ฮอด เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัด และเป็นอำเภอที่มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทิวเขา ในอดีตเป็นอำเภอหนึ่งที่มีความยากลำบากในการเดินทาง มีหอนาฬิกาเป็นสัญลักษณ์ของอำเภอ เป็นทางผ่านของผู้เดินทางหรือนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตำบลฮอด อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ 53 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบเชิงเขา โดยมี่จำนวน 1,162 ครัวเรือน มีประชากรทั้งหมด 3,311 คน เดิมมีการประกอบอาชีทำสวนลำไยมากที่สุด รองลงมาคือทำนา รับจ้าง ทำการประมง
ความเป็นมาของการใช้ระบบฐานข้อมูลที่ดินรายแปลง เพื่อส่งเสริมและเพิ่มทักษะ เพิ่มมูลค่าผลผลิต การประกอบอาชีพทำสวนลำไย
ตำบลฮอด อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ประมาณ 51 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 31,875 ไร่แบ่งการปกครองออกเป็น 5 หมู่บ้าน ได้แก่บ้านแควมะกอกหมู่1 บ้านแพะดินแดงหมู่2 บ้านวังลุงหมู่3 บ้านห้วยทรายหมู่4 บ้านดงดำหมู่5 ลักษณะโดยทั่วไปของพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม บางส่วนเป็นป่าและภูเขาสูง อยู่ในเขตประกาศเป็นพื้นที่บริเวณระดับน้ำของเขื่อนภูมิพลท่วมถึง ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต และเขตนิคมสหกรณ์และเขตอุทยานแห่งชาติออบหลวง มีลำห้วยที่สำคัญไหลผ่านหล่อเลี้ยงพื้นที่ทำการเกษตร จำนวน 1 สาย คือ แม่น้ำปิง การประกอบอาชีพของประชากรในตำบลส่วนใหญ่ได้แก่การเกษตรกรรม มีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญคือ ข้าว ลำไย มีการปลูกหอมแดง,ถั่วเขียวและข้าวโพด มีการทำประมง น้ำจืดในพื้นที่ท้ายเขื่อนภูมิพลลักษณะเป็นการทำการประมงพื้นบ้านในลำน้ำปิงช่วงฤดูน้ำหลากจนเข้าสู่ฤดูแล้ง
จากการที่มีการก่อสร้างเขื่อนภูมิพลที่จังหวัดตากทำให้พื้นที่ของตำบลฮอดส่วนใหญ่ถูกน้ำท่วมพื้นที่เคยอุดมสมบรูณ์ถูกน้ำท่วมสูงต้องอพยพขึ้นมาอยู่ในพื้นที่ตั้งของตำบลในปัจจุบันโดยมีการทำการเกษตรในบริเวณร่องน้ำปิงช่วงหน้าแล้งที่น้ำในเขื่อนลดลงและบริเวณพื้นที่น้ำท่วมไม่ถึงซึ่งที่ทำกินส่วนใหญ่ไม่มีเอกสารสิทธิ เมื่อมีการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติออบหลวงทับซ้อนพื้นที่ที่ทำกินของทางราษฎร ทำให้เกิดความขัดแย้งในเรื่องสิทธิในที่ทำกินทำกินระหว่างราษฎรกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้นทั้งการไฟฟ้า อุทยานแห่งชาติออบหลวงและเขตนิคมสหกรณ์ ชุมชนในตำบลฮอดได้พยายามดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น มีการเรียกร้องให้มีการสำรวจพิสูจน์สิทธิพื้นที่เขตที่ถึงน้ำท่วมที่แท้จริงของเขื่อนภูมิพล ให้มีการตรวจสอบแนวเขตการนิคมไฟฟ้า และเพิกถอนแนวเขตอุทยานแห่งชาติออบหลวงออกจากพื้นที่อยู่อาศัยที่ทำกินของราษฎร แต่ที่ผ่านมาไม่มีความคืบหน้าของการดำเนินการ
ปีพ.ศ. 2548-2549 ต่อเนื่องกันเกิดน้ำท่วมใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ตำบลฮอดเป็นหนึ่งในตำบลที่มีน้ำท่วมขังยาวนานที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ทำให้ชุมชนในตำบลฮอดได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมากทั้งจากน้ำท่วมที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน แนวเขตที่อยู่อาศัยที่ทำกินเปลี่ยนแปลงสภาพไปจากเดิม มีปัญหาการรับรองพื้นที่ทำกินของทางราชการระบบข้อมูลชุมชนในด้านที่ดินและทรัพยากรไม่ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานในพื้นที่ ทางองค์กรชุมชนตำบลฮอดจึงหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น มีการดำเนินการจัดทำโครงการบ้านมั่นคงชนบท พื้นที่น้ำท่วมบ้านดงดำ โดยการสนับสนุนการดำเนินงานจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พอช.) ดำเนินการจัดการระบบฐานข้อมูลตำบลในด้านที่ดินและทรัพยากรในภาพรวมทั้งตำบล ซึ่งจากการดำเนินการที่ผ่านมาโจทย์สำคัญที่ท้าทายการแก้ไขปัญหาในตำบลฮอด คือ การแก้ไขปัญหาที่ดินในเขตป่า และที่ดินในเขตน้ำท่วม
พ.ศ.2550 – ปัจจุบัน จากแนวคิดดังกล่าว ทางกลุ่มเครือข่ายองค์กรชุมชนตำบลฮอดจึงดำเนินการจัดทำ”โครงการแก้ไขปัญหาที่ดินและที่อยู่อาศัย ตำบลฮอด”ขึ้นเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน และที่อยู่อาศัย รวมถึงการพัฒนาระบบเกษตร และคุณภาพชีวิตของคนในตำบลฮอดให้สามารถพึงพาตนเองได้
โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาชาวตำบลฮอดซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพทำสวนลำไยเป็นหลัก และจะผลิตลำไยตามความรู้และความเข้าใจของตนเองหรือตามคำแนะนำของเจ้าของร้านค้าปุ๋ยและยา เป็นเหตุให้ผลผลิตลำไยไม่มีคุณภาพ ราคาตกต่ำ ส่งผลกระทบให้รายได้ลดลงไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ ลูกหลานวัยแรงงานออกจากบ้านไปขายแรงาน ทำให้ชุมชนขาดแคลนบุคลกรในการประกอบกิจกรรมของชุมชน แม้ว่าจะมีแต่ละสวนของปลูกลำไยจะมีต้นทุนชุดความรู้ทั้งการเก็บ การผลิตลำไย ต่างคนต่างทำ ไม่ได้พูดคุย แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ที่สำคัญ ขาดหลักการทางวิชาการในการผลิตเดินตามกระแสการปลูกลำไยในฤดูกาลเป็นหลักด้วยราคาและการตลาดที่จูงใจเกษตรกรให้ปลูกเฉพาะฤดูกาลดังกล่าว
ในขณะที่ชาวสวนลำไยเองมีทักษะความชำนาญในการเก็บเกี่ยวลำไยที่ถือว่าเก่ง รวดเร็วแต่ที่ผ่านมาต่างคนต่างทำไม่ได้บอกกล่าวกันในชาวสวนลำไยด้วยกัน ขาดหลักการทางวิชาการในการผลิต เพราะมีการออกไปรับเหมาเก็บลำไยให้กับโกดังรับซื้อลำไย และทักษะความชำนาญดังกล่าวจะนำมาสร้างการเรียนรู้ให้กับคนในพื้นที่ ในการสร้างอัตลักษณ์ให้กับชุมชน สภาองค์กรชุมชนตำบลฮอด ตระหนักถึงปัญหาจึงต้องการยกระดับการผลิตผลลำไยให้มีคุณภาพและมีมูลค่าเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มรายได้แก่ชาวสวนลำไย โดยความร่วมมือกับภาคประชาชน องค์กรต่างๆ ผ่านระบบการจัดทำฐานข้อมูลการใช้ประโยชน์ในที่ดินรายแปลง ที่สำคัญเมื่อชุมชนได้รับการพัฒนาถ่ายทอดทักษะการเรียนรู้ร่วมกันให้เป็นผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการเก็บลำไยดำเนินการไปพร้อมๆกับการพัฒนารูปแบบการผลิตลำไยนอกฤดูกาล ยังจะทำให้ชุมชนดำรงอยู่ในท้องถิ่นโดยไม่ต้องออกไปรับจ้างแรงงานต่างถิ่นได้
หลักคิดสำคัญของการดำเนินงานเกิดจากการรวมตัวของเกษตรกรผู้ผลิตลำไยของตำบลฮอด เห็นถึงปัญหาแรงงานที่ต้องออกไปรับจ้างนอกชุมชน จึงทำการเสนอต่อสภาองค์กรชุมชนตำบลฮอดเพื่อขับเคลื่อนพัฒนาการเพิ่มมูลค่าของการทำสวนลำไยและลดต้นทุนการผลิตลำไย
-มีแนวคิดในการที่อยากทำเกษตรอินทรีย์ อยากลดการใช้สารเคมี เพราะเห็นถึงโทษของสารเคมี
-มีการรวบรวมเครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตลำไย
-ผู้นำสภาองค์กรชุมชนตำบลฮอดเข้าไปสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงเพื่อใช้ฐานข้อมูลรายแปลงในการทำสวนทำไยเพื่อนำมาเป็นข้อมูลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อนในการพัฒนากลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตลำไย
ขั้นตอนการดำเนินงาน
-มีการเสนอปัญหาและแนวทางการแก้ไขจากกกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตลำไยตำบลฮอด
-มีการรวบรวมเครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตลำไย
-ผู้นำสภาองค์กรชุมชนตำบลฮอดเข้าไปสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงเพื่อใช้ฐานข้อมูลรายแปลงในการทำสวนทำไยเพื่อนำมาเป็นข้อมูลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อนในการพัฒนากลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตลำไย
ปัจจัยที่ทำให้ประสบผลสำเร็จ คือ ผู้นำสภาองค์กรชุมชนตำบลฮอดเคยทำงานด้านที่ดินมาก่อนจึงสามารถเชื่อมโยงในการใช้ข้อมูลรายแปลงของการทำสวนลำไยได้ รวมถึงใช้เทคนิคในการเชื่อมโยงข้อมูลในระบบฐานข้อมูล GIS ซึ่งเคยสำรวจข้อมูลที่ดินทำกินรายแปลงมาประกอบการวางแผนการผลิต การทำสวนลำไยให้ได้คุณภาพ หรือ การนำข้อมูลจากการสำรวจที่ดินไปวิเคราะห์ค่าความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยมีการปรับปรุง พัฒนาดิน หรือการดูแลรักษาต้นลำไย
การอาศัยเครือข่ายในการทำงานชุมชนที่เข้มแข็งเพื่อพัฒนาการผลิตลำไยให้มีคุณภาพที่ดีเป็นที่ต้องการของตลาด อีกทั้งยังสามารถลดต้นทุนการผลิตเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรชุมชนตำบลฮอด โดยมี สภาองค์กรชุมชนตำบลฮอด สนับสนุนการเชื่อมประสานความร่วมมือกับองค์กรภาคีหน่วยงานต่างๆ ในการหนุนเสริมชุมชนในการแก้ไขปัญหา สนับสนุนข้อมูล งบประมาณ
รูปธรรมความสำเร็จ
ด้านเศรษฐกิจ ชาวสวนลำไยในตำบลมีรายได้เพิ่มขึ้นเนื่องจากได้มีการนำข้อมูลมาใช้ประกอบในการวางแผนการผลิตลำไยในแต่ละปี และสามารถควบคุมผลผลิตไม่ให้ออกมาล้นตลาดมากเกินไป
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีข้อมูลด้านที่ดินทำกินที่สามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการวางแผนการผลิตของเกษตรกร และการใช้ที่ดินของชุมชนมีระบบมากขึ้น
ด้านความสัมพันธ์ของคนในสังคม คนในตำบลเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันมาขึ้น
ด้านนโยบายรัฐ/การเมือง (ระดับท้องถิ่น / จังหวัด) เกิดความร่วมมือทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน เครือข่ายเกษตรกร ท้องถิ่นท้องที่
โดยสรุปแล้วการจะประสบผลสำเร็จได้นั้นผู้นำต้องมีความคิดทางด้านให้รู้จักตนเองให้มากที่สุด(ให้มีการนำข้อมูลที่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับชุมชน) รวมถึงการที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน เครือข่ายเกษตรกร ท้องถิ่นท้องที่ มาร่วมกันสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาอาชีพหลักของชุมชน
โดย นางสาวอัญชลี ปิตยา คณะทำงานจัดการองค์ความรู้ชุมชนจังหวัดเชียงใหม่