โดย พอช.สำนักงาานภาคเหนือ
ปัจจุบันไม่อาจปฏิเสธได้ถ้าผู้คนส่วนใหญ่หันมาให้ความสำคัญกับสุขภาพตนเอง จะพบว่าคนให้ความสำคัญกับปัญหาของสุขภาพมากขึ้น เช่น การออกกำลังกาย อาหารการกิน ที่ควนเลือกสรรอาหารที่ปลอดภัย ปราศจากสารเคมี แต่ช่องทางการได้มาของอาหารที่ปลอดภัยเหล่านั้นยังมีจำกัด (ยกเว้นอาหารที่หาได้เองตามธรรมชาติ)การควบคุมคุณภาพของอาหารที่เกษตรกรทำมาจำหน่าย
ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นอีกตำบลซึ่งเป็นแหล่งผลิตอาหารในจังหวัดแม่ฮ่องสอน อาทิเช่น ข้าว กระเทียม งา ถั่ว และ ผัก ต่าง ๆ เกษตรกรส่วนมากมักปลูกพืชเชิงเดี่ยวและใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆของตำบลปางหมู เป็นเหตุให้เกษตรกรจำนวนหนึ่งยอมปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชผสมผสาน และ เกษตรอินทรีย์ ที่สั่งสมประสบการณ์ภูมิปัญญามาตั้งแต่อดีต ได้รวบรวมตัวกันเป็นวิสาหกิจชุมชน เช่น เครือข่ายวิสาหกิจวิถีแม่ฮ่องสอน วิสาหกิจเกษตรอินทรีย์บ้านไม้แงะ วิสาหกิจเกษตรกลุ่มแปรรูปงาบ้านปางหมู ฯลฯ
สภาองค์กรชุมชนตำบลปางหมู ได้มองเห็นสภาพปัญหาของเกษตรกร ไม่ว่าจะเป็นการใช้สารเคมีที่ไม่ถูกสุขลักษณะ จนเป็นปัญหาสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆของตำบลปางหมู จึงจัดทำโครงการเกษตรพอเพียงเพื่อการพึ่งตนเองจนเป็นเกษตรอินทรีย์ โดยขับเคลื่อน 4 ประเด็นดังนี้
- สนับสนุนการสร้างความเข็มแข็งของระบบเศรษฐกิจและทุนชุมชนในพื้นที่
- การเชื่อมโยงเครือข่าย และและเชื่อมประสานภาคีเครือข่าย
- การพัฒนาระบบข้อมูล
- การพัฒนาระบบสนับสนุน
โดยสถานการณ์เมื่อก่อนปี 2555 มีการปลูกกระเทียมและงา เพื่อการบริโภคในครัวเรือน โดยใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปลูกเพื่อทำพันธุ์และใช้แรงงานในครัวเรือน มีการช่วยลงแขก ซึ่งเป็นการผลิตพันธุ์กระเทียมที่ดีที่สุดในแม่ฮ่องสอน เพราะได้ราคาสูงตลาดรองรับและเกษตรกรสามารถเป็นผู้กำหนดราคาเองได้ แต่เมื่อประมาณระหว่างปี 2555-2559 มีการเปลี่ยนแปลงเป็นการปลูกเพื่อการค้า ใช้สารเคมี/สารกำจัดวัชพืชใช้เคมี ทำให้มีการจ้างงาน จนก่อให้เกิดการขาดทุนและประสบภาวะหนี้สิน รวมถึงสถานการณ์กระเทียมมีราคาตกต่ำและไม่มีคุณภาพ ราคาไม่แน่นอน ต้นทุนในการเพาะปลูกสูงและหนี้สินต่าง ๆ ผลประโยชน์ไปตกที่นายทุน
ดังนั้นในปี 2561 ได้มีจุดเปลี่ยนเกิดขึ้นโดยเปลี่ยนจากการใช้สารเคมี เพื่อกลับไปสู่อินทรีย์ อันมีสาเหตุจาก
- 1. พบสารเคมีในกระแสโลหิต ของเกษตรกร
- 2. เกษตรกรที่ใช้สารเคมี เป็นโรคมะเร็ง โรคตับแข็ง โรคปอด ฯลฯ
- 3. เป็นหนี้เพิ่มมากขึ้น จากราคาสารเคมี ปุ๋ยเคมี เมล็ดพันธุ์
การดำเนินงานพัฒนาพื้นที่การเกษตรเพื่อปรับเปลี่ยนเข้าสู่ตลาดกระเทียมอินทรีย์ ใช้การปรับ/ลด การใช้สารเคมี โดยหันมาใช้สารชีวพันธุ์ทดแทน และลดการเพาะปลูกเกษตรเชิงเดี่ยวมาทำการเกษตรผสมผสาน อาศัยการรวมกลุ่มเกษตรกรที่ลดการใช้สารเคมี จากการขึ้นทะเบียนรัฐวิสาหกิจชุมชนให้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายระดับ หมู่บ้าน ตำบล และ จังหวัด
จากที่กล่าวจึงได้มีการจัดตั้งเครือข่ายรัฐวิสาหกิจชุมชนพื้นที่ 1,2,3,4,8 จำนวนสมาชิก 40 คน และดำเนินงานการแปรรูปสินค้าการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าพืชผลทางการเกษตร ต่อยอดให้เกิดแผนการขับเคลื่อนกลุ่มเครือข่ายเพื่อเชื่อมโยงระบบตลาด
กระบวนการ เริ่มจากการตรวจสอบสารเคมีในร่างกาย และชักชวนพี่น้องใน 5 หมู่บ้านมาทำกระบวนการเพื่อแลกเปลี่ยนหาข้อมูลผลกระทบ จากนั้นกำหนดแผนใหม่แก้ปัญหาร่วมกับตำบล โดยสภาองค์กรชุมชนประสานความร่วมมือและจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนสร้างเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ นำสู่การพัฒนาระบบบริหารจัดการแปลง พร้อมทั้งมีการจัดตั้งทีมตรวจ/รับรองแปลงเกษตรอินทรีย์ และมีเวทีติดตามประเมินผลและสรุปผลการขับเคลื่อน
โดยกระบวนการดังกล่าวนั้นใช้ข้อมูลปัญหา จากการตรวจพบสารเคมีในการสร้างความตระหนักให้คนหันมาทำเกษตรอินทรีย์เพื่อสร้างระบบสมัครใจในการเข้าร่วมและปรับแนวความคิดผ่านกลไกการทำงาน ดังนี้
(1) กลุ่มวิสาหกิจเกษตรอินทรีย์ บ้านในสอย ม.4 ตำบลปางหมู
– การผลิตพืชผลทางการเกษตรอินทรีย์
– การวางแผนการผลิตในแต่ละฤดูการผลิต
– การเสนอแผนงาน/โครงการที่ต้องการความช่วยเหลือ
(2) สภาองค์กรชุมชนตำบลปางหมู
– การจัดตั้งทีมตรวจ/รับรองแปลง
– การประสานงานเครือข่ายวิสาหกิจในจังหวัดเพื่อเชื่อมตลาด
– การประสานงานกับหน่วยงานราชการเพื่อขอรับการสนับสนุน
(3) องค์กรปกครองท้องถิ่น (อบจ./อบต.)
– การให้การสนับสนุนงบประมาณ และวิชาการ
(4) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และวิลัยแม่ฮ่องสอน
– การสนับสนุนงานวิชาการ และงบประมาณ
(5) ส่วนราชการในจังหวัด
– การสนับสนุนงบประมาณ และวิชาการ
เป้าหมายของการเปลี่ยนแปลงก็เพื่อสร้างระบบสุขภาพชุมชน สร้างความตระหนัก รู้ลดการใช้สารเคมี ให้เกิดการพื้นฟูพื้นที่เกษตรเคมีให้เป็นเกษตรอินทรีย์ใน 5 ปี และสร้างผลผลิตเกษตรอินทรีย์ ซึ่งได้มีผลของการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ
ด้าน | การเปลี่ยนแปลงด้านคุณค่า | การเปลี่ยนแปลงด้านมูลค่า |
ด้านเศรษฐกิจ | เกิดการปรับพฤติกรรมการผลิตตลาด
เกษตรเคมี เป็นเกษตรปลอดภัย เพื่อมุ่งสู่เกษตรอินทรีย์ – การลดรายจ่าย – การเพิ่มรายได้ – การจัดตั้งบริษัทแม่ฮ่องสอน |
– กลุ่มเกษตรกร จำนวน 50 ครัวเรือย
– พื้นที่การเกษตร (การลดการใช้สารเคมี) จำนวน 500 ไร่ – พืชผลทางการเกษตร จำนวน 50 ชนิด – ทุนจดทะเบียน 1,000,000 บาท |
ด้านสิ่งแวดล้อม | – กลุ่มวิสาหกิจชุมชน
– กองทุนสวัสดิการชุมชน เครือข่ายสนับสนุนงบประมาณและวิชาการ |
– เครือข่ายวิสากิจ จำนวนสมาชิก 200 คน
– มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการสนับสนุนสารชีวพันธุ์ – มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการสนับสนุนนงบประมาณ – มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ในการสนับสนุนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ |
ด้านทรัพยากร | – ที่ดินทำกินของชุมชน/หมู่บ้าน อุดมสมบูรณ์มากขึ้น
– แหล่งอาหารธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น – มีกลุ่มอนุรักษ์พันธุ์ต้นน้ำ |
– จำนวน 500 ไร่
– จากการตรวจดินจำนวน 50 แปลง – พื้นที่เขตอนุรักษ์สัตว์น้ำจำนวน 10 แห่ง – พื้นที่ปวดป่า/ป่าชุมชน จำนวน 10 แห่ง |
ด้านนโยบาย | มีหน่วยงานให้การสนับสนุนให้การสนับสนุนมากขึ้น | 1 งบประมาณจาก กรมการค้าภายในสนับสนุนการจัดพื้นที่ของ
แปลงเกษตรอินทรีย์จำนวน 1,600,000 บาท 2 งบประมาณจาก พอช. จำนวน 40,000 บาท 3 งบประมาณจาก อบต. จำนวน 50,000 บาท (มีแผนงาน/โครงการที่จะสนับสนุนต่อเนื่อง) 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สนับสนุนงบประมาณและวิชาการ 5 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สนับสนุนงบประมาณและวิชาการ 6 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สนับสนุนงบประมาณและวิชาการ |