สภาองค์กรชุมชนเทศบาลตำบลพุทไธสง ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2556 และได้รับการรับรองสภาองค์กรชุมชนจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2560 เลขที่ตั้ง 1 ม. 1 ต.พุทไธสง อ.พุทไธสง จ.บุรีรัมย์
สภาพทั่วไป
เนื่องจากสภาองค์กรชุมชนเทศบาลตำบลพุทไธสง ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลพุทไธสง ซึ่งมีทั้งชุมชนที่อยู่ในเมืองและอยู่ในพื้นที่ชนบท อาชีพส่วนใหญ่ คือ ทำนา รองลงมาคือ ค้าขาย รับจ้าง สภาพพื้นดินในเขตเทศบาลตำบลพุทไธสง เป็นดินเหนียวปนทราย ไม่เหมาะแก่การทำการเกษตร แหล่งน้ำไม่มีความอุดมสมบูรณ์ในหน้าแล้ง ชีวิตการเป็นอยู่เหมือนคนเมือง คือต่างคนต่างอยู่เพราะแต่ละครอบครัวต้องดิ้นรนเพื่อหาเลี้ยงชีพตนในแต่ละวัน ทำให้เกิดการขาดความสมัครสมานสามัคคี ขาดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเดียวกัน ขาดความช่วยเหลือเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน ซึ่งต่างจากวิถีชนบทที่ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
กระบวนการทำงาน
นายกฤตพล ประการกิจ ประธานสภาองค์กรชุมชนเทศบาลตำบลพุทไธสง เล่าว่าได้เล็งเห็นปัญหาและเห็นสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนบางกลุ่มที่ยังต้องการความช่วยเหลือจากสังคม จากการที่ได้เข้าร่วมประชุมกับเครือข่ายองค์กรชุมชนอำเภอพุทไธสง และได้รับการประสานงานจากขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์ จึงได้รู้ว่าทางสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พ.อ.ช.) มีงบประมาณบ้านพอเพียงชนบทเพื่อช่วยเหลือคนยากไร้ คนยากจนในเขตพื้นที่แต่ละตำบล จึงได้ทำการเปิดประชุมสภาองค์กรชุมชนเทศบาลตำบลพุทไธสง เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้ที่สมควรได้รับการช่วยเหลือ และแต่งตั้งคณะทำงานโครงการบ้านพอเพียงชนบท ออกเป็น 4 ชุด คือ คณะทำงานชุดสำรวจในแต่ละชุมชน คณะทำงานพิจารณากลั่นกรอง คณะกรรมการตรวจรับและคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง เมื่อคณะทำงานชุดแรกทำการสำรวจในแต่ละชุมชนเสร็จสิ้นและทำการรวบรวมข้อมูลผู้เดือดร้อน เข้าที่ประชุมสภาองค์กรชุมชนฯ อีกครั้ง เพื่อทำการคัดเลือกผู้ที่ประสบความเดือดร้อนจริงๆ และทำการประชาคมในแต่ละชุมชน แล้วทำการสรุปผลและดำเนินการจัดทำแบบประมาณราคาวัสดุซ่อมสร้างโดยร่วมกับเทศบาลตำบลพุทไธสงอีกครั้ง และนำข้อมูลที่ได้เสนอโครงการผ่านคณะทำงานขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์ หลังจากได้บ้านพอเพียงแล้ว สภาองค์กรชุมชนเทศบาลตำบลพุทไธสงและกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลพุทไธสง ได้ทำการต่อยอดโครงการโดยได้จัดตั้งกองทุนบ้านพอเพียงขึ้นมาอีก 1 กองทุน เพื่อช่วยเหลือผู้เดือดร้อนในชุมชนต่อไป
สำรวจข้อมูลผู้เดือดร้อนทั้งตำบล
ประชาคมแต่ละชุมชน
ประชุมพิจารณาคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติสมควรได้รับการช่วยเหลือ ณ ห้องประชุมสภาเทศบาลตำบลพุทไธสง
ที่ผ่านมา
นางสาวปูริดา ภูจำเนียร เลขานุการสภาองค์กรชุมชนฯ เล่าว่าเรื่องของบ้านพอเพียง ปี 61 เราได้มีการสำรวจจับพิกัดทุกหลังคาเรือน ทำให้รู้ข้อมูลผู้เดือดร้อนทั้งหมด ซึ่งพบว่ามีเป็นจำนวนมาก ที่ผ่านมาเราจะรู้เฉพาะคนที่มาขอความช่วยเหลือเท่านั้น พอสำรวจแล้วรู้หมดแล้วพร้อมที่จะลงไปหาผู้เดือดร้อนและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นประโยชน์ที่ได้จากการสำรวจข้อมูล และจะนำมาทำแผนการแก้ปัญหาต่อไป
การสำรวจผู้เดือดร้อนในปี 61 ตำบลเราทำทั้งตำบล แยกแยะผู้เดือดร้อนแบบไหน อย่างไร
เอาข้อมูลผู้เดือดร้อนแยกเป็น 2 ส่วน คือ ที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์ และผู้เดือดร้อนที่อยู่อาศัยไม่มั่นคง จะต้องได้รับการแก้ไข เช่น ห้องน้ำ ห้องครัวไม่ดี ผนังบ้านผุพัง ตัวบ้านทรุดโทรม ในรายละเอียดของแบบสำรวจถามปัญหาเมื่อปี 2561 โดย มีการระบุชัดเจนรายครัวเรือนทำให้เห็นว่ามีปัญหาอะไร ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการเมืองการปกครอง เมื่อนำข้อมูลเสนอคืนให้กับชุมชนได้รู้ว่ามีผู้เดือดร้อนด้านที่ดิน ที่อยู่อาศัยมีกี่ราย
สภาองค์กรชุมชนเทศบาลตำบลพุทไธสง ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน รวมทั้งสิ้น 22 หลัง ด้วยงบประมาณ 417,848 บาท
เพราะอะไรถึงได้รับการคัดเลือกเป็น 22 หลัง
- มีความเดือดร้อนเร่งด่วน เช่น หลังคารั่ว ปลวกกิน น้ำท่วมขัง (สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม)
- ผู้สูงอายุ อยู่คนเดียว สุขภาพไม่แข็งแรง/ ผู้พิการ (ขาหัก)
- ยากจน ไม่มีเงิน ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง (อาศัยอยู่กับญาติพี่น้อง)
- ห้องนอนไม่พอ เนื่องจากอยู่กันหลายคน
ผู้ได้รับความช่วยเหลือทั้งหมดไม่ได้เป็นผู้เสนอตัวเอง แต่คัดเลือกผ่านประชาคมหมู่บ้าน โดยเลือกคนที่เดือดร้อนที่สุด มีบางหลังที่จัดอยู่ในกลุ่มซ่อม แต่เมื่อดำเนินการไปแล้ว ต้องมีการรื้อสร้างใหม่ทั้งหลัง
ทำแล้วเกิดอะไรขึ้นกับเรา ทำแล้วเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ทั้งครอบครัวเรา ชุมชนของเรา และท้องที่ ท้องถิ่นของเราเป็นอย่างไร ที่เรียกว่าดีขึ้น/มีความสุขขึ้นนั้นเป็นอย่างไร และจะต้องดำเนินการต่อไปอย่างไร หรือร่วมกันทำอย่างไรต่อไปอีก
- ในระดับครอบครัว
- ซ่อมแซมแล้วบ้านมั่นคงแข็งแรง เกิดความสบาย มีความสุขมากขึ้น เพราะไม่ต้องกังวลเรื่องภัยธรรมชาติ เช่น หลังคารั่ว ไม่ต้องกังวลว่าสิ่งของจะเปียก ทำงานได้สบายใจไม่ต้องระแวงหรือต้องรีบกลับมาเก็บของเพราะกลัวเปียกฝน นอนบนบ้านชั้น 2 ได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องกังวลว่าน้ำจะท่วมบ้านชั้นล่าง และไม่ต้องกังวลเมื่อมีพายุลมแรง
ก่อนดำเนินการซ่อมแซม
หลังดำเนินการ
-
- มีความมั่นใจในการใช้ที่ดิน โดยเฉพาะกรณีอาศัยอยู่ในที่ดินคนอื่น จากการทำโครงการได้มีการยืนยันให้ความชัดเจนในการอยู่อาศัย
- ระดับชุมชน/สังคม
- ได้รับการยอมรับจากชุมชน
- ความสัมพันธ์กับผู้นำดีขึ้นกว่าเดิม มีการไปมาหาสู่กันบ่อยขึ้น
- ความสัมพันธ์ของคนในชุมชนดีขึ้น มีความร่วมมือระหว่างครอบครัวกับชุมชน ครอบครัวอื่น เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน จากการที่มาเป็นแรงงานช่วยเพื่อนซ่อมสร้างบ้าน สมทบเงิน ข้าวปลาอาหารตามศักยภาพของแต่ละคน
- เกิดการวางแผนร่วมกันระหว่างชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการแก้ไขปัญหาให้กับผู้เดือดร้อนรอบที่ 2 โดยใช้ประสบการณ์ในการทำงานรอบที่ 1 มาเป็นบทเรียน
สิ่งที่ต้องการทำต่อ
- การแก้ไขปัญหาการว่างงาน ไม่มีงานที่มั่นคง ไม่มีที่ดินทำกิน โดยการส่งเสริมอาชีพ สร้างรายได้
- การแก้ไขปัญหาที่ดินและที่อยู่อาศัย
การจัดลำดับคนในชุมชน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มคนจนประมาณมี 50 เปอร์เซ็นต์ ระดับกลางประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ และคนมีฐานะประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีความเหลื่อมล้ำของคนในตำบล โครงการนี้เป็นโครงการที่เกิดประโยชน์กับคนจนที่อยู่ในกลุ่มคน 50 เปอร์เซ็นต์ ได้เข้าถึงการปรับปรุงบ้าน แต่มีเสียงสะท้อนว่าการจะทำให้เกิดการลดความเหลื่อมล้ำได้นั้น ต้องทำเรื่องอาชีพเพื่อสร้างรายได้ ปัญหาของคนส่วนใหญ่ (50 เปอร์เซ็นต์) คือ ที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัย การไม่มีงานทำ
องค์ประกอบการพิจารณา เช่น เป็นผู้ยากไร้ ผู้สูงอายุ คนยากจนไม่มีทุนทรัพย์เพียงพอที่จะซ่อมสร้างบ้าน เข้าร่วมกองทุนต่างๆ ในชุมชน
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ได้รับความร่วมมือจากสภาองค์กรชุมชนฯ ท้องที่ ท้องถิ่น ภายในชุมชน สำหรับกองทุนสวัสดิการชุมชน ปีก่อนรัฐบาลไม่ได้สมทบและมีการช่วยเหลือด้านสวัสดิการแก่สมาชิกทำให้เงินร่อยหรอ แต่ปีนี้ได้รับการสมทบจากรัฐบาล และมีสมาชิกเพิ่มขึ้น จึงเป็นทางหนึ่งที่นำเงินจากกองทุนนี้มาช่วยผู้ยากไร้ในตำบล
การเปลี่ยนแปลงหลังจากที่ได้รับความช่วยเหลือ หลังจากที่เห็นว่ามีหลายๆ หน่วยงานเข้ามาช่วยเหลือผู้ยากไร้ คนที่ไม่ได้เข้าร่วมเริ่มเข้ามา เพราะเราพิจารณาเป็นลำดับต้นๆ ว่ามีส่วนร่วมกับชุมชนหรือไม่ หลังจากมีโครงการนี้แล้ว ผู้คนในชุมชนเปลี่ยนไปหลังจากที่ไม่มีเวลามาร่วมกิจกรรมของหมู่บ้านก็เสียสละงานส่วนตัวมาช่วยงานส่วนรวมมากขึ้น เช่น การพัฒนาหมู่บ้าน
ด้านความร่วมมือ แต่ละชุมชน ทุกภาคส่วนองค์กรมีส่วนร่วม ถ้าได้รับโครงการหรือการสนับสนุนมาก็จะประกาศประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องได้รับทราบ
ข้อเสนอ
- ควรเพิ่มงบประมาณในการดำเนินการจาก 19,000 บาทเป็น 25,000 บาท
- มีงบประมาณที่ครอบคลุมเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
- มีงบประมาณในการบริหารจัดการ
ความเปลี่ยนแปลง
- พัฒนาคุณภาพชีวิต ยกระดับชีวิตที่ดีขึ้น
- เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กรทางสังคม แผนการพัฒนากองทุน เห็นชัดเจนว่าหลังได้รับการสนับสนุนแล้ว พี่น้องผู้ยากไร้ มีที่อยู่อาศัยที่มั่นคงแข็งแรงขึ้น มีความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตมากขึ้น
- ความสัมพันธ์กับหน่วยงานรัฐ
- เกิดความรู้สึกที่เป็นมิตรกับหน่วยงานรัฐ
- ปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องได้รับการเชื่อมโยงกับท้องถิ่น และ พมจ.
- เทศบาลตำบลพุทไธสง สนับสนุนให้ จนท.ไปหนุนเสริมการทำงานของชาวบ้าน ทำให้เกิดความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน
- มีโครงการฝึกทักษะอาชีพให้กับผู้เดือดร้อน เช่น ดอกไม้จัน
ปัจจัยความสำเร็จ
- เกิดการมีส่วนร่วมทั้งจากสภาองค์กรชุมชนฯ ท้องถิ่น กองทุนสวัสดิการชุมชนฯ ท้องที่ (ช่วยประชาสัมพันธ์ ทำให้เกิดการร่วมมือกันปรับปรุงบ้าน )
- เกิดการหนุนเสริมงบประมาณ โดยบ้านพอเพียงเป็นเครื่องมือในการทำให้คนมารวมกัน เกิดการช่วยเหลือเกื้อกูลกันมากขึ้น
- มีกติการ่วมกัน หากจะเลือกคนนี้ทั้งที่บางคนไม่สมัคร แต่ผู้นำเป็นคนคัดเลือก แล้วนำเข้าสู่ประชาคม บ้านพอเพียงไม่ใช่การสงเคราะห์ ดังนั้น ต้องช่วยเหลือตัวเองและสังคมด้วย จึงเกิดกฎกติกาสังคมใหม่ๆ ขึ้นมา เช่น การช่วยเหลือสังคม
- มีบุคลากรที่มีคุณภาพ
- มีข้อมูลผู้เดือดร้อนอยู่แล้ว ทำให้เสนอของบประมาณได้รวดเร็ว
- ด้านสังคมเกิดความร่วมมือระหว่างกลุ่มองค์กรต่างๆ เช่น กองทุนสวัสดิการ
- การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
บ้านพอเพียงเป็นการช่วยเหลือแบบมีส่วนร่วมบนวิถีวัฒนธรรม ใช้เงินเป็นเครื่องมือให้คนมารวมกันระหว่างชุมชน ท้องที่ ท้องถิ่น
สิ่งที่เราเรียนรู้คุณค่าบ้านพอเพียง คุณค่าที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการบ้านพอเพียง สิ่งที่เราเห็นว่าเป็นคุณค่าสำคัญ คืออะไร
- สิ่งที่เป็นคุณค่าสำคัญ คือ การฟื้นวิถีความรัก การดูแล การเกื้อกูลกัน เงินน้อยแต่มีค่าทางใจ เช่น การช่วยกันขนทราย ทำให้เกิดความรัก การช่วยกันทำให้เกิดความเป็นเพื่อนเป็นมิตร ทำให้คนบ้านเราจัดการตัวเองได้ สิ่งที่เราเห็นของแท้คือ การใช้บ้านพอเพียง สวัสดิการ เครื่องมือที่เรามีฟื้นความรักความสามัคคี ทำให้พลังของคนในเขตเทศบาลตำบลพุทไธสงเข้มแข็งขึ้น เพราะเรามีกระบวนการคัดเลือก การทำงานร่วมกัน และมีการฟื้นวิถีความดีงามของพวกเราที่มีอยู่ ต่อไป
พิธีมอบบ้านพอเพียงชนบทเทศบาลตำบลพุทไธสง โดยได้รับเกียรติจากท่านนายอำเภอ และหน่วยงานต่างๆในพื้นที่ ทั้งท้องที่ และท้องถิ่น
เรียบเรียงโดย นางสาวปูริดา ภูจำเนียร
เลขานุการสภาองค์กรชุมชนเทศบาลตำบลพุทไธง