“ท่าดี” เป็นตำบลเล็ก ๆ มีอายุมากว่า 300 ปี ตั้งอยู่บริเวณที่ราบเชิงเขาในอำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช มี “คลองท่าดี” เป็นเส้นทางคมนาคมสายหลักระหว่างชุมชนในละแวกนั้น นอกจากนี้ยังมี “คลองปริก” ที่ชาวบ้านใช้เป็นแหล่งน้ำสำคัญในการผลิตและบริโภค ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ดังกล่าว ผู้คนในชุมชนแห่งนี้จึงมีอาชีพทำการเกษตร โดยพืชที่ชาวบ้านนิยมปลูกได้แก่ ผลไม้ต่าง ๆ และยางพารา ปัจจุบันตำบลท่าดี ได้แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 หมู่บ้านมีประชากรประมาณ 8,028 คน 1,344 หลังคาเรือน มีวัดพัทธเสมา และวัดวัดดินดอน ตั้งอยู่ใน หมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 3 ตามลำดับ ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัดพัทธเสมามีพระลากศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพบูชาของชาวบ้านในตำบลแห่งนี้
การเป็นชุมชนขนาดเล็กในที่ราบเชิงเขา และมีวิถีการผลิตแบบเกษตรกรรม ทำให้ชุมชนแห่งนี้ต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนต้องพึ่งพากันเองในชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากการรวมกลุ่มของคนในชุมชนเพื่อช่วยเหลือกันในการทำสวน ยาง( สก.สกย.ยูงทอง จำกัด) การรวมเป็นกลุ่มออมทรัพย์ทั้งที่อยู่ในรูปของการออมทรัพย์เพื่อการผลิต เช่น กลุ่มออมทรัพย์เกษตรกรมะม่วงทอง กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ม.5 และกลุ่มออมทรัพย์ทั่วไปเช่น ธนาคารหมู่บ้านบ้านดินดอน กองทุนสวัสดิการชุมขน ต.ท่าดี กลุ่มกองทุนสวัสดิการชุมชนมะม่วงทอง กองทุนหมู่บ้านบ้านไสขิง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการรวงมกลุ่มเพื่อประกอบอาชีพเสริมในรูปของกลุ่มปลูกมันเทศ กลุ่มเลี้ยงผึ้ง กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้า ไปจนถึงการรวมกลุ่มทำปุ๋ยชีวภาพ เป็นต้น ซึ่งมีการบูรณาการการทำงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคส่วนต่างๆ
ได้ทำการจัดตั้งชมรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านท่าดี ตำบลท่าดี อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช ขึ้น ด้วยความมุ่งมั่นอยากจะเห็นชุมชนเข้มแข็งและยั่งยืน ประกอบกับมีความตระหนักถึงความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนจนเสีย ความสมดุลต่อระบบนิเวศ ชาวบ้านในชุมชนจึงรวมตัวกันในการดูแลปกปักรักษาฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมเพื่อให้คงไว้ซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติอย่างยั่งยืน ตลอดจนเป็นกลุ่มที่จะสื่อสารแทนธรรมชาติในมิติการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ปัจจุบัน ชุมชนท่าดีได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก สกว.ท้องถิ่น จัดทำโครงการวิจัยเรื่อง “รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการฟื้นฟูป่าต้นน้ำคลองปริกชุมชนท่าดี ต.ท่าดี อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช ระยะที่ 1-2 “ เพื่อศึกษาสภาพและสถานการณ์ของป่าต้นน้ำคลองปริกจากอดีตถึงปัจจุบัน รวมทั้งค้นหาสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับชุมชน และหาแนวทางในการบริหารจัดการป่าต้นน้ำคลองปริกโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
ด้วยฐานการรวมกลุ่มของคนในชุมชนดังกล่าว ประกอบกับการมีชาวบ้านที่เป็นครูภูมิปัญญาท้องถิ่นมากมาย และมีแกนนำชาวบ้านที่เข้มแข็ง ทำให้ตำบลท่าดีมีการพัฒนาโดยชุมชนเป็นแกนหลักมาอย่างต่อเนื่อง
ทุนเดิมด้านการรวมกลุ่ม และการประสานความร่วมมือกันของแกนนำในชุมชนดังกล่าว ทำให้การคิดเรื่องการจดแจ้งจัดตั้ง “สภาองค์กรชุมชนตำบล” ในชุมชนแห่งนี้ เกิดจากการร่วมกันคิดและร่วมกันทำของคนในชุมชนมาตั้งแต่เริ่มต้น กล่าวคือ มีกระบวนการในการปรึกษาหารือร่วมกันกับกำนันและผู้ใหญ่บ้านในการจดแจ้งจัด ตั้งเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2551 โดยระบุถึงวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์กร กิจกรรม และชุมชนไว้ขึ้นอย่างชัดเจนดังนี้
- พัฒนาองค์กรชุมชนทั้งที่เป็นสมาชิกและประชาชนของตำบลท่าดีให้มีความเข้มแข็ง อย่างยั่งยืนและมีความเท่าเทียมกันภายใต้กระบวนการชุมชน
- พัฒนาให้สภาองค์กรชุมชนตำบลท่าดีเป็นศูนย์กลางประสานงานกับองค์กรชุมชนและภาคีทุกภาคส่วน
- พัฒนาปรับปรุงฐานข้อมูลตำบลท่าดีให้เป็นปัจจุบันและพรอมใช้เพื่อเป็นเครื่องมือกำหนดแผนพัฒนา
- ประสานงานเชิงสัมพันธ์กับองค์การบริหารส่วนตำบลท่าดี ส่วนราชการ ตลอดถึงภาคพันธมิตร
- ส่งเสริมและสร้างกระบวนการให้ชุมชนเกิดการตระหนักรู้ เพื่อฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
- ส่งเสริมให้เกิดการฟื้นฟูจารีตประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น
สมาชิกในสภาองค์กรชุมชนต่างกำหนดเป้าหมายและยุทธศาสตร์ของ องค์กร และเชื่อมโยงแผนพัฒนา อปท. ไว้อย่างน่าสนใจดังนี้ 1.ไม้ผลท่าดี (ทั้งด้านการผลิต การจำหน่าย และช่องทางการตลาด) ทั้งนี้เพราะประชาชนส่วนส่วนใหญ่ในตำบลท่าดีมีอาชีพทำสวนผลไม้ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเกษตรกรประสบปัญหาราคาผลไม้ตกต่ำ ซึ่งถือเป็นประเด็นปัญหาหลักของชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง สภาองค์กรชุมชน จึงหยิบยกประเด็นดังกล่าวมาดำเนินการ โดยกำหนดตัวชี้วัดการดำเนินงานในช่วง 1 ปี ดังนี้ (1) เกิดกลุ่มชาวบ้านที่ขับเคลื่อนงานที่มีศักยภาพในการวิเคราะห์และสามารถแก้ไขปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ (2) กลุ่มมีระบบการบริหารจัดการที่ดี (3) เกษตรกรสามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ (4) สามารถขายผลไม้ได้ตามเป้า ทั้งในเชิงปริมาณและราคาสินค้า (5) มีระบบฐานข้อมูลเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานในเรื่องนี้อย่างชัดเจน
สิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรน้ำ ทั้งนี้เพราะประชาชนในตำบลท่าดีส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่ต้องพึ่งพา ทรัพยากรน้ำจากคลองท่าดี แต่ปัจจุบันชุมชนมีแนวโน้มที่จะประสบปัญหาอันเนื่องมาจากการใช้น้ำของเทศบาล นครศรีธรรมราช ที่มาดึงน้ำจากคลองท่าดีไปใช้ในเขตเทศบาล โดยในเบื้องต้นสภาองค์กรชุมชนได้ประสานงานกับเทศบาลนครนครศรีธรรมราชเพื่อหา ข้อตกลงร่วมกันในเรื่องการจัดการน้ำแล้ว แต่ยังไม่สามารถมีข้อสรุปที่ชัดเจน ในการณ์นี้สภาองค์กรชุมชนจึงเห็นควรให้มีการหยิบยกประเด็นเรื่องการจัดการ ทรัพยากรน้ำขึ้นมาเป็นยุทธศาสตร์หลักของสภาเพื่อเสริมให้เกิดการจัดการและ ฟื้นฟูทรัพยาน้ำอย่างเป็นระบบ โดยในเบื้องต้นได้กำหนดตัวชี้วัดการทำงานในช่วง 1 ปี ดังนี้
- เกิดข้อตกลงกับเทศบาลนครนครศรีธรรมราชในเรื่องการจัดสรรงบประมาณสนับ สนุนตำบลท่าดีเพื่อชดเชยค่าเสียโอกาสและการบำรุงรักษา-ฟื้นฟูทรัพยากรน้ำโดย ชุมชนที่ชัดเจน
- เกิดระบบฐานข้อมูลการใช้น้ำที่เป็นปัจจุบัน และสามารถนำไปใช้เพื่อการวางแผนการใช้และฟื้นฟูทรัพยากรน้ำได้อย่างเป็นจริง
- เกิดระบบการบริหารจัดการน้ำในตำบลท่าดีที่ชัดเจน
การประสานแผนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้เพราะการทำงานของสภาองค์กรชุมชนตลอดระยะเวลากว่า 1 ปีที่ผ่านมา มีการประสานงานกับองค์กรปกครองท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง ในการณ์นี้ องค์การบริหารส่วนตำบลจึงต้องการให้สภาองค์กรชุมชนมีการทำงานที่เป็นระบบ เพื่อให้การประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยมีการกำหนดตัวชี้วัดการทำงาน 1 ปี ดังนี้ 1.เกิดเวทีในการวิเคราะห์แผนร่วมกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสภาองค์กรชุมชน 2.เกิดการบูรณาการแผนร่วมกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสภาองค์กรชุมชน
ผู้ประสาน นายสมบรูณ์ มาศจร
โทร.084-0597102