บ้านมั่นคงเมืองและชนบทแทน

โครงการบ้านมั่นคง เป็นโครงการสนับสนุนการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนแออัดที่สนับสนุนให้ชุมชน

รวมตัวกันเป็นกลุ่ม/องค์กรชุมชนเป็นแกนหลักในการดำเนินการ โดยได้เริ่มดำเนินการในพื้นที่นำร่อง 10 โครงการ

ตั้งแต่ปี 2546 จากนั้นในปี 2548 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติการเพื่อพัฒนาชุมชนแออัด “บ้านมั่นคง”2548-2551 และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในการสนับสนุนการดำเนินงานและงบประมาณอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยมีการปรับเปลี่ยนกรอบงบประมาณจากเดิม 60,000 บาทต่อครัวเรือน เพิ่มเป็น 80,000 บาทต่อครัวเรือน และในปี 2563 เพิ่มเป็น 89,800 บาทต่อครัวเรือน

ในปี 2560 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัยระยะ 20 ปี (2560-2579) ภายใต้วิสัยทัศน์ “คนไทยทุกคนมีที่อยู่อาศัยถ้วนทั่วและมีคุณภาพชีวิตที่ดี” (Housing For All) ซึ่งยึดโยงกับปฏิญญาสากลที่ประเทศไทยให้การรับรองคือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 11 ของสหประชาชาติและวาระใหม่ในการพัฒนาเมือง โดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) รับผิดชอบดำเนินโครงการเพื่อสร้างความมั่นคงในที่อยู่อาศัย พัฒนาเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้มีรายได้น้อยในชุมชนแออัด และได้มอบหมายให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนรับผิดชอบดำเนินโครงการดังกล่าว

การดำเนินงานตามโครงการบ้านมั่นคงเป็นรูปแบบการพัฒนาแนวทางใหม่ที่ชุมชนเป็นแกนหลักใน

การพัฒนาโดยการเชื่อมโยงกลไกท้องถิ่นและภาคีพัฒนาในการทำงานร่วมกัน และร่วมสนับสนุน

กระบวนการพัฒนาของชุมชน เน้นการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยที่ครอบคลุมทั้งเมือง ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และ

การสร้างเครือข่ายของชุมชนในการหนุนช่วยซึ่งกันและกัน การพัฒนาที่อยู่อาศัยคนจนที่นำไปสู่การพัฒนาที่

ครอบคลุมทุกมิติและการเชื่อมโยงกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจของเมือง

กระบวนการดำเนินงานโครงการบ้านมั่นคงจะประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญตั้งแต่กระบวนการสำรวจ

ข้อมูลครัวเรือน ชุมชน การวางแผนการพัฒนาทั้งเมือง การออกแบบ และการวางผังการปรับปรุงชุมชน

การดำเนินการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและพัฒนาระบบสาธารณูปโภค รวมถึงการสร้างระบบสังคมและข้อตกลง

การอยู่ร่วมกันภายในชุมชน ในกระบวนการดังกล่าวจะให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในการคิด ตัดสินใจ

ดำเนินการ และบริหารจัดการ โดยชุมชนในทุกขั้นตอน ซึ่งเป็นระบบการบริหารจัดการแนวใหม่ที่ชุมชนท้องถิ่น

ต้องร่วมเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความโปร่งใสในการดำเนินงานโครงการ

 

หลักคิดสำคัญ

1. องค์กรชุมชนเป็นแกนหลัก เป็นการดำเนินการโดยองค์กรชุมชนและท้องถิ่น โดยชุมชนและท้องถิ่น

เป็นผู้บริหารโครงการ แทนการบริหารโครงการก่อสร้างแบบเดิมที่รัฐเป็นผู้ดำเนินการให้ การบริหารแนวทางใหม่

คือรัฐจะอุดหนุนงบประมาณค่าพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและสิ่งแวดล้อมถึงตรงไปยังชุมชน ทำให้ชุมชนเป็นตัว

ตั้งในการดำเนินการทุกขั้นตอน สามารถคิด วางแผน และจัดการได้อย่างเต็มที่ โดยมีหน่วยงานท้องถิ่นและ

สถาบันการศึกษาในพื้นที่ เป็นผู้ช่วยสนับสนุนตามแนวทางใหม่นี้ ชาวบ้านจะเปลี่ยนบทบาทจาก “ผู้รับประโยชน์”

หรือ “ผู้ขอความช่วยเหลือ” เป็น เจ้าของโครงการร่วมกันทั้งชุมชน และใช้กระบวนการบ้านมั่นคง

เป็นกระบวนการพัฒนาที่จะเปลี่ยนสภาพ วิธีคิด สถานภาพ และความสัมพันธ์ของชุมชนกับสังคมให้ดีขึ้น

2. สร้างสังคมมั่นคงในเรื่องที่ดินอยู่อาศัย เป็นการสร้างความมั่นคงในการครอบครองที่ดิน เนื่องจาก

ความมั่นคงในการถือครองที่ดิน จะเป็นพื้นฐานให้เกิดการสร้างชุมชนที่มั่นคง ยั่งยืน โดยเน้นการใช้ที่ดินของรัฐ

ที่ดินของเอกชนที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ รวมทั้งการหาที่ดินใบหม่ในกรณีที่จะต้องมีการรื้อย้าย อันจะนำไปสู่การ

กระจายการถือครองที่ดินที่เป็นธรรม เช่น การซื้อที่ดิน การเช่าระยะยาว เป็นต้น โดยเน้นสิทธิร่วมกันของชุมชน

ในการอยู่อาศัยตลอดจนการปรับแก้กฎระเบียบต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาให้มีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น

3. สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง บ้านมั่นคงมิใช่เป็นเพียงการสร้างที่อยู่อาศัยที่มั่นคงเท่านั้น แต่จะเน้นการสร้าง

ความมั่นคงของชีวิตด้านสังคมและเศรษฐกิจ เป็นสังคมที่มีความเอื้ออาทรต่อกัน มีความสัมพันธ์ต่อกัน และมีการ

จัดการร่วมกันเป็นการพัฒนาโครงการที่มั่นคงทางด้านสังคม เศรษฐกิจ สภาพกายภาพที่สวยงาม

4. วางแผนการแก้ไขปัญหาทั้งเมืองโดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน บ้านมั่นคงจะเน้นการแก้ไข

ปัญหาร่วมกันทั้งเมือง โดยมุ่งให้เกิดแนวทางและแผนการแก้ไขปัญหาที่ครอบคลุมทุกชุมชนที่ไม่มีความมั่นคงใน

เรื่องที่อยู่อาศัยทั้งเมืองร่วมกัน โดยชุมชนเป็นแกนหลัก ร่วมกับภาคีต่าง ๆ เช่น หน่วยงานท้องถิ่น เทศบาล

องค์การบริหารส่วนตำบล สถาบันการศึกษา ผังเมือง นักพัฒนาเอกชน ฯลฯ เพื่อร่วมกันวางแผนและจัด

กระบวนการพัฒนาเมืองควบคู่กันไป

5. ความหลากหลายของรูปแบบและแนวทางการปรับปรุงที่อยู่อาศัย รูปแบบและแนวทางการแก้ไข

ปัญหาที่อยู่อาศัยในโครงการบ้านมั่นคง ขึ้นอยู่กับความต้องการความสามารถในการจ่ายของชุมชนผู้เดือดร้อน

เงื่อนไขที่ดินและความเห็นร่วมของคณะกรรมการเมือง ฯลฯ

 

 หลักการดำเนินโครงการ

1) ให้ชุมชนและเครือข่ายเป็น “เจ้าของโครงการ” ทำงานร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นและภาคีที่เกี่ยวข้อง

2) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานกลางทำหน้าที่สนับสนุนการดำเนินการ

โครงการในระยะแรก เพื่อสร้างองค์ความรู้ รูปแบบแนวทางและกระบวนการเรียนรู้ และถ่ายโอนภารกิจ

ให้ท้องถิ่นและชุมชนร่วมกันดำเนินงานในระยะต่อไป

3) ประสานความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อรองรับการถ่ายโอนภารกิจด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยของคนจนตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วน

ท้องถิ่น พ.ศ. 2542

4) การเชื่อมโยงแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบท ให้เป็นส่วนหนึ่ง

ของแผนพัฒนาชุมชนและเมืองน่าอยู่ของแผนงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แผนพัฒนาจังหวัด กลุ่ม

จังหวัด ภาค และแผนการแก้ไขปัญหาความยากจน

วัตถุประสงค์

บ้านมั่นคงเมือง บ้านมั่นคงชนบท
1. เพื่อแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อยใน

ชุมชนแออัด ชุมชนบุกรุก ผู้ไร้ที่ดินอยู่อาศัย ในเมืองหรือผู้มีรายได้น้อยที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนเนื่องจากที่อยู่อาศัยไม่มีความมั่นคง มีสภาพชำรุดทรุดโทรม หรือเป็นผู้ประสบปัญหาภัยพิบัติ อัคคีภัย หรือถูกไล่รื้อชุมชน

 

2. เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาชุมชนอย่างเป็นระบบ ผู้

มีรายได้น้อยมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง มีคุณภาพชีวิตที่ดี

ได้รับการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค สิ่งแวดล้อม

เศรษฐกิจและสังคม เกิดความมั่นคงในเรื่องที่อยู่อาศัย

และสิทธิครอบครองที่ดิน รวมทั้งเกิดกระบวนการ

เรียนรู้และองค์ความรู้ชุมชน

 

3. เพื่อให้เกิดระบบการบริหารจัดการที่ดีของชุมชน

ท้องถิ่น มีระบบบริหารจัดการองค์กรที่มีประสิทธิภาพ

ตรวจสอบได้ สามารถเชื่อมโยงการพัฒนาระบบทั้งใน

และนอกชุมชน

 

4. เพื่อให้เกิดระบบข้อมูลและแผนรวมในการพัฒนา

ชุมชน ใช้เป็นแนวทางเชื่อมโยงการพัฒนาชุมชนอย่าง

บูรณาการ มีการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สวัสดิการ

สิ่งแวดล้อม มีการออมทรัพย์เพื่อการสร้างทุนของ

ชุมชน

 

5. เพื่อให้เกิดรูปธรรมและรูปแบบในการแก้ปัญหาที่

อยู่อาศัยของชุมชนอย่างหลากหลาย เกิดการจัดการ

ร่วมกันของชุมชน ท้องถิ่น องค์กรพัฒนาต่างๆ สถาบัน

วิชาการ และหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

 

1. เพื่อแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน ของผู้อยู่อาศัยในชนบท ที่ประสบปัญหาความเดือดร้อน

เนื่องจากไม่มีความมั่นคงในเรื่องที่ดินและที่อยู่อาศัยมีสภาพชำรุดทรุดโทรม ผู้ประสบปัญหาภัยพิบัติอัคคีภัย ถูกไล่รื้อ หรือผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายของรัฐ

 

2. เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาชุมชนอย่างเป็นระบบ

พัฒนาทั้งตำบล โดยชุมชนเป็นผู้กำหนดแนวทาง

พัฒนาและวิธีการขับเคลื่อนของตนเอง แก้ไขปัญหา

ที่ดินที่อยู่อาศัยและครอบคลุมการพัฒนาทุกด้าน คงไว้

ซึ่งอัตลักษณ์ของพื้นที่ วิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี

ภูมิปัญญา ที่ทำให้เกิดความเข้มแข็งของตำบล

 

3. เพื่อให้เกิดระบบการบริหารจัดการที่ดีของชุมชน

ท้องถิ่น มีระบบบริหารจัดการองค์กรที่มีประสิทธิภาพ

ตรวจสอบได้ สามารถเชื่อมโยงการพัฒนาระบบทั้งใน

และนอกชุมชน ตำบล

 

4. เพื่อสร้างความร่วมมือภายในชุมชน ท้องถิ่น ท้องที่

และหน่วยงานภาคี ตั้งแต่การจัดการข้อมูล การจัดทำ

ผังและแผนการพัฒนาตำบล การสร้างระบบทุนร่วม

ของคนในตำบล กลุ่มกองทุน/กลุ่มออมทรัพย์/

สวัสดิการ ที่ต่อเนื่อง ตลอดจนการจัดการทรัพยากร

 

5. เพื่อสร้างรูปธรรมและรูปแบบการแก้ปัญหาที่ดินทำ

กินที่อยู่อาศัยของชุมชนยกระดับคุณภาพชีวิต สร้าง

ความมั่นคงในที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินอย่างยั่งยืนใน

ถิ่นฐานเดิม ของคนในตำบล โดยมีสภาองค์กรชุมชน/สวัสดิการ

ชุมชน/เครือข่ายชุมชนเมือง เป็นกลไกในการเชื่อมโยง

การแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่

 

 

 

 

เป้าหมาย/แนวทางสำคัญ 

1. การใช้เรื่องที่อยู่อาศัยเป็นฐานไปสู่การพัฒนาเมือง/ตำบลทุกมิติ สังคมอยู่ดีมีสุขถ้วนหน้า

2. เกิดคณะกรรมการพัฒนาระดับเมือง/ตำบลที่มีองค์ประกอบจากผู้แทนชุมชน องค์กรปกครองส่วน

ท้องถิ่น และหน่วยงานภาคีพัฒนาต่างๆ

3. ชุมชนมีบทบาทหลักในการบริหารจัดการแผนงาน งบประมาณ ได้รับประโยชน์อย่างทั่วถึง ลด

ความเหลื่อมล้ำ

4. เกิดการพัฒนาผู้นำชุมชนทั้งที่เป็นนักยุทธศาสตร์ และนักปฏิบัติการในการขับเคลื่อนงานพัฒนา

5. ใช้โครงการบ้านมั่นคงเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเมือง/ตำบลทุกมิติ

6. เกิดความร่วมมือภาคี ทีมร่วมในการทำงานพัฒนาทั้งจากชุมชนและหน่วยงานต่างๆ

 

กระบวนการทำงาน

1. ใช้กระบวนการสำรวจข้อมูลเมือง/ตำบลในการเชื่อมโยงคนทำงาน การบูรณาการข้อมูลที่มี นำไปใช้

ในการทำงานจริงร่วมกันพื้นที่นำไปสู่การแก้ไขปัญหาทั้งเมือง/ตำบล

2. พัฒนาระบบกลุ่มออมทรัพย์ สร้างกองทุนของตนเอง เพื่อแก้ไขปัญหาแก่ชุมชน

3. ใช้กลไกสภาองค์กรชุมชน/เครือข่ายชุมชนผู้เดือดร้อนในการขับเคลื่อนงานในพื้นที่

4. พัฒนาแผนชุมชนในทุกมิติ บูรณาการแผนชุมชน/ตำบล กับท้องถิ่น เชื่อมโยงแผนการพัฒนาที่อยู่

อาศัยยุทธศาสตร์ระดับจังหวัด

5. สร้างความร่วมมือกับภาคี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่น

6. สร้างและการพัฒนาศักยภาพคนทำงาน

6.1 ผู้นำที่เป็นนักยุทธศาสตร์ ผู้นำการเปลี่ยนแปลง ที่รอบรู้และมีความสามารถทุกด้าน

มองภาพรวมงานพัฒนา

6.2 คนทำงานที่เป็นนักปฏิบัติการ นักเทคนิคที่มีความรู้เฉพาะ เช่น ช่าง บัญชี ระบบบริหาร

จัดการ กฎหมาย ฯลฯ

7. บูรณาการแผนที่อยู่อาศัยจากระดับชุมชน/เมือง/ตำบลร่วมกับแผนพัฒนายุทธศาสตร์จังหวัด

 

กลุ่มเป้าหมาย 

บ้านมั่นคงเมือง บ้านมั่นคงชนบท
1. เป็นผู้อยู่อาศัย ที่มีบ้านของตนเอง ผู้อาศัย หรือบ้านเช่าที่อยู่จริงในชุมชนที่อยู่อาศัยในที่ดินรัฐและเอกชนอย่างไม่มั่นคง รวมถึงกลุ่มบุกรุกขนาดเล็กที่กระจัดกระจายในเมือง

2. กลุ่มบ้านเช่า ต้องเป็นผู้ที่อาศัยอยู่จริงในชุมชน

มาอย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 5 ปี ยกเว้นผู้เช่าที่มีเหตุ

จำเป็นต้องย้ายในกรณีอื่น ให้ขึ้นอยู่กับความเห็นของ

ที่ประชุมคณะกรรมการชุมชน คณะกรรมการเมือง

หรือเครือข่าย และผ่านการรับรองสิทธิ์

3. กลุ่มบุกรุกขนาดเล็กกระจัดกระจาย ที่มีรายได้น้อย

ตามแผนแม่บทยุทธศาสตร์การพัฒนาที่อยู่อาศัยระยะ

20 ปี (พ.ศ. 2561-2580)

4. กลุ่มครอบครัวขยาย กรณีบ้านที่มีจำนวนผู้อยู่อาศัยมากกว่า 5 คนขึ้นไป และมีความแออัด สามารถ

พิจารณาให้สิทธิ์เพิ่มได้แต่ไม่เกิน 1 สิทธิ์

5. กรณีชุมชนที่อยู่ในที่ดินของตนเอง ที่มีความแออัด

เสื่อมโทรม และได้รับผลกระทบจากแผนการพัฒนา

เมือง ให้พิจารณาเป็นรายกรณีตามความเดือดร้อน

1. เป็นผู้อยู่อาศัยที่มีบ้านของตนเอง หรือบ้านเช่าที่อยู่

จริงในหมู่บ้าน ซึ่งที่ดินอยู่อาศัยไม่มีเอกสารสิทธิ์ ไม่มี

สัญญาเช่า หรือได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง ซึ่งจะเป็น

ที่ดินรัฐประเภทต่างๆ หรือเอกชน

2. เป็นผู้มีรายได้น้อย ยากจนที่อาศัยและทำกินจริงอยู่

ในพื้นที่

3. ผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายรัฐ หรือแผนการ

พัฒนาของรัฐ

4. ผู้ที่ประสบปัญหา ภัยพิบัติ อุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย

 

 

องค์กรผู้เสนอโครงการ

บ้านมั่นคงเมือง บ้านมั่นคงชนบท
1. กลุ่มออมทรัพย์/ส หก ร ณ์ เ ส น อ โ ค ร งการ

เพื่อแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยและการบริหารจัดการองค์กร

ร่วมกับภาคีพัฒนา

2. เครือข่ายองค์กรชุมชนระดับตำบล ระดับจังหวัด

หรือระดับภาค รวมถึงคณะบุคคล ภาคีประชาสังคม

สถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานที่ร่วมสนับสนุน

การพัฒนาที่อยู่อาศัย เสนอโครงการเพื่อสนับสนุน

การพัฒนาขบวนชุมชน/เมือง องค์ความรู้

 

1. กลุ่มออมทรัพย์/ สห กรณ์ เ ส น อ โ ค ร งการ

เพื่อแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยและการบริหารจัดการองค์กร

ร่วมกับภาคีพัฒนา

2. เครือข่ายองค์กรชุมชนระดับตำบล สภาองค์กร

ชุมชน สวัสดิการชุมชน เครือข่ายระดับจังหวัด หรือ

ระดับภาค รวมถึงคณะบุคคล ภาคีประชาสังคม

สถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานที่ร่วมสนับสนุนการ

พัฒนาพื้นที่ตำบล เสนอโครงการเพื่อสนับสนุนการ

พัฒนาและองค์ความรู้

 

 

กณฑ์การพิจารณาสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย

1. การพิจารณาสิทธิ์ให้บ้านละ 1 สิทธิ์

2. กรณีบ้านที่มีผู้อยู่อาศัยมากกว่า 5 คนขึ้นไป และมีความแออัด สามารถพิจารณาให้สิทธิ์เพิ่มได้แต่

ไม่เกิน 1 สิทธิ์

3. การพิจารณาเพิ่มสิทธิ์ให้กับบ้านที่อยู่อาศัยกันอย่างแออัด ให้พิจารณาเรื่องรายได้รายจ่ายประกอบ

โดยบ้านที่ได้รับสิทธิ์เพิ่มต้องเป็นครอบครัวที่สามารถรับภาระค่าใช้จ่ายได้ และการได้สิทธิ์เพิ่มจะไม่ส่งผลให้พ่อแม่

หรือผู้สูงอายุในบ้านต้องถูกทอดทิ้ง

4. กรณีกลุ่มบ้านเช่า ต้องเป็นผู้อาศัยอยู่จริง และมีระยะเวลาการอยู่อาศัยในชุมชนต่อเนื่องไม่น้อยกว่า

5 ปี ยกเว้นผู้เช่าที่ย้ายที่อยู่ในท้องถิ่นเดียวกัน ให้คณะกรรมการชุมชนพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป

5. บ้านหลังหนึ่งสามารถรับสิทธิ์ได้เพียงโครงการเดียว

6. กรณีการย้ายไปสร้างชุมชนในที่ดินใหม่ หากเป็นเจ้าของบ้านเช่า แต่เจ้าของบ้านไม่ได้อยู่อาศัยจริง

ในชุมชน และต้องการที่ดินในชุมชนใหม่เพื่อประโยชน์ในการสร้างรายได้ มิใช่เพื่อการอยู่อาศัยจริงของตนเองและ

บุตรหลาน ไม่สามารถให้สิทธิ์ได้

7. กรณีย้ายไปสร้างชุมชนใหม่ ผู้ได้รับสิทธิ์ต้องมีแผนการเข้าอยู่อาศัย หรือปลูกสร้างบ้านในระยะเวลา

ไม่เกิน 1 ปี

 

กระบวนการพัฒนาโครงการบ้านมั่นคงเมือง

1. ประสานหน่วยงานท้องถิ่นและแกนนำระดับเมือง เพื่อสร้างความเข้าใจให้ข้อมูลแนวทางกับชุมชน

และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ เพื่อให้ชุมชนและท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมตั้งแต่แรกเริ่มโครงการ

2. ประชุมชี้แจงระดับเมือง เพื่อให้ทราบข้อมูลและให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานใน

ขั้นต้น ในช่วงแรกอาจมีตัวแทนเข้าร่วมกิจกรรมในที่ต่าง ๆ เพื่อสร้างโอกาสให้ตัวแทนชุมชนได้ทราบข้อมูลและ

รูปธรรมความเป็นมาทำให้ผู้นำองค์กรชุมชนในจังหวัดและภาคส่วนต่างๆ สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็น

เกี่ยวกับโครงการ ได้กว้างขวาง

3. ประชุมชี้แจงระดับชุมชนและจัดคณะกรรมการระดับชุมชน หลังจากมีการประชุมระดับเมือง

แล้วเทศบาล อบต. และแกนนำชุมชนระดับเมือง/ตำบล จะร่วมจัดเวทีในระดับชุมชน ให้องค์กรชุมชนซึ่งเป็น

องค์กรพื้นฐานได้รับทราบข้อมูล สร้างความพร้อมในการดำเนินโครงการ และจัดตั้งคณะกรรมการโครงการบ้าน

มั่นคงระดับชุมชน สำหรับชุมชนที่มีความพร้อม

4. จัดตั้งคณะทำงานหรือคณะกรรมการพัฒนาที่อยู่อาศัยระดับพื้นที่ เพื่อเป็นกลไกสนับสนุนการ

พัฒนา ติดตามสนับสนุนการดำเนินงานโครงการบ้านมั่นคง โดยมีคำสั่งรองรับจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ

สภาองค์กรชุมชนตำบล ประกอบด้วย ผู้แทนชุมชน ผู้แทนเครือข่ายองค์กรชุมชน ห น่วยงานท้องถิ่น

สถาบันการศึกษา และภาคีพัฒนาอื่นๆ ในท้องถิ่น

5. วางระบบการทำงานของคณะทำงานหรือคณะกรรมการพัฒนาที่อยู่อาศัยระดับพื้นที่

คณะทำงานหรือคณะกรรมการจะต้องวางแผนระบบการทำงานที่สำคัญ เช่น ระบบการประชุม การสำรวจข้อมูล

ชุมชน การวางแผนการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยโดยโครงการบ้านมั่นคง การพัฒนาโครงการเพื่อขอรับสนับสนุน

งบประมาณ การสนับสนุนการออกแบบวางผังชุมชน เป็นต้น

6. สำรวจข้อมูลชุมชน เป็นการสำรวจภาพรวมของชุมชนในประเด็นสำคัญๆ โดยใช้ระยะเวลาสั้นๆ

ไม่เกิน 1 เดือน ให้ได้ผลสรุปรวมของชุมชนทั้งเมือง เพื่อนำไปสู่การวางแผนระดับเมือง/ตำบล ข้อมูลชุมชน

ที่สำรวจในขั้นนี้ ประกอบด้วย ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนบ้าน ครัวเรือน สถานภาพความมั่น คงในการอยู่อาศัย

การครอบครองที่ดิน ระบบสาธารณูปโภค องค์กรชุมชน กลุ่มออมทรัพย์ กลไกการพัฒนาที่มีอยู่ เป็นต้น

การสำรวจข้อมูลชุมชนนับเป็นขั้นตอนสำคัญที่ทำให้องค์กรชุมชนในเมือง/ตำบลเดียวกัน ได้มีโอกาสรู้จักกันมากขึ้น

และเป็นขั้นตอนการปฏิบัติการที่เอื้อให้ชาวบ้านในเครือข่ายได้มีโอกาสจัดกลุ่มทำงานด้วยกันได้ รู้จักกันและ

วางแผนด้วยกัน นอกจากนี้การสำรวจและสรุปข้อมูลของชุมชนในแต่ละเมือง/ตำบล ยังถือเป็นขั้นตอนสำคัญ

เสมือนเป็นการลงทะเบียนจำนวนคนจน ที่อยู่ในชุมชนทั้งหมดในแต่ละเมืองด้วย ข้อมูลนี้จึงควรมีการรับรอง

ตรวจสอบอย่างรอบครอบ

7. วางแผนการพัฒนาทั้งเมือง/ตำบล หลังจากการสำรวจข้อมูลชุมชนแล้วเสร็จต้องตรวจสอบ

ผลการสำรวจและใช้ผลจากการสำรวจมาเปรียบเทียบวิเคราะห์ปัญหาความเป็นไปได้ และหลักเกณฑ์การพัฒนา

ร่วมกับกลไกพัฒนาอื่นๆ ในท้องถิ่นจัดให้มีการวางแผนพัฒนาที่ครอบคลุมชุมชนทั้งเมืองภายในระยะเวลาประมาณ

3 ปี ในกระบวนการนี้จำเป็นต้องพิจารณาถึงทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง เช่น งบประมาณ ที่ดินที่มีอยู่ทิศทางการพัฒนา

เมือง และร่วมกันคิดค้นวิธีการที่จะทำงาน โดยการสร้างความรู้เชื่อมโยงผู้รู้เพื่อเข้ามาร่วมกันทำงานให้เกิด

ความสำเร็จ เพื่อแก้ปัญหาต้นเหตุให้ได้มากที่สุด

8. กระบวนการพิจารณาสิทธิ์

8.1) จัดทำข้อมูล เพื่อยืนยันการอยู่อาศัยในชุมชนและเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาสิทธิ์ ได้แก่

ข้อมูลรายครัวเรือน ข้อมูลภาพรวมชุมชน ผังชุมชนเดิม

8.2) ประชุมผู้เดือดร้อน หน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างเกณฑ์กลางในการพิจารณาสิทธิ์

ของผู้จะเข้าไปอยู่ในโครงการ และแต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาสิทธิ์ ประกอบด้วย ตัวแทนผู้เดือดร้อน สหพันธ์

พัฒนาองค์กรชุมชนคนจนเมืองแห่งชาติ (สอช.) เจ้าของที่ดิน หน่วยงานภาคี/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและ สถาบัน

พัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (พอช.) เป็นต้น

8.3) ประชุมพิจารณาสิทธิ์ โดยนำเกณฑ์กลางที่ได้จากสมาชิกเป็นตัวตั้ง มีขั้นตอนการพิจารณา

ดังนี้

(1) นำเสนอภาพรวมผลการจัดทำข้อมูล (ข้อมูลรายครัวเรือน ข้อมูลชุมชน ผังชุมชน)

(2) นำเสนอข้อมูลผู้เดือดร้อนแต่ละราย (ข้อมูลรายครัวเรือน/ข้อมูลพื้นฐาน ผังชุมชน) วิธีการ

นำเสนอเช่น ตัวแทนออกมานำเสนอ ผู้เดือดร้อนนำเสนอข้อมูลของตัวเอง โดยมีเอกสารประกอบอื่นๆ ได้แก่

บัตรประชาชน สมุดออมทรัพย์ เป็นต้น

(3) ให้ผู้เดือดร้อนชี้แจงเพิ่มเติม (กรณีที่ผู้อื่นนำเสนอข้อมูลแทน)

(4) หลังการนำเสนอจบให้สมาชิกและคณะกรรมการได้ซักถามเพิ่มเติม และเสนอแลกเปลี่ยน

(5) ลงมติรับรองโดยการยกมือทั้งคณะทำงานฯ และสมาชิกในที่ประชุม

(6) สรุปข้อมูลจำนวนผู้ที่ผ่าน-ไม่ผ่านการรับรองสิทธิ์

(7) ประธานคณะทำงานรับรองสิทธิ์ ลงนามรับรองสมาชิกผ่าน-ไม่ผ่านการรับรองสิทธิ์

9. จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ กระบวนการออมทรัพย์ชุมชนเพื่อที่อยู่อาศัย เป็นกระบวนการสำคัญที่ต้อง

รณรงค์ให้ทุกชุมชนในเมืองเริ่มต้นขึ้น และดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นการส่งเสริมให้เกิดการ

จัดระบบทุน ส่งเสริมให้เกิดกองทุนในการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

 

 

โครงการบ้านมั่นคงชนบท

1. ประสานหน่วยงานท้องถิ่นและแกนนำระดับเมือง เพื่อสร้างความเข้าใจให้ข้อมูลแนวทางกับชุมชน

และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ เพื่อให้ชุมชนและท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมตั้งแต่แรกเริ่มโครงการ

2. ประชุมชี้แจงระดับตำบล/เครือข่าย เพื่อให้ทราบข้อมูลและให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวทาง

การดำเนินงานในขั้นต้น ในช่วงแรกอาจมีตัวแทนเข้าร่วมกิจกรรมในที่ต่าง ๆ เพื่อสร้างโอกาสให้ตัวแทนชุมชน

ได้ทราบข้อมูลและรูปธรรมความเป็นมาทำให้ผู้นำองค์กรชุมชนในจังหวัดและภาคส่วนต่างๆ สามารถแลกเปลี่ยน

ข้อมูล ความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการ ได้กว้างขวาง

3. จัดตั้งคณะทำงานหรือคณะกรรมการพัฒนาที่อยู่อาศัยระดับพื้นที่ เพื่อเป็นกลไกสนับสนุนการ

พัฒนา ติดตามสนับสนุนการดำเนินงานโครงการบ้านมั่นคง โดยมีคำสั่งรองรับจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ

สภาองค์กรชุมชนตำบล ประกอบด้วย ผู้แทนชุมชน ผู้แทนเครือข่ายองค์กรชุมชน หน่วยงานท้องถิ่น

สถาบันการศึกษา และภาคีพัฒนาอื่นๆ ในท้องถิ่น

4. วางระบบการทำงานของคณะทำงานหรือคณะกรรมการพัฒนาที่อยู่อาศัยระดับพื้นที่

คณะทำงานหรือคณะกรรมการจะต้องวางแผนระบบการทำงานที่สำคัญ เช่น ระบบการประชุม การสำรวจข้อมูล

ชุมชน การวางแผนการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยโดยโครงการบ้านมั่นคง การพัฒนาโครงการเพื่อขอรับสนับสนุน

งบประมาณ การสนับสนุนการออกแบบวางผังชุมชน เป็นต้น

5. สำรวจข้อมูลชุมชน เป็นการสำรวจภาพรวมของชุมชนในประเด็นสำคัญๆ โดยใช้ระยะเวลาสั้นๆ

ไม่เกิน 1 เดือน ให้ได้ผลสรุปรวมของชุมชนทั้งเมือง เพื่อนำไปสู่การวางแผนระดับเมือง/ตำบล ข้อมูลชุมชน

ที่สำรวจในขั้นนี้ ประกอบด้วย ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนบ้าน ครัวเรือน สถานภาพความมั่นคงในการอยู่อาศัย

การครอบครองที่ดิน ระบบสาธารณูปโภค องค์กรชุมชน กลุ่มออมทรัพย์ กลไกการพัฒนาที่มีอยู่ เป็นต้น การ

สำรวจข้อมูลชุมชนนับเป็นขั้นตอนสำคัญที่ทำให้องค์กรชุมชนในเมือง/ตำบลเดียวกัน ได้มีโอกาสรู้จักกันมากขึ้น

และเป็นขั้นตอนการปฏิบัติการที่เอื้อให้ชาวบ้านในเครือข่ายได้มีโอกาสจัดกลุ่มทำงานด้วยกันได้ รู้จักกันและ

วางแผนร่วมกัน นอกจากนี้การสำรวจและสรุปข้อมูลของชุมชนในแต่ละเมือง/ตำบล ยังถือเป็นขั้นตอนสำคัญ

เสมือนเป็นการลงทะเบียนจำนวนคนจน ที่อยู่ในชุมชนทั้งหมดในแต่ละเมืองด้วย ข้อมูลนี้จึงควรมีการรับรอง

ตรวจสอบอย่างรอบครอบ

6. วางแผนการพัฒนาทั้งเมือง/ตำบล หลังจากการสำรวจข้อมูลชุมชนแล้วเสร็จต้องตรวจสอบผล

การสำรวจและใช้ผลจากการสำรวจมาเปรียบเทียบวิเคราะห์ปัญหาความเป็นไปได้ และหลักเกณฑ์การพัฒนา

ร่วมกับกลไกพัฒนาอื่นๆ ในท้องถิ่นจัดให้มีการวางแผนพัฒนาที่ครอบคลุมชุมชนทั้งเมืองภายในระยะเวลาประมาณ

3 ปี ในกระบวนการนี้จำเป็นต้องพิจารณาถึงทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง เช่น งบประมาณ ที่ดินที่มีอยู่ทิศทางการ

พัฒนาเมือง และร่วมกันคิดค้นวิธีการที่จะทำงาน โดยการสร้างความรู้เชื่อมโยงผู้รู้เพื่อเข้ามาร่วมกันทำงานให้เกิด

ความสำเร็จ เพื่อแก้ปัญหาต้นเหตุให้ได้มากที่สุด

7. กระบวนการพิจารณาสิทธิ์

7.1) จัดทำข้อมูล เพื่อยืนยันการอยู่อาศัยในชุมชนและเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาสิทธิ์ ได้แก่

ข้อมูลรายครัวเรือน ข้อมูลภาพรวมชุมชน ผังชุมชนเดิม

7.2) ประชุมผู้เดือดร้อน หน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างเกณฑ์กลางในการพิจารณาสิทธิ์

ของผู้จะเข้าไปอยู่ในโครงการ และแต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาสิทธิ์ ประกอบด้วย ตัวแทนผู้เดือดร้อน สหพันธ์

พัฒนาองค์กรชุมชนคนจนเมืองแห่งชาติ (สอช.) เจ้าของที่ดิน หน่วยงานภาคี/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและ สถาบัน

พัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (พอช.) เป็นต้น

7.3) ประชุมพิจารณาสิทธิ์ โดยนำเกณฑ์กลางที่ได้จากสมาชิกเป็นตัวตั้ง มีขั้นตอนการพิจารณา

ดังนี้

(1) นำเสนอภาพรวมผลการจัดทำข้อมูล (ข้อมูลรายครัวเรือน ข้อมูลชุมชน ผังชุมชน)

(2) นำเสนอข้อมูลผู้เดือดร้อนแต่ละราย (ข้อมูลรายครัวเรือน/ข้อมูลพื้นฐาน ผังชุมชน) วิธีการ

นำเสนอเช่น ตัวแทนออกมานำเสนอ ผู้เดือดร้อนนำเสนอข้อมูลของตัวเอง โดยมีเอกสาร

ประกอบอื่นๆ ได้แก่ บัตรประชาชน สมุดออมทรัพย์ เป็นต้น

(3) ให้ผู้เดือดร้อนชี้แจงเพิ่มเติม (กรณีที่ผู้อื่นนำเสนอข้อมูลแทน)

(4) หลังการนำเสนอจบให้สมาชิกและคณะกรรมการได้ซักถามเพิ่มเติม และเสนอแลกเปลี่ยน

(5) ลงมติรับรองโดยการยกมือทั้งคณะทำงานฯ และสมาชิกในที่ประชุม

(6) สรุปข้อมูลจำนวนผู้ที่ผ่าน-ไม่ผ่านการรับรองสิทธิ์

(7) ประธานคณะทำงานรับรองสิทธิ์ ลงนามรับรองสมาชิกผ่าน-ไม่ผ่านการรับรองสิทธิ์

8. จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ กระบวนการออมทรัพย์ชุมชนเพื่อที่อยู่อาศัย เป็นกระบวนการสำคัญ

ที่ต้องรณรงค์ให้ทุกชุมชนในเมืองเริ่มต้นขึ้น และดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นการส่งเสริมให้เกิดการ

จัดระบบทุน ส่งเสริมให้เกิดกองทุนในการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

 

รูปแบบการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย

1. การปรับปรุงสาธารณูปโภคในที่ดินเดิม (Slum Upgrading) เป็นการปรับปรุงชุมชนในที่ดินเดิม คือ

การปรับปรุงพัฒนาระบบสาธารณูปโภค หรือบริการพื้นฐานที่จำเป็น ตลอดจนพัฒนาสภาพแวดล้อมของชุมชน

ให้ดีขึ้น และเชื่อมโยงการพัฒนาสังคมด้านอื่น ๆ เป็นรูปแบบการพัฒนาที่คงความเป็นชุมชนเดิม โดยปรับ

โครงสร้างสาธารณูปโภคเล็กน้อย ที่สำคัญคือการปรับปรุงสิทธิในที่ดินอยู่อาศัยให้ชัดเจนขึ้น ได้แก่ การเช่าโดย

กลุ่ม/สหกรณ์ การได้รับอนุญาตให้อยู่อาศัยอย่างถูกต้อง ฯลฯ

2. การจัดปรับผังที่ดิน (Slum Re blocking) เป็นการปรับปรุงแบบชุมชนเดิมให้เกิดระบบ มีผังและ

โครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ดีขึ้น โดยอาจมีการปรับรื้อย้ายบ้านบางส่วนและพัฒนาระบบสาธารณูปโภค

ให้ดีขึ้น เป็นการดำเนินการในกรณีที่สามารถเช่าที่ดินระยะยาว หรือได้รับอนุญาตให้อยู่อาศัยหรือซื้อที่ดินที่ชุมชน

อยู่เดิมได้ โดยทั่วไปสภาพชุมชนจะดีขึ้น มีการปรับผังก่อสร้างบ้านใหม่ เพราะมีความมั่นคงเรื่องที่ดิน

เป็นการผสมผสานโครงสร้างของชุมชนเดิมบางส่วน และการปรับขยับบางส่วนใหม่ บ้านที่ใหญ่มากอาจต้อง

ลดขนาดบ้านลง เพื่อให้สมาชิกทั้งหมดสามารถได้สิทธิ์อยู่อาศัยใกล้เคียงกัน

3. การประสานประโยชน์การใช้ที่ดิน/การแบ่งปันที่ดิน (Land Sharing) เป็นการประสานประโยชน์

ระหว่างชุมชนและเจ้าของที่ดิน โดยเจ้าของที่ดินให้เช่าหรือขายที่บางส่วนให้ชุมชนในราคาถูก เพื่อแลกกับการใช้

ประโยชน์จากที่ดินส่วนที่เหลือ ซึ่งชุมชนสามารถอยู่ในที่ดินโดยมีความมั่นคงระยะยาวหรือมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน

เกิดการจัดปรับผัง จากที่อยู่แบบกระจัดกระจายมาอยู่บริเวณเดียวกัน เกิดการก่อสร้างและการพัฒนาที่อยู่อาศัย

ร่วมกันของชุมชนขึ้นใหม่ในที่ดินที่เล็กลง รัฐให้การสนับสนุนในด้านสาธารณูปโภคที่จำเป็นและชุมชนใช้เงินออม

และสินเชื่อจากสถาบันการเงินในการพัฒนาที่อยู่อาศัยของตนเอง

4. การก่อสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ในที่เดิม (Reconstruction) เป็นการรื้อย้ายจากบริเวณเดิมจากจุดหนึ่ง

ไปอยู่อีกจุดหนึ่งโดยชุมชนต้องก่อสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ทั้งหมด เมื่อชุมชนมีโอกาส มีความมั่นคง ชาวบ้านก็พร้อม

ที่จะลงทุนจะเห็นภาพการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน ซึ่งการรื้อย้ายและสร้างชุมชนใหม่ที่อยู่ในบริเวณเดิมทำให้ชุมชน

ยังคงสามารถอยู่ใกล้บริเวณชุมชนเดิมและแหล่งงาน ไม่ต้องปรับตัวมากและมีความมั่นคงโดยการเช่าที่ระยะยาว

คู่มือการบริหารโครงการบ้านมั่นคงเมืองและชนบท ปีงบประมาณ 2563 [ 14 ]

5. การสร้างแฟลต หรืออาคารสูงมากกว่า 2 ชั้น (Flat/Condominium) เป็นการสร้างที่อยู่อาศัยใน

แนวสูงเนื่องจากมีพื้นที่จำกัดเมื่อเทียบกับจำนวนผู้อยู่อาศัยที่จะต้องจัดรองรับ หรือที่ดินกลางเมืองราคาสูง

ซึ่งสามารถเพิ่มจำนวนความหนาแน่นของที่อยู่อาศัยได้ แต่มีข้อจำกัดคือ มีต้นทุนก่อสร้างสูง มีผลกระทบต่อ

โครงสร้างความสัมพันธ์ของคนในชุมชนเดิม

6. การรื้อย้ายและสร้างชุมชนใหม่ในที่ใหม่ (Relocation) ชุมชนบางแห่งมีขนาดเล็ก กระจายกันอยู่

ไม่สามารถอยู่ในที่ดินเดิมได้ หรือบางแห่งมีปัญหาการถูกไล่ที่ จำเป็นต้องรื้อย้ายพร้อมกัน จึงเกิดรูปแบบของการไป

สร้างชุมชนในที่ใหม่โดยหาที่ดินใหม่ ซึ่งอาจซื้อที่ดินร่วมกันหรือเช่าจากรัฐ วางผังออกแบบเพื่อสร้างชุมชนในที่ใหม่

สร้างระบบสาธารณูปโภคใหม่หมด และก่อสร้างจัดระบบบ้าน ระบบคนในที่ใหม่ รูปแบบนี้มีข้อดีคือสามารถ

จัดระบบ รูปแบบใหม่ได้ทั้งโครงการ สมาชิกมักกำหนดสิทธิ์และรูปแบบใหม่ได้พร้อมกันและใกล้เคียงกัน เนื่องจาก

เป็นการสร้างชุมชนใหม่ทั้งหมด และการที่ต้องย้ายไปในที่ใหม่ ชุมชนจำเป็นต้องปรับสภาพชีวิตการทำมาหากิน

ใหม่ตามไปด้วย บางครั้งถ้าหากที่ไกลการคมนาคมลำบากก็จะมีปัญหาชีวิตเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่จึงพยายามหาที่ดิน

ที่ตั้งชุมชนใหม่ให้อยู่ใกล้ที่เดิมหรือใกล้กับเส้นทางคมนาคมให้มากที่สุด

 

หลักคิดสำคัญของการออกแบบวางผังและการออกแบบบ้านผู้มีรายได้น้อยในโครงการบ้านมั่นคง

1. วิเคราะห์ที่ตั้ง (พื้นที่เดิม/พื้นที่ใหม่) ลักษณะแปลงที่ดินสภาพทั่วไป เช่น ต้นไม้ ทางน้ำ ที่ดินต้องถม

มากหรือไม่ ระบบสาธารณูปโภคทั้งหมด (น้ำ ไฟฟ้า ใกล้-ไกล ทางระบายน้ำ) ทางเข้า-ออก เส้นทางคมนาคมหลัก

ทิศทางลม ฝน แดด สภาพอากาศ

2. จัดตั้งกลุ่มผู้อยู่อาศัยหรือกระบวนการสังคม ความเป็นเครือญาติ ความผูกพัน กลุ่มสังคมที่มีอยู่

การมีกิจกรรมร่วมกัน การสร้างกลุ่มย่อยเพื่อการจัดการและการอยู่ร่วมกัน

3. วางผังสาธารณูปโภคและกลุ่มอาคารให้สอดคล้องกับราคา ความยากง่ายในการก่อสร้างและการดูแล

รักษา

4. ออกแบบอาคาร ควรพิจารณาความสามารถในการจ่าย ออกแบบพื้นที่ใช้สอยอย่างสอดคล้องกับ

จำนวนสมาชิก อาชีพ ศาสนา อายุ ความจำเป็น และพฤติกรรม วัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง รูปร่าง รูปแบบอาคาร

เอกลักษณ์ ของชุมชน กฎหมายอาคาร ราคาก่อสร้าง การสร้างระบบกลุ่มย่อยในผังใหม่

 

การบริหารจัดการและบริหารงบประมาณโครงการขององค์กรชุมชน 

องค์กรผู้เสนอโครงการในฐานะเจ้าของโครงการจะต้องวางระบบบริหารโครงการ โดยมีคณะกรรมการ

ในโครงการเป็นผู้รับผิดชอบ มีระบบการเงิน เอกสารการเงินและการเก็บรักษาหลักฐานการเงิน การจัดซื้อจัดจ้าง

การบริหารงานก่อสร้าง การเบิกจ่ายวัสดุ การตรวจรับงาน ประกันคุณภาพงานก่อสร้าง การดำเนินงานให้คนใน

ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการคิดร่วมจัดทำ ร่วมตัดสินใจ และร่วมดำเนินการ โดยมุ่งเน้นให้ดำเนินการก่อสร้างโดย

ชุมชนให้มากที่สุดตามศักยภาพของชุมชน การตัดสินใจในการดำเนินการ ควรได้รับความเห็นชอบจากผู้ที่เกี่ยวข้อง

เช่น คณะกรรมการพัฒนาระดับเมือง/ตำบล เจ้าของที่ดิน เป็นต้น การบริหารจัดการโครงการและงบประมาณ

ให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมดำเนินการโดยยึดหลักโปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน

 

คำนิยาม

กลุ่มออมทรัพย์ หมายถึง การรวมตัวกันของชาวบ้านที่มีความเดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัย จัดตั้งเป็นกลุ่ม

และมีการออมทรัพย์ โดยวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย ที่ดิน และสิ่งแวดล้อม โดยผู้เดือดร้อน เป็น

ผู้บริหารโครงการ

สหกรณ์ หมายถึง การรวมตัวกันของชาวบ้านที่มีความเดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัย จัดตั้งเป็นกลุ่มและมีการ

ถือหุ้น จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลภายใต้กฎหมายสหกรณ์ โดยวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย ที่ดิน และ

สิ่งแวดล้อม

เครือข่ายองค์กรชุมชน หมายถึง กลุ่ม/องค์กรชุมชนหลาย ๆ กลุ่ม/องค์กรมารวมตัวกัน ประสาน

เชื่อมโยง สร้างความสัมพันธ์ ถักทอ สร้างสรรค์กิจกรรมบนพื้นฐาน ของความเอื้ออาทร เกิดพลังในการทำงานให้

บรรลุเป้าหมายทุกองค์กร และชุมชนเข้มแข็ง

สาธารณูปโภค ระบบโครงการพื้นฐาน (Infrastructure)

ด้านกายภาพ (ถนน ทางเท้า ทางระบายน้ำ ระบบน้ำดื่ม น้ำใช้ อาคารส่วนกลาง พลังงาน ฯลฯ)

ด้านเศรษฐกิจ (การรวมกลุ่มอาชีพ การผลิต การแปรรูป การบริการ เครื่องมืออุปกรณ์ที่เป็น

ของส่วนกลางมีที่เก็บเป็นส่วนกลาง ฯลฯ)

ด้านสังคม (สวัสดิการ สุขภาพอนามัย วัฒนธรรม การจัดกลุ่ม เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ฯลฯ)

ที่จะอำนวยให้ครัวเรือนสมาชิกมีสภาพการอยู่อาศัยในชุมชนที่ดีขึ้นกว่าเดิม มีอาชีพรายได้พอเลี้ยงตัวได้มีระบบ

กลุ่มทางสังคมที่ดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน นอกจากเกณฑ์เพดานต่อครัวเรือนแล้วยังกำหนดเพดานการใช้

งบประมาณแต่ละด้านไว้ด้วยแล้ว

 

กลไกการบริหารจัดการโครงการ

สถาบันฯ ได้มีการพัฒนาระบบกลไกการพิจารณาสนับสนุนงบประมาณโดยเริ่มจากการปฏิบัติการ

ระดับเมืองมีสำรวจข้อมูลผู้เดือดร้อนที่มีปัญหาด้านที่ดิน เน้นการมีส่วนร่วมของคนในเมือง มีการรับรองสิทธิ์

ผู้เดือดร้อนในระดับพื้นที่เมือง/ตำบล จัดทำแผนการแก้ไขปัญหาด้านที่อยู่อาศัย เสนอโครงการผ่านกลไกต่างๆ

ได้แก่ คณะกรรมการพัฒนาระดับเมือง/ตำบล คณะทำงานบ้านมั่นคงและการจัดการที่ดินภาค คณะทำงานพัฒนา

โครงการบ้านมั่นคง และคณะอนุกรรมการบ้านมั่นคงและการจัดการที่ดิน พิจารณาเห็นชอบอย่างสอดคล้องกับ

สถานการณ์และบริบทของแต่ละพื้นที่ และเกิดการแก้ไขปัญหาด้านที่อยู่อาศัยทั้งเมือง/ตำบล อย่างมีประสิทธิภาพ

มากขึ้น

 

กลไกการบริหารจัดการโครงการระดับภาค

คณะทำงานกลั่นกรองโครงการบ้านมั่นคงเมืองและชนบทภาค

1. สนับสนุนให้มีกระบวนการเชื่อมโยงการทำงานในพื้นที่ปฏิบัติการระดับเมืองและชนบทในการจัดการ

ที่ดินและที่อยู่อาศัยในชุมชน

2. สนับสนุนการพัฒนาพื้นที่รูปธรรมระดับเมืองและชนบท เพื่อให้เกิดการขยายผลในการทำงาน

3. เสนอแนะแนวทางการสนับสนุนงบประมาณการพัฒนา และพิจารณาภาพรวมของกระบวนการ

ดำเนินงานในการพัฒนาตามแนวทางของโครงการบ้านมั่นคงและการจัดการที่ดินที่อยู่อาศัยชนบท

4. พิจารณากลั่นกรองโครงการและงบประมาณการพัฒนา เพื่อเสนอความเห็นชอบต่อคณะอนุกรรมการ

บ้านมั่นคงและการจัดการที่ดิน และการอนุมัติจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)

5. ติดตามประเมินผลการดำเนินงานภายใต้โครงการบ้านมั่นคงและโครงการจัดการที่ดินที่อยู่อาศัยชนบท

ให้มีประสิทธิภาพในการบริหารโครงการ

6. รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะอนุกรรมการภาค และคณะอนุกรรมการบ้านมั่นคงและการจัดการ

ที่ดิน

 

กลไกการบริหารจัดการโครงการระดับชาติ

คณะอนุกรรมการบ้านมั่นคงและการจัดการที่ดิน

1. เสนอแนะนโยบายแนวทางการดำเนินงานโครงการบ้านมั่นคง การจัดการที่ดินที่อยู่อาศัยโ ดยชุมชน

โครงการบ้านพอเพียงชนบท โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มคนไร้บ้าน และโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัย

ชั่วคราวกรณีไฟไหม้ไล่รื้อ

2. กำกับ ดูแล ติดตาม และประเมินผลการดำเนินโครงการบ้านมั่นคง การจัดการที่ดินที่อยู่อาศัยโดยชุมชนโครงการบ้านพอเพียงชนบท โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มคนไร้บ้าน และโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัย

ชั่วคราวกรณีไฟไหม้ไล่รื้อ

3. พิจารณากรอบงบประมาณการดำเนินโครงการบ้านมั่นคง การจัดการที่ดินที่อยู่อาศัย โดยชุมชน

โครงการบ้านพอเพียงชนบท โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มคนไร้บ้าน และโครงการที่อยู่อาศัย

ชั่วคราวกรณีไฟไหม้ไล่รื้อ

4. พิจารณาให้ความเห็นชอบโครงการและงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการบ้านมั่นคงและ

การจัดการที่ดินที่อยู่อาศัยโดยชุมชน กรณีที่เป็นโครงการนวัตกรรม โครงการพัฒนาที่ดินและที่อยู่อาศัย

ที่มีวงเงินเกิน 20,000,000 บาท (ยี่สิบล้านบาทถ้วน) โครงการบ้านพอเพียงชนบท โครงการพัฒนา

คุณภาพชีวิตกลุ่มคนไร้บ้าน และโครงการที่อยู่อาศัยชั่วคราวกรณีไฟไหม้ไล่รื้อ รวมถึงโครงการสนับสนุน

ขบวนองค์กรชุมชนในระดับพื้นที่และระดับนโยบาย

5. เสนอผู้อำนวยการพิจารณาแต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการ

6. รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

 

ดงขี้เหล็กคลองหินปูน ๑๘๑๐๐๖ 0021

หลักการดำเนินงาน

หลักการสำคัญในการดำเนินงาน ประกอบด้วย

  1. สร้างที่อยู่อาศัยที่มีศักดิ์ศรีให้คนทั้งประเทศ โดยการทำอย่างมียุทธศาสตร์ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงและเกิดความยั่งยืน
  2. ให้มีการสำรวจข้อมูลผู้เดือดร้อนและที่ดินครอบคลุมทั้งตำบลและจังหวัด โดยบูรณาการการทำงานร่วมกับท้องที่ ท้องถิ่น ภาคี ในการจัดทำแผนงาน ข้อมูล กลไก และงบประมาณดำเนินการ
  3. กำหนดเป้าหมายการทางานสร้างการเปลี่ยนแปลงระดับตำบล โดยจัดทำเป็นแผนงานระยะยาว 3 ปี และ 5 ปี เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาในครอบคลุมทั้งตำบล
  4. ใช้งบประมาณเป็นเครื่องมือในการประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เชื่อมโยงขบวนการอย่างกว้างขวาง
  5. กระจายการทำงานให้เต็มพื้นที่ โดยใช้โครงการเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงทุกขบวน ใช้องค์ความรู้ความสามารถจากทุกประเด็นงาน บูรณาการทางานและบริหารร่วมกัน
  6. บูรณาการแผนงานพัฒนาพื้นที่ด้านที่อยู่อาศัย ด้านคุณภาพชีวิตและด้านอื่นๆ ทุกมิติ โดยให้มีแผนบรรจุในท้องถิ่น แผนยุทธศาสตร์จังหวัด/กลุ่มจังหวัด
  7. ใช้ฐานตำบลที่เริ่มดำเนินการไปสู่การวางแผนการพัฒนาที่อยู่อาศัยระดับจังหวัด เกิดการขับเคลื่อนงานในระดับจังหวัด

คำสั่งโครงการพัฒนาบ้านมั่นคงเมืองและชนบท

แต่งตั้งคณะทำงานที่ดินและที่อยู่อาศัย

แต่งตั้งคณะทำงานบ้านมั่นคงพื้นที่เครือข่ายสลัม 4 ภาคและภาคประชาสังคม

แต่งตั้งคณะทำงานที่อยู่อาศัยและที่ดิน ภาคกลางและตะวันตก

แต่งตั้งคณะอนุกรรมการบ้านมั่นคงและการจัดการที่ดิน

แต่งตั้งคณะทำงานโครงการหนุนเสริมพัฒนาระบบสหกรณ์ภายใต้โครงการบ้านมั่นคง

แต่งตั้งคณะทำงานกลั่นกรองโครงการบ้านมั่นคง ภาคใต้

แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาที่อยู่อาศัยทีดิทำกินเมืองและชนบท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แต่งตั้งคณะทำงานโครงการสวัสดิการเพื่อความมั่นคงของชุมชนในเรื่องที่อยู่อาศัย

แต่งตั้งคณะทำงานโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนเมือง

แต่งตั้งคณะทำงานบริหารโครงการครัวชุมชน รวมคน ร่วมใจ

เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานบ้านมั่นคงพื้นที่เครือข่ายสลัม 4 ภาค และภาคประชาสังคม

ระเบียบโครงการพัฒนาบ้านมั่นคงเมืองและชนบท