รู้จักงานส่งเสริม สนับสนุนสภาองค์กรชุมชน

หลังจากที่พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2551 โดยมีเจตนารมณ์สำคัญในการส่งเสริมให้ชุมชน ซึ่งเป็นสังคมรากฐานมีความเข้มแข็งสามารถจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นตามความหลากหลายของวิถีชีวิต วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของท้องถิ่น และเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ ตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้ ได้บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นผู้รักษาการตาม พ.ร.บ. และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) มีหน้าที่ในการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้ง และพัฒนากิจการของสภาองค์กรชุมชน

พอช.ได้กำหนดแนวทางสำคัญในการขับเคลื่อนงานสภาองค์กรชุมชน โดยมุ่งเน้นให้เครือข่ายองค์กรชุมชนทุกระดับ มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการจดแจ้งจัดตั้งสภาองค์กรชุมชน สนับสนุนให้สภาองค์กรชุมชนที่จัดตั้งแล้ว เป็นเวทีกลางในการเชื่อมโยงงานพัฒนาด้านต่าง ๆ ของชุมชนในระดับตำบลและจังหวัด ส่งเสริมให้สภาองค์กรชุมชนมีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหนุนเสริมการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่น รวมถึงพัฒนาพื้นที่เรียนรู้สภาองค์กรชุมชนเพื่อการขยายผลการจัดตั้งและดำเนินงานของสภาองค์กรชุมชนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ภารกิจสภาองค์กรชุมชน ระดับตำบล

ใน “ระดับตำบล” สภาองค์กรชุมชนตำบลมีภารกิจตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน ดังนี้

  1. ส่งเสริมสนับสนุนให้สมาชิกองค์กรชุมชนอนุรักษ์ฟื้นฟูจารีตประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะหรือ วัฒนธรรมอันดีของชุมชนและของชาติ
  2. ส่งเสริมสนับสนุนให้สมาชิกองค์กรชุมชนร่วมมือกับ อปท.และหน่วยงานของรัฐในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์ ทรัพยากรธรรมชาติที่จะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและประเทศชาติอย่างยั่งยืน
  3. เผยแพร่และให้ความรู้ความเข้าใจแก่สมาชิกองค์กรชุมชน รวมตลอดทั้งการร่วมมือกันในการคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
  4. เผยแพร่และให้ความรู้ความเข้าใจแก่สมาชิกองค์กรชุมชน รวมตลอดทั้งการร่วมมือกันในการคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อม
  5. เสนอแนะปัญหาและแนวทางแก้ไข หรือความต้องการของประชาชนเกี่ยวกับการจัดทำบริการสาธารณะของหน่วยงานของรัฐ หรือ อปท.
  6. จัดให้มีเวทีการปรึกษาหารือเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของปชช.ในการให้ความคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการของ อปท.หน่วยงานรัฐหรือเอกชนที่มีผล หรือ อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิตชุมชน ทั้งนี้ อปท.หรือหน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นผู้ดำเนินการหรือเป็นผู้อนุญาตให้ภาคเอกชนดำเนินการต้องนำความเห็นดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาด้วย
  7. ส่งเสริมสนับสนุนให้องค์กรชุมชนในตำบลเกิดความเข้มแข็ง สมาชิกองค์กรชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
  8. ประสานและร่วมมือกับสภาองค์กรชุมชนตำบลอื่น
  9. รายงานปัญหาและผลที่เกิดขึ้นในตำบลอันเนื่องจากการดำเนินงาน ของ อปท.หรือหน่วยงานของรัฐ  ต่อ อปท.และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง
  10. วางกติกาในการดำเนินกิจการสภาองค์กรชุมชน
  11. จัดทำรายงานประจำปีของสภาฯ รวมถึงสถานการณ์ด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นในตำบล เพื่อเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปทราบ
  12. เสนอรายชื่อผู้แทนสภาองค์กรชุมชนตำบลสองคนเพื่อไปร่วมประชุมในระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบล

ภารกิจสภาองค์กรชุมชน ระดับจังหวัด

“ระดับจังหวัด” ให้มีการประชุมในระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบล โดยมีภารกิจตามมาตรา 27 ให้ที่ประชุมในระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบล ดำเนินการเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้

  1. เสนอแนวทางการพัฒนาจังหวัดต่อผู้ว่าราชการจังหวัดและองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพื่อนไปประกอบการพิจารณาในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด
  2. เสนอแนะต่อผู้ว่าราชการจังหวัด องค์กรปกครองสว่นท้องถิ่นหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไข หรือความต้องการของประชาชนในเรื่องการจัดทำบริการสาธารณะและการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม
  3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างสภาองค์กรชุมชนตำบลเพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
  4. เสนอข้อคิดเห็นในเรื่องที่ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดปรึกษา
  5. เสนอรายชื่อผู้แทนระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบลสองคน เพื่อไปร่วมประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล

ภารกิจสภาองค์กรชุมชน ระดับชาติ

“ระดับชาติ” ในการประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล  มีภารกิจตามมาตรา 32 (2) และมาตรา 32 (3) ให้ที่ประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล ดำเนินการเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้

มาตรา 32 (2) ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคมและกฎหมาย รวมทั้งการจัดทำบริการสาธารณะของหน่วยงานของรัฐ  หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีผลต่อพื้นที่มากกว่าหนึ่งจังหวัด ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม

มาตรา 32 (3) สรุปปัญหาที่ประชาชนในจังหวัดต่างๆ ประสบ และข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาสั่งการ

ผลการดำเนินการ ( 1 มิถุนายน 2563)

รายการ ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและตะวันตก ภาคกรุงเทพ ตะวันออก รวม
1.จำนวนสภา 1,671 1,176 2,908 1,159 879 7,793
2.จำนวนองค์กรสมาชิก 41,258 17,953 59,857 18,180 20,375 157,623

แนวทางการสนับสนุนโครงการเสริมสร้างขีดความสามารถของชุมชน

ข่าวความเคลื่อนไหว

พอช. จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการผู้นำเครือข่ายขบวนองค์กรชุมชน “ออกแบบกระบวนการ กลไกการขับเคลื่อน ภายใต้แนวทางการปฏิรูปขบวนองค์กรชุมชน และ พอช.

กล่าวต้อนรับ และชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดสัมมนา นายกฤษดา…

“ช่างชุมชนจันทบุรี” ยกระดับมาตฐาน หนุนการสร้างบ้านพอเพียง

จันทบุรี/ วันที่ 26 พฤษภาคม 2566 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน…

เรื่องดีดีที่ชุมชน ตอนที่ 2146 : “หัวหน้าผู้ตรวจราชการพม. ประชุมOne Home พม.หนองคาย และเยี่ยมศูนย์เรียนรู้ชุมชน”

หนองคาย/ ระหว่างวันที่ 24-25 พฤษภาคม 2566 นายอนันต์ ดนต…

ดาวน์โหลด พรบ. สภาองค์กรชุมชน

เอกสารแนบ