกิจชุมชนมาอย่งต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2548จนถึงปัจจุบัน
-เกิดศูนย์ภูมิสารสนเทศน์ในระดับตำบลเพื่อสนับสนุนการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วม -องค์การบริหารส่วนตำบลเป็นกองเลขาฯในการสนับสนุนด้านต่างๆคือ สนับสนุนสถานที่ประชุม การประสานงาน ฯลฯ -การแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่าและการจัดการทรัพยากรภายใต้แนวทางแจ่มโมเดลพลัสได้รับการบรรจุเป็นนโยบายการพัฒนาของจังหวัดเชียงใหม่ ลำดับที่2 ในปี2561(นโยบายผู้ว่าราชการจังหวัด) – อำเภอแม่แจ่มเป็นพื้นที่พิเศษในการแก้ไขปัญหาป่าไม้ที่ดินและเศรษฐกิจในยุทธศาสตร์ชาติและแผนปฏิรูป -คณะรัฐมนตรีมีมติในการสนับสนุนการเพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยใช้ไผ่เป็นไม้เบิกนำ -คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติรับนโยบายชุมชนอยู่กับป่าและใช้ประโยชน์จากป่าได้ -มีการแก้ไขกฎหมายพรบ.สวนป่าให้สามารถปลูกไม้และตัดไม้ขายได้(แต่ไม่ได้เอื้อกับบ้านทับเนื่องจากอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและกฎหมายชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ) |
-องค์การบริหารส่วนตำบลสนับสนุนงบประมาณการจัดการทรัพยากรหมู่ที่ละ 10000 บ./ปี ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา และสนับสนุนการจัดการทรัพยากรภาพรวมทั้งตำบลปีอีกปีละ 50,000 บ. |
ผลความสำเร็จเกิดจากการเผชิญปัญหาของชาวบ้าน ทั้งปัญหาราคาข้าวโพด หนี้สิน นโยบายทวงคืน คดีแห่ง หมอกควัน/ไฟป่า เขาหัวโล้น และความตื่นตัว ความต่อเนื่อง ในการเรียกร้องในสิทธิในที่ดินทำกินของชาวบ้านที่มีความต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2542 มีการประสานความร่วมมือด้วยดีของผู้นำท้องที่และท้องถิ่น ที่ได้รับการบ่มเพาะทางความคิด สิทธิชุมชน, การจัดการตนเอง, การจัดการร่วม ที่ยึดเอาการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนเป็นเป้าหมายร่วมกัน และการเชื่อมโยงเครือข่ายองค์กรชุมชนในระดับอำเภอในการขับเคลื่อนงานการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ตลอดจนมีองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านทับเป็นหน่วยการประสาน เอื้ออำนวยการในการขับเคลื่อนร่วมกับเครือข่ายองค์กรชุมชนและหน่วยงานอื่นๆ
มิเพียงเท่านั้นยังมีปัจจัยเสริมที่สำคัญคือการมีภาคีภาคประชาสังคมที่ร่วมขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง คือ สถาบันอ้อผญา มูลนิธิฮักเมืองแจ่ม SDF มูลนิธิไทยรักษ์ป่า มีกลไกคณะทำงานร่วมในแนวทางประชารัฐ คือ คณะทำงานแม่แจ่มโมเดลพลัส ที่มีภาคประชาสังคมกับฝ่ายปกครอง บทบาทหน้าที่เป็นกองเลขาฯ ขับเคลื่อน รวมถึงสถานการณ์ปัญหาทางนโยบายและกฎหมายเป็นแรงผลักดัน
แนวทาง แผนงานในอนาคต (ปี 2561 – 2564)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านทับร่วมมือกับสภาองค์กรชุมชน ในการจัดทำข้อมูลและแผนการใช้ที่ดิน ทั้ง 13 หมู่บ้าน โดยอาศัย มาตรา19 พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ 2507 ในเดือน ส.ค.2561
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านทับร่วมมือกับสภาองค์กรชุมชน ผู้นำท้องที่ สนับสนุนให้ชุมชนทั้ง 13 หมู่บ้าน จัดทำแผนแม่บทชุมชน ในการจัดการที่ดิน ในระบบเกษตรยั่งยืน ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่ครบวงจรทั้งการผลิต การแปรรูป และการตลาด
- พัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ ภูมิศาสตร์ เพื่อคุณภาพชีวิต กำกับติดตามและพัฒนา/การใช้ประโยชน์/ ระบบภาษี/ขึ้นทะเบียนเกษตรกร ระบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การทำการเกษตรที่ยั่งยืน
- ประสานความร่วมมือ คณะทำงาน แม่แจ่มโมเดลพลัส และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการพัฒนาตามแผนแม่บทชุมชนฯ